theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่

วิธีแก้เด็กขาโก่ง คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวล ลูกโตไปจะขาโก่งหรือไม่ รักษาขาโก่งได้อย่างไร เราไปดูกันเลยค่ะ ว่า วิธีแก้เด็กขาโก่งสามารถทำได้อย่างไร

 

ขาโก่ง

เป็นอาการที่ช่วงเข่าทั้ง 2 ข้างโค้ง แยกออกจากกันในขณะที่ยืนเท้าชิดติดกัน ซึ่งเป็นอาการที่มักพบได้ทั่วไปในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 18 เดือน โดยอาการจะดีขึ้นและหายไปเมื่อเด็กเริ่มยืดขาได้และหัดเดิน และไม่จำเป็นต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งอาการขาโก่งก็อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้ และหากมีอาการขาโก่งในระยะยาวแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็อาจนำไปสู่ภาวะข้ออักเสบบริเวณหัวเข่าและสะโพกได้เช่นกัน

 

วิธีแก้เด็กขาโก่ง ทำอย่างไรได้บ้าง

วิธีแก้เด็กขาโก่ง

วิธีแก้เด็กขาโก่ง

  • ป้องกันไม่ให้เด็กทารกมีภาวะขาดวิตามินดี

ซึ่งจะนำไปสู่การป่วยโรคกระดูกอ่อนและเสี่ยงเกิดอาการขาโก่งได้ ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารที่มีโภชนาการ มีวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสม หรือให้เด็กสัมผัสกับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีสามารถเกิดขึ้นได้จากการรับแสงแดด

 

  • พาลูกไปตรวจสุขภาพ

หลังเด็กเกิด พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์ผู้ดูแลเป็นระยะอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพ ความแข็งแรง และความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กหลังคลอด

 

  • หากสังเกตเห็นความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

หากสังเกตพบความผิดปกติที่เกิดขึ้น หรือสงสัยว่ามีอาการขาโก่ง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา โดยเฉพาะในเด็กที่อายุเกินกว่า 2 ปีแล้วอาการขาโก่งยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการขาโก่งที่รุนแรงขึ้น เพราะการตรวจวินิจฉัยอาการแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันการณ์ และมีประสิทธิผลทางการรักษาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

 

  • ขาโก่งรักษาได้หรือไม่ 

เด็กทารกจนถึงวัยหัดเดินที่อายุต่ำกว่า 18 เดือน อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายไป โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ส่วนอาการขาโก่งที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของพัฒนาการกระดูกตามวัย โดยทั่วไป แพทย์จะทำการรักษาต่อ เมื่ออาการขาโก่งมีความรุนแรง หรือรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีสาเหตุมาจาก โรคหรือการเจ็บป่วยต่าง ๆ ดังนั้น ขาโก่งสามารถรักษาได้

 

การรักษาแบบไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

  • โรคเบล้าท์

ให้ผู้ป่วยสวมใส่อุปกรณ์ช่วยดามบริเวณที่ขาโก่ง แต่อาจไม่เกิดประสิทธิผลทางการรักษาในผู้ป่วยที่โตเป็นวัยรุ่นแล้ว

 

  • โรคกระดูกอ่อน

แพทย์อาจแนะนำให้รักษากับผู้เชี่ยวชาญทางโรคพันธุกรรมเมตาบอลิคโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยาเพื่อรักษาอาการด้วย และอาจแนะนำให้เด็กรับวิตามินดีและแคลเซียมที่เพียงพอด้วยวิธีการต่าง ๆ ต่อไป

 

การรักษาแบบต้องเข้ารับการผ่าตัด

ในบางกรณีที่พบได้ไม่มากนัก หากอาการขาโก่งมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยรักษาด้วยการเข้ารับการผ่าตัด

  • โรคเบล้าท์

หากอาการขาโก่งในเด็กไม่ดีขึ้นแม้จะใช้อุปกรณ์ช่วยดามแล้ว แพทย์อาจทำการผ่าตัดกระดูกบริเวณดังกล่าวเพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้ขาโก่งรุนแรงขึ้นอีกในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป

 

  • โรคกระดูกอ่อน

หากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ผู้ป่วยโรคกระดูกอ่อนที่มีอาการขาโก่งก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขกระดูกเช่นกัน

 

วิธีการหลัก ๆ ในการผ่าตัดรักษาขาโก่ง มี 2 แบบ ได้แก่

  • การผ่าตัดชักนำการเจริญเติบโตของกระดูก

จะเป็นการผ่าตัดหยุดการเจริญเติบโตของกระดูกในด้านที่เจริญเติบโตปกติ เพื่อให้กระดูกด้านที่ผิดปกติได้มีโอกาสเจริญเติบโตและได้ยืดกระดูกขาออกไป เพื่อรักษาและลดปัญหาอาการขาโก่งในที่สุด

 

  • การผ่าตัดดัดกระดูกเข่า

แพทย์จะตัดกระดูกหน้าแข้งบริเวณใต้เข่าแล้วปรับแต่งให้ได้รูป จากนั้น กระดูกจะค่อย ๆ สมานตัวอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หลังการผ่าตัด แพทย์จะใส่เฝือกไว้ในระหว่างที่กระดูกกำลังฟื้นฟู ผู้ป่วยอาจต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ในระหว่างที่พักฟื้น แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายไปด้วย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกขาโก่ง คืออะไร 

วิธีแก้เด็กขาโก่ง

วิธีแก้เด็กขาโก่ง

  • ขาโก่งตามธรรมชาติ

สำหรับเด็กทารกแรกเกิด จะพบอาการขาโก่งได้ในช่วงอายุต่ำกว่า 18 เดือน เนื่องจากเด็กต้องนอนอยู่ในท่าขดตัวในครรภ์มารดาเป็นเวลานานก่อนคลอด แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเมื่อเด็กเริ่มมีพัฒนาการไปตามวัย

 

ทั้งนี้ พ่อแม่มีวิธีการสังเกตพัฒนาการของลูกที่เป็นไปตามวัย ดังนี้

  • ช่วง 6-10 เดือน
    • เด็กส่วนใหญ่จะพยายามดันตัวลุกขึ้นยืน

 

  • ช่วง 7-13 เดือน
    • เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มหัดเดินโดยเกาะไปตามวัตถุหรือเฟอร์นิเจอร์รอบข้าง ซึ่งในช่วงนี้ พ่อแม่ควรช่วยเหลือประคองให้เด็กหัดเดิน และไม่ฝืนบังคับให้เด็กเดินให้ได้ด้วยตนเอง

 

  • ช่วง 11-14 เดือน
    • โดยทั่วไป เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มเดินได้เอง

 

เด็กส่วนใหญ่จะเกิดมาพร้อมกับอาการขาโก่ง และขาจะยืดเหยียดตรงขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเด็กยังคงขาโก่งอย่างต่อเนื่องจนอายุถึง 2-3 ปี อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยภาวะอื่น ๆ พ่อแม่ควรพาเด็กไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์ต่อไป

 

ขาโก่งจากการเจ็บป่วย

โรคและภาวะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการขาโก่ง ได้แก่

 

  • กระดูกพัฒนาผิดรูป

 

  • กระดูกแตกหรือหัก แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

  • โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease)

ที่ผู้ป่วยจะมีกระดูกหน้าแข้งโก่งออก พบได้มากในเด็กที่มีภาวะอ้วน และเชื้อชาติชาวแอฟริกัน-อเมริกัน โดยเด็กที่เริ่มหัดเดินเร็วเกินไป อาจมีความเสี่ยงสูงเผชิญอาการขาโก่งมากขึ้น ทั้งนี้ พ่อแม่ควรให้เด็กหัดเดินในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ช่วงอายุประมาณ 11-14 เดือน เพื่อช่วยลดความเสี่ยง

 

  • โรคกระดูกอ่อน (Rickets)

ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะขาดวิตามินดี ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เปราะ และแตกหักได้ง่าย จนทำให้ขาโก่งได้

 

  • โรคพาเจท (Paget’s Disease)

ที่เกิดความผิดปกติในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก เป็นผลให้กระดูกที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ไม่แข็งแรง ทำให้อาจเกิดอาการขาโก่งและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามข้อต่อกระดูกได้ ซึ่งโรคนี้เป็นความผิดปกติ ของกระบวนการเจริญเติบโตของกระดูก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระหรือแคระแกร็น และอาจมีอาการขาโก่งเกิดขึ้นร่วมด้วยเมื่อโตขึ้น

 

ความเชื่อโบราณ เป็นจริงตามความเชื่อหรือไม่  

  • ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป การอุ้มลูกเข้าเอว จะทำให้ขาโก่ง

ความจริง : ขาโก่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใส่ผ้าอ้อม หรืออุ้มเข้าเอว แต่เกี่ยวกับพันธุกรรมและความผิดปกติทางร่างกาย โดยสรีระกระดูกขาของทารกจะมีลักษณะโค้งงอเล็กน้อย และจะค่อยๆ ยืดตรงขึ้นเรื่อยๆ เกณฑ์ที่จะตัดสินขาโก่งได้นั้นต้องดูหลังอายุหลัง 2 ปีขึ้นไป

 

  • ดัดขาลูกเวลาอาบน้ำจะช่วยป้องกันขาโก่ง

ความจริง : การใช้มือดัดขาเป็นครั้งๆ ไม่สามารถสร้างแรงกดกับกระดูกขาได้ อาจเป็นแค่การช่วยยืดเส้นยืดสายให้เด็ก และช่วยทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย คล้ายการนวด ไม่ได้ช่วยป้องกันขาโก่ง

 

ขาโก่ง จนทำให้ลูกมีขาที่ไม่เท่ากัน 

วิธีแก้เด็กขาโก่ง

วิธีแก้เด็กขาโก่ง

ขายาวไม่เท่ากัน ก็เป็นอีกปัญหาที่เจอกันอยู่บ่อยๆ โดยที่ขาอาจจะมีความยาวต่างกัน 2 เซ็นติเมตรหรือมากกว่า และจะเป็นอย่างนั้นไปจนโต แต่ก็มีโอกาสที่กลับมาเท่ากันในระยะหลังได้ เช่น เกิดเหตุการณ์กระดูกหักแล้วต้องเข้ารับการรักษา

 

เพราะจะทำให้กระดูกเกยกันและมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงเยอะขึ้นกว่าเดิม ขาก็จะสามารถยาวขึ้นมาจนเท่ากันได้ ซึ่งก่อนการรักษาจำเป็นต้องรู้สาเหตุก่อน เช่น เกิดจากการติดเชื้อในศูนย์การเจริญเติบโตที่ผิดไป หรือมีเนื้องอกที่ทำให้ศูนย์การเจริญเติบโตเปลี่ยนไป หรือเกิดจากความพิการแต่กำเนิด ซึ่งเมื่อหาสาเหตุได้แล้ว ถึงจะทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี

 

วิธีทำให้ลูกขาเท่ากัน โดยการยืดกระดูก

  • ใช้วิธีการยืดกระดูกโดยการผ่าตัด

เมื่อผ่าตัดแล้วจึงยึด ตรึงกระดูกด้วยโลหะซึ่งมีหลายชนิด แล้วจะตัดกระดูกให้ขาดจากกัน จากนั้นก็จะทำการยืดวันละมิลลิเมตร กระดูกก็จะงอกขึ้นมาเรื่อย ๆ ทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อนั้น ยืดตามจนได้ในระดับที่ต้องการ และการรักษาอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยม ก็คือ การตัดกระดูกให้สั้นเท่ากัน แต่จะไม่ทำให้สั้นลงมาก ถ้าเป็นเด็กก็จะมีการคำนวณเวลาให้เหมาะสม และเชื่อมไม่ให้กระดูกโต เพราะว่าเด็กยังมีศูนย์การเจริญเติบโต ซึ่งอาจจะทำให้ ขาโตได้ จึงจะใช้วิธีการเข้าไปทำลายกระดูกในขาข้างที่ยาวออกไป ส่วนขาอีกข้างที่สั้นกว่า ก็จะโตขึ้นไปเรื่อยๆ ในที่สุด ขาก็จะมีความยาวเท่ากัน แต่ทั้งนี้ ในการรักษาจะต้องมีการคำนวณที่ดี และรอบคอบเป็นอย่างมาก

 

ที่มา : (1),(2),(3)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

ลูกขาโก่ง ทำอย่างไร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 63

วิธีสังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ ? แบบไหนผิดปกติ ?

แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิธีแก้เด็กขาโก่ง ลูกขาโก่งต้องทำอย่างไร เด็กขาโก่งรักษาได้หรือไม่
แชร์ :
•••
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
มีบัตรเครดิต หรือไม่ *
  • แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

    แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

  • วิธีสังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ ? แบบไหนผิดปกติ ?

    วิธีสังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ ? แบบไหนผิดปกติ ?

  • ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

    ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

app info
get app banner
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
มีบัตรเครดิต หรือไม่ *
  • แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

    แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

  • วิธีสังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ ? แบบไหนผิดปกติ ?

    วิธีสังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ ? แบบไหนผิดปกติ ?

  • ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

    ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป