หนึ่งในปัญหาสุขภาพของลูกน้อยที่เรามักต้องเจอบ่อย ๆ คือ อาการท้องผูก อึแข็ง ถ่ายยาก อุจจาระไม่ออก ลูกถ่ายยาก ในวันนี้ theAsianparent Thailand จะมาแชร์วิธีสังเกตลูก ๆ ที่ท้องผูก ไม่ถ่ายทําไงดี พร้อมทั้งแนะนำวิธีแก้ท้องผูกให้คุณแม่ได้อ่าน สำหรับใครที่กังวลใจ ลูกอึแข็ง ทำไงก็ไม่หาย ลูกถ่ายไม่ออกทําไงดี อยากรู้ว่าลูกน้อยอุจจาระไม่ออกต้องทําไงดี ติดตามได้ที่นี่ค่ะ
ท้องผูก คือ อะไร เกิดจากอะไร
ท้องผูก ลูกถ่ายยาก เป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบลำไส้ของคนเรา คนที่ท้องผูกจะไม่ค่อยขับถ่าย ขับถ่ายได้ลำบาก หากปล่อยให้มีอาการท้องผูกเรื้อรัง อาจทำให้ลำไส้ใหญ่ขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น ลำไส้บีบตัวน้อยลง จนเกิดแผลที่ลำไส้และทำให้ขับถ่ายออกมาเป็นเลือดได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาการท้องผูกมักเกิดจากการขาดน้ำ การทานอาหารหรือยาบางชนิด พันธุกรรม หรืออาการป่วยทางร่างกายต่าง ๆ
เด็กที่ท้องผูก ลูกถ่ายยาก มักมีอาการแบบไหน
หากลูก ๆ เรายังเป็นเด็กทารก ก็อาจจะเป็นเรื่องยากสักนิด ที่จะสังเกตได้ว่าลูกท้องผูกหรือไม่ เพราะเด็กยังไม่สามารถพูดได้ แต่ว่าก็มีวิธีสังเกตเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ทำได้ หากลูก ๆ มีอาการดังต่อไปนี้ ก็แสดงว่าลูกกำลังท้องผูกอยู่ค่ะ
- ลูกร้องไห้ งอแง แสดงท่าทางอึดอัดไม่สบายตัว พยายามเบ่งอุจจาระ
- ลูกไม่ค่อยถ่าย มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ค่อยอยากกินนม
- เวลาถ่ายมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- ท้องลูกแข็งและป่อง มีลมในท้องเยอะ
- ลูกอุจจาระแห้ง แข็ง เป็นก้อนกลม หรือมีลักษณะคล้ายกระสุน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง

วิธีแก้ลูกท้องผูก มีอะไรบ้าง ปัญหาลูกอึแข็ง ทารกท้องผูก แก้ยังไง วิธีทำให้ขับถ่ายดี
วิธีแก้อาการท้องผูกนั้น มีอยู่หลาย ๆ วิธี ซึ่งคุณแม่สามารถเลือกทำทีละอย่างหรือจะทำพร้อม ๆ กันเลยก็ได้ ดังนี้
- ปรับเรื่องอาหารการกินของเด็ก หากเด็กยังอายุน้อย หรือยังกินนมแม่อยู่ ก็ควรให้เด็กกินนมแม่ต่อไป ไม่ควรให้เด็กทานอาหารเสริม เพราะโปรตีนในนมแม่ย่อยง่าย ไม่ทำให้เด็กท้องผูกง่าย แต่หากคุณแม่จำเป็นต้องผสมนมผงให้เด็กกิน ก็ควรเลือกนมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนใกล้เคียงกับนมแม่ ส่วนเด็กโตควรหันมารับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงอย่างผักหรือผลไม้ เช่น มะละกอสุก ส้ม ผักกาดขาว แครอท มะขาม ธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรให้เด็ก ๆ ดื่มนมเป็นหลัก และหากเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ก็ควรให้ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หรือจะให้ดื่มน้ำลูกพรุนหรือน้ำส้มคั้นเสริมด้วยก็ได้
- การฝึกลูกให้ขับถ่าย หากลูกโตพอที่จะเข้าห้องน้ำเองได้แล้ว ควรฝึกให้ลูกนั่งถ่ายเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- ให้ลูกออกกำลังกาย นอกจากการทานอาหารและการดื่มน้ำแล้ว การออกกำลังกาย ก็มีส่วนช่วยให้ลูกท้องผูกได้น้อยลงเช่นเดียวกัน หากเด็กยังอายุน้อย ออกกำลังกายเองไม่ได้ คุณแม่สามารถจับเท้าทั้ง 2 ข้างของลูกขึ้นมา และหมุนช้า ๆ เหมือนท่าปั่นจักรยาน ท่านี้จะช่วยให้ลำไส้ของทารกคลายตัวลงได้ค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อึลูกสีไหน ? สีของอึเด็ก บอกสุขภาพของหนู ๆ ได้ด้วยนะ

ลูกท้องผูกแบบไหน ต้องพาไปหาหมอ
หากลูก ๆ อาการยังไม่ดีขึ้น แถมยังท้องผูกยืดเยื้อและเรื้อรัง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปหาหมอเพื่อทำการซักประวัติจะดีกว่า หากปล่อยไว้นาน ลูก ๆ อาจมีอาการแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายได้ ซึ่งเมื่อเข้าพบคุณหมอ คุณหมออาจแนะนำให้เด็กใช้ยาเหน็บ หรือทานยาระบาย ควบคู่กับวิธีที่แนะนำข้างต้นค่ะ
ข้อควรระวังเมื่อลูกท้องผูก ทารกท้องผูก
รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ ไม่แนะนำให้คุณแม่ซื้อยาระบายหรือยาสวนทวารมาใช้เองเด็ดขาด และไม่ควรสวนทวารลูกด้วยตัวเอง เพราะอาจเป็นอันตรายกับเด็กได้ เนื่องจากเด็กยังมีลำไส้ที่ไม่แข็งแรงมากพอ แนะนำให้ลองทำตามวิธีที่แนะนำก่อนจะดีกว่า ถ้าลูกอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง!
9 เหตุผลที่ทำให้ทารกร้องไห้ สาเหตุที่ทำให้เบบี๋ร้องไห้ หิว ง่วง ผ้าอ้อมเปียก หรือต้องการอะไรกันแน่
ท้องเสียเป็นอาการของการตั้งครรภ์ไหม ท้องเสียตอนท้องอ่อนๆ อันตรายหรือเปล่า?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!