X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน วินาทีจรดมีดหรือเมื่อทารกออกจากท้อง

บทความ 3 นาที
ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน วินาทีจรดมีดหรือเมื่อทารกออกจากท้อง

ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน วินาทีจรดมีดหรือตอนทารกออกจากท้อง เรื่องเล่าจากในห้องคลอดจากปากหมอสูติ

ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน วินาทีจรดมีดหรือเมื่อทารกออกจากท้อง

ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน  โดยหลักโหราศาสตร์ เวลาเกิดมีความสำคัญนับตั้งแต่โบราณกาลมา ในประเทศไทยเองก็มีความรู้ ความเชื่อ แนวทางปฏิบัติกันอยู่ซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติโดยผ่านทางช่องคลอดจะไม่สามารถกำหนดเวลาเกิดที่แน่นอนได้ เนื่องจากการคลอดนั้นต้องเป็นไปตามระยะและกลไกการคลอดของทารกเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการใช้ยาช่วยเร่งคลอดได้โดยผู้ป่วยไม่ได้เจ็บครรภ์เอง จึงพอกำหนดวันที่คลอดได้คร่าว ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ให้คลอดหรือไม่ เช่น ภาวะน้ำคร่ำน้อย ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ หากมีข้อบ่งชี้ให้ผ่าตัดคลอดบุตร เช่น ทารกอยู่ผิดท่ามีก้นเป็นส่วนนำ ก็สามารถกำหนดวันผ่าตัดคลอดได้

ในต่างประเทศเองจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกได้ว่าอยากคลอดเองทางช่องคลอด หรือผ่าตัดคลอดบุตรผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งสูติแพทย์จะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีว่ามีอะไรบ้าง แล้วให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลือก ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัญหาการฟ้องร้องที่มากขึ้นนั่นเอง เวลาคลอดบุตรเองทางช่องคลอด แล้วมีภาวะแทรกซ้อนต่อทารก ผู้ป่วยมักจะตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมแพทย์จึงไม่ผ่าตัดคลอดบุตรให้นั่นเอง

ฤกษ์คลอด ควรเลือกวิธีการผ่าตัดคลอดบุตร

ในบริบทของประเทศไทยเองก็อาจจะให้ผู้ป่วยเลือกช่องทางคลอดได้ ว่าจะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหรือเบ่งคลอดเองทางช่องคลอดได้ในโรงพยาบาลเอกชนที่มีความพร้อมทั้งบุคคลากรและเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้บางแห่งอาจจะคิดค่าบริการเพิ่มเติมในกรณีที่เลือกฤกษ์ที่อยู่นอกเวลาทำการของโรงพยาบาล วันที่มักได้รับความนิยม เช่น วันพ่อ วันแม่ วันปีใหม่ วันวาเลนไทน์ เป็นต้น

การกำหนดเวลาและวันที่ผ่าตัด ควรต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่ามีความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและทารกเอง ยกตัวอย่างเช่น อยากให้ลูกคลอดก่อน วันที่ 16 พฤษภาคม เนื่องจากไม่อยากให้ลูกเรียนช้าไปอีก 1 ปี แต่ต้องคำนึงด้วยว่าครรภ์ครบกำหนดหรือไม่ ทารกมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะคลอดแล้วหรือไม่ด้วย มิเช่นนั้นหากตามใจผู้ป่วยอาจผ่าตัดได้ทารกคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนของทารกตามมาได้

ในทางปฏิบัติหากได้ฤกษ์คลอดมาควรเลือกวิธีการผ่าตัดคลอดบุตรเป็นหลัก เนื่องจากสามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนได้นั่นเอง ยกเว้นกรณีดูเพียงว่าเป็นช่วงเวลาหรือเป็นวันที่นั้น ๆ ก็สามารถใช้วิธีเร่งให้เจ็บครรภ์คลอดแทน ทั้งนี้โดยต้องคำนึ่งถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ

อ่าน ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน วินาทีจรดมีดหรือเมื่อทารกออกจากท้อง ต่อหน้าถัดไป

เวลาเกิดกำหนดกันอย่างไร

ปกติการกำหนดเวลามีการแบ่งโซนตามหลักสากล หากขณะนี้กรุงเทพฯ เป็นเวลา 8.00 น. แต่ที่เกาหลีซึ่งมีเวลาเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง จะเป็นเวลา 10.00 น. ซึ่งความเจริงเป็นเวลาเดียวกันแต่คนละโซนเวลาเท่านั้น นั่นหมายถึงโซนของเวลามีผลต่อฤกษ์เกิดด้วยนั่นเอง

เมื่อทารกคลอดผ่านผนังหน้าท้องออกมาแยกจากมารดาโดยสมบูรณ์แล้ว จึงขานเวลาเกิดเป็นระบบสากล โดยขานเวลาเป็นชั่วโมงและนาทีเท่านั้น ทั้งที่ยังไม่ได้ตัดสายสะดือ

ดังนั้นฤกษ์ดังกล่าวไม่ใช่ฤกษ์การลงมีดผ่าตัด แต่เป็นฤกษ์คลอดบุตรซึ่งสูติแพทย์ต้องใช้ความชำนาญในการกำหนดเวลาให้เหมาะสม

  • เริ่มตั้งแต่วิสัญญีแพทย์ผู้ทำการบล็อคหลัง หรือให้การดมยาสลบซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
  • และเผื่อเวลาการลงมีดผ่าตัดจนสามารถเข้าถึงโพรงมดลูกและล้วงเด็กทารกออกมาได้อีกประมาณ 5-10 นาทีแล้วแต่ความยากง่ายของการผ่าตัด เป็นต้น
  • ดังนั้นจำเป็นต้องเผื่อเวลาเข้าห้องผ่าตัดก่อนที่จะถึงฤกษ์คลอดอย่างน้อย 30-40 นาทีนั่นเอง
  • อย่างไรก็ตามเคยพบเห็นบางกรณีมีการคลาดเคลื่อนของเวลาได้ แต่จะยึดถือนาฬิกาที่แขวนอยู่ในห้องผ่าตัดนั้นเป็นหลัก

การกำหนดฤกษ์คลอดมีทั้งข้อดี คือ ได้ฤกษ์ที่ตนต้องการ มีความสะดวกในเรื่องกำหนดเวลาที่แน่นอน สามารถวางแผนการมาโรงพยาบาลได้ แต่มีข้อเสียที่สำคัญคือ ทำให้ต้องผ่าตัดคลอดบุตรซึ่งโดยรวมถือว่ามีความเสี่ยง มีภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการคลอดเองทางช่องคลอด และเป็นฤกษ์คลอดที่ถูกกำหนดขึ้นมาตามตำรา ไม่ใช่ฤกษ์คลอดที่แท้จริงตามธรรมชาตินั่นเอง

สรุป ท่านจะกำหนดฤกษ์คลอดของลูกหรือไม่ขึ้นกับดุลยพินิจของท่านเอง แต่ให้อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยเป็นสำคัญ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 ภาพเบื้องหลังการผ่าคลอดที่สวยงามมากกว่าน่ากลัว

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องไปผ่าคลอด

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ฤกษ์คลอด นับเวลาไหน วินาทีจรดมีดหรือเมื่อทารกออกจากท้อง
แชร์ :
  • ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี ฤกษ์คลอด 2563 ปีหน้าคลอดวันไหนดี (ครึ่งปีแรก)

    ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี ฤกษ์คลอด 2563 ปีหน้าคลอดวันไหนดี (ครึ่งปีแรก)

  • ฤกษ์คลอด 2564  ฤกษ์ดีผ่าคลอด ฤกษ์คลอดบุตร พร้อมคำทำนายอนาคต

    ฤกษ์คลอด 2564 ฤกษ์ดีผ่าคลอด ฤกษ์คลอดบุตร พร้อมคำทำนายอนาคต

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี ฤกษ์คลอด 2563 ปีหน้าคลอดวันไหนดี (ครึ่งปีแรก)

    ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี ฤกษ์คลอด 2563 ปีหน้าคลอดวันไหนดี (ครึ่งปีแรก)

  • ฤกษ์คลอด 2564  ฤกษ์ดีผ่าคลอด ฤกษ์คลอดบุตร พร้อมคำทำนายอนาคต

    ฤกษ์คลอด 2564 ฤกษ์ดีผ่าคลอด ฤกษ์คลอดบุตร พร้อมคำทำนายอนาคต

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ