X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน พ่อแม่อย่ามองข้าม

บทความ 3 นาที
ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน พ่อแม่อย่ามองข้าม

ลูกอาเจียน ดูกระสับกระส่ายมาก ทุกครั้งหลังกินนม น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น อาจจะเป็น โรคกรดไหลย้อนในเด็ก โรคนี้เป็นอย่างไร แตกต่างจากการอาเจียนจากการแหวะนมธรรมดาอย่างไร มาทำความรู้จักกันเลย

ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ พ่อแม่ต้องสังเกตให้ดี เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าลูกกำลังเป็น โรคกรดไหลย้อน หรือภาวะกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นภาวะที่น้ำย่อย หรือ อาหารจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร จึงมีอาการอาเจียนหรือแหวะนมบ่อย ๆ เป็นภาวะปกติที่พบบ่อยในเด็กทารก

 

ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย ๆ อันตรายอย่างไร?

หากลูกอาเจียนบ่อย เพราะภาวะกรดไหลย้อน และไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียนเป็นเลือด กลืนลำบาก แสบร้อนยอดอก ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ปฏิเสธอาหาร และน้ำหนักไม่ขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนอกระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ หายใจเสียงดัง หอบเหนื่อย ปอดอักเสบติดเชื้อ เขียว หรือหยุดหายใจได้

 

ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม

 

ทำไมทารกถึงเป็น กรดไหลย้อน?

ทารกแรกเกิดราว 25 เปอร์เซ็นต์มีภาวะกรดไหลย้อน อาการมีตั้งแต่เล็กน้อย คือ ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย แต่ไม่มีความเจ็บปวด ไปจนถึงอาการรุนแรงคือ ปวดท้องและตื่นบ่อย และภาวะกรดไหลย้อนก็มักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเป็นโคลิก

ตามปกติแล้ว หลังจากที่อาหารเคลื่อนผ่านเข้าไปในกระเพาะกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างจะหดตัว คือจะทำหน้าที่เหมือนวาล์วทางเดียว ซึ่งจะปิดและป้องกันไม่ให้อาหารและกรดในกระเพาะถูกขย้อน หรือไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร แต่ในทารกบางคน การพัฒนากล้ามเนื้อดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ อาหาร (ที่ผ่านการย่อยเป็นบางส่วน) และกรดในกระเพาะ จึงไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารเกิดการระคายเคืองจนมีอาการแสบร้อนกลางอก

ถ้าทารกมีภาวะกรดไหลย้อนและอาการรุนแรง แพทย์ก็อาจจะสั่งยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะให้ แต่พอถึงวัย 6-9 เดือน อาการมักจะเริ่มดีขึ้นเอง เพราะเป็นวัยที่เขาอยู่ในท่าที่ลำตัวตั้งตรงมากขึ้น ซึ่งเป็นท่าที่ช่วยลดการขย้อนได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

 

ลูกอาเจียนแบบไหนอาจไม่ใช่กรดไหลย้อน?

หากลูกมีอาการอาเจียนบ่อย ๆ ร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมเพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่กรดไหลย้อน ได้แก่

  • ลูกมีอาการอาเจียนเป็นน้ำดี
  • ลูกอาเจียนพุ่งไกล
  • ลูกมีอาการท้องอืดชัดเจน
  • ลูกถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  • ศีรษะของลูกมีขนาดโตกว่าปกติ
  • ลูกมีอาการชัก
  • กระหม่อมหน้าของลูกโป่งตึง
  • ลูกมีไข้
  • ลูกตัวเขียว หรือหยุดหายใจ

วิธีดูแลรักษา เมื่อลูกเป็นกรดไหลย้อน

เมื่อคุณหมอวินิจฉัยว่าอาการของทารกเข้าได้กับภาวะกรดไหลย้อน จะมีการรักษาคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งในเด็กวัยทารก คือ ปรับการนอน และการกิน

  • สำหรับการนอนของทารก ได้แก่ การนอนคว่ำ แต่เนื่องจากการนอนคว่ำมีรายงานว่าอาจทำให้เกิดภาวะ sudden infant dead syndrome (SIDS) ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงแนะนำให้นอนตะแคงซ้ายแทน
  • สำหรับการกินของทารกควรกินนมปริมาณไม่มากต่อมื้อ แต่ให้บ่อยขึ้น หากใช้นมผสมควรใช้สูตรผสมสารเพิ่มความหนืด จับทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงหลังกินนมนาน 15-20 นาที และหลีกเลี่ยงการกดบริเวณท้อง

หลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประมาณ 2-4 สัปดาห์เด็กมักจะมีอาการดีขึ้น จนหายไปในที่สุดเมื่ออายุครบ 18 เดือนหากเป็นแค่ “ภาวะกรดไหลย้อน” ธรรมดา

แต่ถ้าลูกเป็นกรดไหลย้อนชนิดที่เป็นโรค คือมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คุณหมอจะพิจารณาให้การรักษาด้วยยากลุ่มช่วยลดกรดร่วมด้วย และถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นอีก ก็จะพิจารณาปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารในเด็กต่อไป

 

ลูกอาเจียนบ่อย

กรดไหลย้อนเกี่ยวข้องกับโรคแพ้นมวัวหรือไม่?

กรดไหลย้อนเกี่ยวข้องกับโรคแพ้นมวัวได้ เพราะเด็กทารกที่มีแพ้นมวัวอาจมาด้วยอาการอาเจียนบ่อย ๆ คล้ายกับกรดไหลย้อน ในกรณีที่มีประวัติหรืออาการเข้าได้กับโรคแพ้นมวัว ได้แก่ มีอาการภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หอบหืด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว คุณหมออาจให้การรักษาโดยให้งดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ และสังเกตอาการว่าดีขึ้นหรือไม่ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคค่ะ

 

ทำไมถึงควรให้นมที่ย่อยง่ายกับทารก?

ลูกควรจะได้กินนมแม่อย่างเดียวนานที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ เพราะถ้าเทียบกับนมผสม นมแม่ก็ดีกว่า นอกจากจะย่อยได้เร็วกว่าแล้ว นมแม่ก็ยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยด้วย และถ้ามีภาวะกรดไหลย้อน เขาอาจจะแพ้นมผสม ฉะนั้นถ้าจำเป็นต้องใช้นมผสมจริง ๆ ควรเลือกสูตรสำหรับทารกที่แพ้ง่ายตามที่แพทย์แนะนำซึ่งย่อยได้เร็วกว่า ระยะเวลาที่ค้างอยู่ในกระเพาะจึงสั้นกว่า

ลูกอาเจียนบ่อย

การจัดท่านอนให้ลูกก็สำคัญ

ถึงการนอนหงายจะเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุด แต่คงไม่สบายนักสำหรับลูกที่เป็นกรดไหลย้อน ถ้ามีภาวะกรดไหลย้อนในเด็กทารก ลูกอาจจะรู้สึกเจ็บปวดจนตื่นนอนตอนกลางดึกบ่อย ๆ เพราะการนอนราบทำให้เกิดการขย้อน ฉะนั้น ถ้าลูกน้อยมักตื่นตอนกลางดึกพร้อมกับอาการโคลิกปวดท้อง เรอนมและมีกลิ่นลมหายใจเหม็นเปรี้ยว คุณควรปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นสัก 30 องศา ซึ่งเป็นระดับความลาดเอียงที่ช่วยลดการขย้อนได้ ท่านอนที่ดีคือควรให้เขานอนตะแคงซ้าย ซึ่งจะทำให้ทางเข้ากระเพาะอยู่ในระดับที่สูงกว่าทางออก จึงช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้เช่นกัน

 

บทความที่น่าสนใจ อื่น ๆ

โรคภูมิแพ้ในแม่ท้อง เสี่ยงต่อความผิดปกติของลูกในครรภ์หรือไม่

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ

เมื่อไหร่ถึงควรพาลูกไปหาหมอ

ที่มาจาก : 1

บทความจากพันธมิตร
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกอาเจียนบ่อย แหวะนมบ่อย อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน พ่อแม่อย่ามองข้าม
แชร์ :
  • วิธีทำให้ลูกเรอ ทำไมต้องให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม ถ้าไม่เรออันตรายไหม

    วิธีทำให้ลูกเรอ ทำไมต้องให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม ถ้าไม่เรออันตรายไหม

  • ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

    ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • วิธีทำให้ลูกเรอ ทำไมต้องให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม ถ้าไม่เรออันตรายไหม

    วิธีทำให้ลูกเรอ ทำไมต้องให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม ถ้าไม่เรออันตรายไหม

  • ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

    ลูกอาเจียน บอกสัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ควรระวัง

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว