X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การกวาดปากมดลูก อีกหนึ่งวิธีเร่งคลอดที่ปลอดภัยและได้ผลดี

บทความ 5 นาที
การกวาดปากมดลูก อีกหนึ่งวิธีเร่งคลอดที่ปลอดภัยและได้ผลดี

การกวาดปากมดลูกคืออะไร? แล้วทำไมคุณหมอถึงต้องเร่งคลอด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เจ็บท้องกันนะ!

เมื่อใดก็ตามที่อายุครรภ์ของคุณแม่ครบ 40 สัปดาห์แล้วยังไม่รู้สึกเจ็บท้องแต่อย่างใด คุณหมอจะทำการพิจารณาและปรึกษากับคุณแม่ถึงวิธีการเร่งคลอด ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการคำนึงถึงสุขภาพของทารกเป็นหลัก เพราะถ้าขืนปล่อยเอาไว้นานกว่านี้ ทารกในครรภ์ก็อาจที่จะเสียชีวิตได้

 

การกวาดปากมดลูก วิธีเร่งคลอด ตรวจภายในก่อนคลอด

การเร่งคลอด คืออะไร ทำไมต้องทำ ตรวจภายในก่อนคลอดยังไง

 

การเร่งคลอดคืออะไร?

การเร่งคลอด การชักนำการคลอด หรือ การกระตุ้นคลอด คือ การทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดโดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ในขณะที่คุณแม่ยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วจะทำไปโดยที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งการคลอดหรือการยุติการตั้งครรภ์นั้นจะส่งผลดีมากกว่าให้ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไป เพราะในบางกรณีอาจมีเหตุผลที่ไม่สามารถรอธรรมชาติเป็นตัวกำหนดให้เจ็บครรภ์คลอดได้ แพทย์จึงจำเป็นต้องให้มีการเร่งคลอดเกิดขึ้นเพื่อช่วยชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์เอาไว้

Advertisement

กรณีใดที่ควรเร่งคลอด

  • คุณแม่ที่มีอายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ จัดได้ว่าเป็นกรณีที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้รกจะเสื่อมจนไม่สามารถนำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารกในครรภ์ได้อีกต่อไป จึงอาจทำให้ขาดออกซิเจนและอาหารได้
  • คุณแม่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก เพราะถ้ารอให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนแล้วค่อยเดินทางมาโรงพยาบาลเกรงว่าอาจจะไม่ทันกาล ซึ่งอาจทำให้มีการคลอดระหว่างทางได้
  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ เพราะถ้าปล่อยให้ตั้งท้องไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเด็กมีความพิการแต่กำเนิดได้
  • ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเลือด โรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์ คุณแม่ที่สูบบุหรี่จัด และคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ ในกรณีเหล่านี้คุณหมออาจตัดสินใจเร่งคลอดเพื่อนำเด็กออกมาเลี้ยงข้างนอกจะปลอดภัยกว่า
  • ความดันโลหิตสูง หรือ ครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายหดรัดตัว ทำให้ปริมาณของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงจึงลดน้อยลง ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ เพราะเนื้อเยื่อรกบางส่วนขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
  • คุณแม่เกิดการอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย
  • การตั้งครรภ์แฝดที่มีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง หรือเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่และทารก
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หากปล่อยให้ทารกที่เสียชีวิตแล้วยังอยู่ในครรภ์และยังไม่หลุดออกมาเองนานเกินไป จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะลิ่มเลือดไม่แข็งตัวได้ เพราะอาจมีส่วนเสื่อมสลายของลูกหลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้

วิธีการเร่งคลอดมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

วิธีการเร่งคลอดนั้นก็มีหลายวิธีค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

1. การกวาดปากมดลูก วิธีการนี้จะคล้าย ๆ กับการตรวจภายใน  เพราะคุณหมอจะใช้นิ้วกวาดบริเวณปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้มีเจ็บท้องคลอด

2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ วิธีการนี้คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีหน้าตาคล้ายกับเข็มถักโครเช  เพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกเป็นการกระตุ้นคลอดทำให้มดลูกหดรัดตัว  แต่วิธีนี้ก็ไม่ยืนยันว่าจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์

3. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน วิธีการนี้คุณหมอจะใช้ฮอร์โมนในรูปของเจลหรือยา เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์โดยเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูกเพื่อกระตุ้นการเจ็บครรภ์

4. ยาเร่งคลอด วิธีการใช้ยาเร่งคลอดจะให้ผ่านสายน้ำเกลือ อาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง ดังนั้น คุณแม่จึงอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเพื่อระงับความเจ็บปวดด้วย วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ

ซึ่งวิธีเร่งคลอดที่จัดได้ว่าเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยและได้ผลดีก็คือ การกวาดปากมดลูก นั่นเอง ดังที่กล่าวไปแล้วว่า วิธีการนี้ คุณหมอจะทำโดยใช้นิ้วกวาดปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด การใช้วิธีนี้สามารถช่วยลดการตั้งครรภ์เกินกำหนด ลดการใช้ยาเร่งคลอด โดยไม่เพิ่มการติดเชื้อทั้งในคุณแม่และทารก และไม่เพิ่มโอกาสการผ่าคลอดแต่อย่างใด จากการศึกษาในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 40 สัปดาห์ พบว่าหลังการใช้วิธีนี้คุณแม่จำนวน 2 ใน 3 เกิดการเจ็บครรภ์คลอดตามมาภายใน 72 ชั่วโมง (ถ้าทำสำเร็จคุณแม่มักจะมีการเจ็บครรภ์คลอดภายใน 24-48 ชั่วโมง)

กรณีใดบ้างที่ไม่ควรเร่งคลอด อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนจะทำการเร่งคลอดได้นะคะ เพราะเมื่อถึงเวลา คุณหมอต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับทารกในครรภ์ และนี่คือข้อยกเว้นที่เรานำมาฝากกันค่ะ

กรณีใดบ้างที่ห้ามเร่งคลอด

  • ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรงหรืออาจอยู่ในท่าที่ไม่สามารถเร่งคลอดได้ เช่น ทารกท่าก้น หรือท่าขวาง
  • มีรกเกาะต่ำ เพราะรกจะไปกีดขวางการคลอดได้
  • มีภาวะสายสะดือพาดผ่านปากมดลูกและติดกับถุงน้ำคร่ำ
  • มีภาวะสายสะดือย้อย
  • คุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ตัวโตเกินไป ในกรณีนี้คุณหมอจะไม่เร่งคลอดให้ เนื่องจากจะคลอดได้ยากและอาจทำให้ทารกบอบช้ำจากการเร่งคลอดได้
  • คุณแม่ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะการเร่งคลอดจะทำให้มดลูกบีบตัวแรง ปากมดลูกขยายตัว และอาจทำให้มะเร็งแพร่กระจายได้
  • คุณแม่เคยผ่าตัดคลอดในท้องแรกมาก่อน เพราะการเร่งคลอดจะทำให้มดลูกบีบตัวแรงและกล้ามเนื้อบริเวณแผลเป็นไม่แข็งแรงมากพอ ซึ่งอาจจะทำให้แผลปริหรือแตกได้
  • คุณแม่ที่เคยผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก เพราะการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกจะทำให้มดลูกบาง ถ้าเร่งคลอดก็อาจทำให้แผลฉีกขาดได้

มาถึงตอนนี้คุณแม่อาจจะส่งสัยว่า แล้วหากได้รับการเร่งคลอดแล้ว จะมีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างไร วันนี้เราได้เตรียมคำแนะนำมาฝากกันด้วยนะคะ ซึ่งคุณแม่สามารถหาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปเลยค่ะ

การปฏิบัติตัวของคุณแม่เมื่อได้รับการเร่งคลอด

  • เมื่อเข้านอนในโรงพยาบาลคุณแม่ควรที่จะพักผ่อนให้มาก เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะรับการเร่งคลอด
  • ให้คุณแม่สังเกตการดิ้นของทารกให้ดีทั้งก่อนและหลังการเหน็บยาเร่งคลอด หากรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นให้รีบแจ้งพยาบาลทันที
  • ให้คุณแม่สังเกตอาการน้ำเดิน ซึ่งน้ำเดินจะมีลักษณะคล้ายปัสสาวะที่จะไหลออกมาโดยไม่รู้สึกปวดปัสสาวะ มีกลิ่นไม่ฉุน กลั้นไม่ได้ และจะไหลออกมามากขึ้นเมื่อลุกนั่ง ยืน เดิน หรือเมื่อไอและจาม ถ้ามีอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งพยาบาลทันทีอย่ารอช้า
  • สังเกตมูกเลือดทางช่องคลอด ตามปกติแล้วภายหลังการตรวจภายในมักจะมีมูกเลือดออกมาบ้างแต่ไม่มากนัก โดยมักจะออกปนมากับตกขาว แต่หากออกมาเปื้อนกางเกงชั้นในเหมือนในวันที่มีประจำเดือนมาวันแรก ให้รีบแจ้งพยาบาลทันที
  • สังเกตอาการเจ็บครรภ์ทั้งก่อนและหลังการเหน็บยาช่องคลอด ถ้าคุณแม่รู้สึกมีอาการเจ็บครรภ์ทุก ๆ 5 นาทีหรือน้อยกว่า ให้รีบแจ้งพยาบาลทันที (ในช่วงที่มีอาการเจ็บครรภ์ ให้คุณแม่สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ และค่อย ๆ เป่าออกมาทางปากอย่างช้า ๆ และทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนอาการเจ็บครรภ์คลายลง จากนั้นให้ถอนหายใจ 1 ครั้ง และให้เริ่มทำใหม่อีกครั้งเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์อีกครั้ง ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อมดลูกบีบตัวตอนที่คุณแม่เจ็บครรภ์ ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงทารกในครรภ์จะมีน้อยลง)

 

ความแตกต่างระหว่างการคลอดธรรมชาติและวิธีเร่งคลอด

จริง ๆ แล้วความรู้สึกเจ็บครรภ์คลอดจากการเร่งคลอดไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากการคลอดเองตามธรรมชาติมากนัก เนื่องจาก

1. คุณแม่ยังสามารถควบคุมและกำหนดลมหายใจตามจังหวะการเบ่งคลอดได้ ทั้งยังเบ่งคลอดได้เต็มที่ แต่ถ้าคุณแม่เจ็บปวดมาก คุณหมออาจให้ฉีดยาชาที่ไขสันหลังหรือให้ยาแก้ปวดอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด

2. สำหรับการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่คุณแม่จะสามารถคลอดได้เอง เนื่องจากปากมดลูกมีความพร้อมอย่างเต็มที่ โดยจะมีลักษณะนุ่มมาก เมื่อมดลูกบีบรัดตัว ปากมดลูกก็จะเปิดขยายออกอย่างรวดเร็ว

3. ในขณะที่การเร่งคลอดถึงแม้จะกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบตัวได้สม่ำเสมอก็จริง แต่บางครั้งปากมดลูกยังนุ่มไม่พอก็ไม่สามารถขยายตัวเปิดได้ตามปกติ จึงทำให้ไม่สามารถคลอดเองได้ โอกาสที่จะถูกผ่าคลอดตามมาจึงมีสูงกว่าคุณแม่ที่เจ็บครรภ์คลอดเองตามธรรมชาติ

ขอบคุณที่มา: Med Thai และ New Health Advisor

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การกวาดปากมดลูก อีกหนึ่งวิธีเร่งคลอดที่ปลอดภัยและได้ผลดี
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว