X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกซนแค่ไหน ถึงจะเรียกว่า สมาธิสั้น

ตรวจเนื้อหาจากแพทย์แล้ว
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ได้รับการรับรองและได้รับการยอมรับอนุมัติข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการตั้งครรภ์และสุขภาพของเด็กและการพัฒนาของ theAsianparent โดยทางทีมประกอบด้วยสูตินรีแพทย์/สูตินรีเวช, กุมารแพทย์, ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ, ผู้ช่วยคุณแม่, ที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร, บรรณาธิการผู้เชี่ยวชาญ และผู้ร่วมให้ข้อมูลที่มีใบอนุญาตเฉพาะทาง
เรียนรู้เพิ่มเติม
โดย
พญ.พรชนก วันทนาการ

ตรวจเนื้อหาจากแพทย์แล้ว โดย

พญ.พรชนก วันทนาการ

จบการศึกษาจาก คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นกุมารแพทย์ ผู้ให้บริการในแอป Doctor Anywhere รักษาอาการเกี่ยวกับกุมารเวช เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็ก

พบกับคณะกรรมการตรวจสอบของเรา
บทความ 3 นาที
ลูกซนแค่ไหน ถึงจะเรียกว่า สมาธิสั้น

ความซนกับเด็กนั้นเป็นของคู่กันก็จริง แต่ถ้าเด็กซนมากเกินไป ก็ต้องระวังนะครับ

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน มักจะปวดหัวกับความซนของเจ้าตัวเล็กกันแทบทุกบ้าน ความซนกับเด็กนั้นเป็นของคู่กันก็จริง แต่ถ้าเด็กซนมากเกินไป อยู่นิ่งๆไม่ได้ ไม่มีสมาธิ จนกระทบต่อพัฒนาการและความสัมพันธ์กับคนรอบตัว นั่นก็อาจเป็นสัญญาณของโรค สมาธิสั้น ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

สมาธิสั้น

โรค สมาธิสั้น เป็นอย่างไร

โรคสมาธิสั้น คือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก โดยมีอาการหลักๆคือ ควบคุมตนเองไม่ได้ คุมสมาธิไม่ได้ ซนมาก อยู่นิ่งไม่ได้และหุนหันพลันแล่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมเมื่อเด็กโตขึ้น

เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง ซึ่งมักพบในเด็กผู้ชาย ในขณะที่อาการชนิดเหม่อลอยจะพบได้มากในเด็กผู้หญิง ส่วนอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลักที่พบได้พอ ๆ กันทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

โรคสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุใด

โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยปกติโรคสมาธิสั้นจะมีองค์ประกอบด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ ซนมาก หุนหันพลันแล่น หรือ ขาดสมาธิ วอกแวกง่าย แต่ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้งสามอย่างนี้ อาจจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจมีครบทุกอย่างเลยก็ได้ โดยอาการเหล่านี้จะเกิดก่อนที่เด็กจะมีอายุ 12 ปี โดยแบ่งได้ดังนี้

  • ซนมาก – อาการแบบนี้เด็กจะวิ่งเล่นทั้งวันแบบไม่มีหยุด ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เป็นเด็กพลังเยอะ อยู่นิ่งๆนานๆไม่ได้ ต้องขยับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ตลอดเวลา ยุกยิก หรือบางทีซนจนเกิดอุบัติเหตุได้อยู่บ่อยๆ
  • หุนหันพลันแล่น  –  เด็กมักจะไม่รู้จักการรอคอย ต้องโต้ตอบแทรกขึ้นมาทันที สังเกตได้จากการที่เด็กมักจะชอบพูดแทรกขึ้นมาระหว่างบทสนทนา หรือชอบแซงคิว
  • ไม่มีสมาธิ หรือสมาธิสั้น –  อาการไม่มีสมาธิมักจะเห็นชัดในเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก เด็กจะมีอาการเหม่อ เวลามีคนเรียกชื่อแล้วไม่หัน ทำตามคำสั่งไม่ได้ ฟังคำสั่งได้ไม่ครบเนื่องจากเด็กจะฟังประโยคยาวๆได้ไม่จบ เพราะใจไม่ได้อยู่กับคนพูด จะจับใจความได้แค่ประโยคแรกๆ มักจะทำของหายบ่อย เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน หรือวอกแวกง่าย เมื่อต้องใช้สมาธิจดจ่อกับอะไรนานๆ เป็นต้น

ปกติเด็กจะมีสมาธินานเท่าไร

อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังก็คือ สมาธิของเด็กแต่ละวัยนั้นไม่เท่ากัน 

  • ในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรก จะมีสมาธิไม่เกิน 2 – 3 นาที
  • ช่วง 1 – 2 ขวบ จะมีสมาธิประมาณ 3 – 5 นาที
  • วัยอนุบาล จะมีสมาธิประมาณ 5 – 15 นาที
  • ช่วงประถมต้น จะมีสมาธิได้นานถึง 15 – 30 นาทีขึ้นไป

โรคสมาธิสั้น

 

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษา หากปล่อยไว้ก็อาจจะส่งผลเสียต่อตัวเด็กเอง รวมถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและการเข้าสังคม โดยการรักษาจะช่วยลดความรุนแรงของโรค และช่วยให้เด็กไม่รู้สึกมีปมด้อยตอนโต

นอกเหนือจากการรักษาจากแพทย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเลี้ยงดู และช่วยปรับพฤติกรรมของลูก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถติดตามอ่านวิธีรักษาโรคสมาธิสั้นได้จากบทความด้านล่างนี้ได้เลย

<< รักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุด  >>


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

พญ. สุพาพรรณวดี ฟู่เจริญ

bumrungrad.com

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก

เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นอัจฉริยะ

parenttown

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

ลูกซนแค่ไหน ถึงจะเรียกว่า สมาธิสั้น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกซนแค่ไหน ถึงจะเรียกว่า สมาธิสั้น
แชร์ :
  • สมาธิสั้นแท้ VS สมาธิสั้นเทียม ต่างกันอย่างไร

    สมาธิสั้นแท้ VS สมาธิสั้นเทียม ต่างกันอย่างไร

  • สมาธิจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของลูก

    สมาธิจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของลูก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • สมาธิสั้นแท้ VS สมาธิสั้นเทียม ต่างกันอย่างไร

    สมาธิสั้นแท้ VS สมาธิสั้นเทียม ต่างกันอย่างไร

  • สมาธิจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของลูก

    สมาธิจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของลูก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ