X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้จักโรค ขนคุด ในเด็ก ขนคุดคืออะไร โรคที่พบได้ทั้งเด็กเล็กและทารก

บทความ 5 นาที
รู้จักโรค ขนคุด ในเด็ก ขนคุดคืออะไร โรคที่พบได้ทั้งเด็กเล็กและทารก

โรคขนคุด ขนคุดที่แขน ขนคุดที่ขา พบได้ทุกวัย ทั้งเด็กเล็กและทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แล้วโรคนี้อาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาแบบไหน แล้วพ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคขนคุดในเด็ก

น้องโอ (นามสมมติ) อายุ 14 ปี มาปรึกษาหมอด้วยอาการผื่นเรื้อรังลักษณะเหมือนตุ่มเล็ก ๆ ผิวสาก ผิวหนังเหมือนหนังไก่ ดูคล้ายหนังไก่ ที่ ต้นแขนด้านนอกทั้งสองข้าง เป็นๆ หายๆมาประมาณหนึ่งปี ทายาสเตียรอยด์ กับ โลชั่นลดการอักเสบ ก็ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แล้วก็เป็นอีก โดยไม่มีอาการคันหรือเจ็บ เมื่อหมอได้ซักถามประวัติเพิ่มเติม และตรวจร่างกาย ก็ได้ทราบว่าน้องโอเป็น โรค ขนคุด ในเด็ก ขนคุดที่ขา จึงได้อธิบาย และให้คำแนะนำดังนี้ค่ะ

 

ขนคุด

ขนคุดที่ขา “ขนคุด” หรือ โรคขนคุดในเด็ก เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบบ่อย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่มีอาการคันหรือเจ็บ แต่สร้างความรำคาญตา รำคาญใจให้ผู้ป่วย และผู้ปกครอง

 

โรคขนคุดในเด็กคืออะไร ผิวหนังเหมือนหนังไก่ ขนคุดที่ขา

“ขนคุด” เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบบ่อย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นลักษณะตุ่มตามรูขุมขน ไม่มีอาการคันหรือเจ็บ แต่สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วย และผู้ปกครอง โดยเด็กอาจมีขนคุดที่แขน ขนคุดที่ขา หรือตามร่างกาย โรคขนคุดพบมากทั้งในเด็กโต และวัยรุ่น แต่ก็พบในเด็กเล็ก และทารกได้บ้าง

 

ขนคุดในเด็กเกิดจากอะไร ตุ่มรูขุมขนอักเสบ ?

ขนคุดในเด็กเป็นโรคที่เกิดขึ้นเอง โดยมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เช่น หากคุณพ่อ หรือ คุณแม่ เป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นด้วย ได้มากกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ ทำให้มีการสร้างสารเคอราตินมากกว่าปกติ ทำให้รูขุมขนมีการอุดตัน มีเซลล์ที่ตายอยู่รอบรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ จึงเกิดเป็น “ขนคุด”อยู่ใต้ผิวหนังนั่นเอง

 

ขนคุด ขนคุดที่ขา

ขนคุดที่ขา ขนคุดทีแขน ขนคุดในเด็กเป็นโรคที่เกิดขึ้นเอง โดยมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

 

อาการของโรคขนคุดในเด็กเป็นอย่างไร ขนคุดที่ขา ?

ลักษณะรอยโรคของขนคุด จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่ผิวหนัง ตามรูขุมขน ผิวหนังสาก แห้ง ดูคล้ายหนังไก่ อาจมีบางบริเวณเห็นเป็นรอยแดงรอบรูขุมขน พบบ่อยที่ต้นแขนด้านนอกทั้งสองข้าง ต้นขา อาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็น และแห้ง ขนคุดในเด็กมักพบในเด็ก ๆ ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน อาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นเพียงโรคเดียว หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น ในเด็กที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น

 

ทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคขนคุด ขนคุด ที่ขา?

หากลูกมีอาการตุ่มที่ผิวหนัง ตามลักษณะที่หมอกล่าวมาข้างต้น ควรพาลูกไปพบคุณหมอนะคะ คุณหมอจะวินิจฉัยโรคขนคุด โดยการซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย พิจารณาลักษณะรอยโรค ก็สามารถวินิจฉัยได้

บทความที่น่าสนใจ : บทความ : วิธีดูแลผิวทารก ทำอย่างไรให้ลูกผิวดี สดใส ไร้ขุย

-o

ขนคุด ขนคุดที่ขา

ขนคุดที่ขา ขนคุดทีแขน ขนคุดในเด็กมักพบในเด็ก ๆ ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน อาจเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือเป็นเดี่ยว ๆ ก็ได้

 

การรักษาโรค ขนคุด ทำได้อย่างไร ?

โรคขนคุด ไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่เป็นการรักษา เพื่อบรรเทาอาการ โดยคุณหมอจะใช้ยาทา เพื่อให้สารเคอราติน ที่อุดตันรูขุมขนหลุดออก โดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-3 เดือน หลังการรักษา แต่มักจะมีอาการกลับมา เมื่อหยุดการดูแลรักษาผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปล่อยให้ผิวแห้ง ไม่รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง

หลักในการดูแลผิว คุณหมอจะแนะนำให้ใช้สบู่อ่อน สำหรับผิวแห้ง หรือผิวแพ้ง่าย เช่น สบู่เด็กอ่อน งดอาบน้ำอุ่น หรือน้ำร้อน งดการขัดผิว และหมั่นทาโลชันให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า – เย็น และทาได้บ่อยขึ้นอีกบริเวณผิวที่แห้ง ถ้ามีอาการมาก คุณหมออาจให้ใช้ยาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ ชนิดทา ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการ แดง คัน อักเสบ มาด้วย และปัจจุบันมีการใช้เลเซอร์ เป็นทางเลือกในการรักษาอีกทางหนึ่ง สำหรับเด็กโต และวัยรุ่นด้วยค่ะ

 

ขนคุด ขนคุดที่ขา

ขนคุดที่ขา ขนคุดที่แขน โรคขนคุด ไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่เป็นการรักษา เพื่อบรรเทาอาการ และต้องดูแลรักษาผิวอย่างต่อเนื่อง หากผิวขาดการดูและ หรือแห้งมาก ก็จะเป็นได้อีก

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

5 วิธีดูแลผิวทารก ให้สุขภาพดี

1. การอาบน้ำ

เวลาที่จะอาบน้ำให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกสบู่ แชมพู รวมถึงผลิตภัณ์อื่น ๆ ที่เป็นแบบสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หลังอาบน้ำให้ลูกเสร็จแล้ว ควรให้ลูกอยู่ในห้องที่ปิดแอร์ก่อนสักพัก เพื่อให้ลูกปรับตัวหลังอาบน้ำ และควรระวังเรื่องอุณหภูมิ ไม่ให้ลูกหนาวจนเกินไป

นอกจากนี้ ยังไม่ควรใช้สบู่ หรือแชมพูฆ่าเชื้อแบคทีเรียกับเด็กแรกเกิด เพราะสบู่หรือแชมพูเหล่านั้นมีฤทธิ์แรง และอาจทำร้ายผิวลูกน้อยได้ และระหว่างวัน ควรใช้สำลี หรือผ้าขนหนูเช็ดตัวให้ลูก เพื่อให้ลูกสบายตัวและมีผิวชุ่มชื่นทั้งวัน

 

2. การทาแป้ง

คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกแป้งเด็กที่ปราศจากสารเคมีและน้ำหอม เพราะแป้งเหล่านั้นจะทำให้ผิวของลูกแพ้ได้ และไม่ควรเลือกแป้งที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เพื่อป้องกันการแพ้ ความอับชื้น และการติดเชื้อให้กับทารก

 

3. ปัญหาจากผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม มักเกิดจากการสวมใส่ผ้าอ้อมที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน หรือเกิดจากการให้ลูกสวมใส่ผ้าอ้อมที่เล็กเกินไป หรืออาจเกิดจากสบู่ ทิชชูเปียกที่ใช้ทำความสะอาดผิวหนังลูกน้อยก็ได้

คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และเช็ดทำความสะอาดบริเวณนั้นให้สะอาด หลังจากนั้นจึงโรยแป้งเล็กน้อย เพื่อให้ผิวลูกน้อยบริเวณนั้นแห้งและสะอาดอยู่เสมอ หากลูกมีผื่นขึ้นมากและไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาและอย่างทันท่วงที และป้องกันการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

4. ผิวหนังแห้ง

หากลูกมีผิวแห้ง ควรใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ที่ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ ทาเพื่อให้ผิวของลูกชุ่มชื่นและอ่อนโยน พ่อแม่หลายคนนิยมใช้น้ำมันมะพร้าว ซึ่งผลิตจากธรรมชาติและปลอดภัยก็ได้เช่นกัน

หากลูกมีผิวแห้ง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลดังนี้

  • ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกบ่อยเกินไป เพราะจะเป็นการชะล้างความชุ่มชื้นบนผิวออกไป ทำให้ผิวไม่สดใสและแห้งกร้าน
  • ช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ทารกทุกวัน แต่ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำเปล่าเช็ดตัวลูก อาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดผิว และไม่ทำให้ความชุ่มชื้นในผิวสูญเสียไป
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หากลูกมีอาการแพ้สบู่ แชมพู และโลชั่น ควรเลิกใช้ยี้ห้อที่ลูกแพ้ทันที

 

5. วิธีดูแลผิวทารกอื่น ๆ ที่ต้องใส่ใจ

  • ผิวเด็กแรกเกิดไม่ควรสัมผัสกับแสงแดดจัด หากต้องออกไปนอกบ้าน และควรให้ลูกใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และหมวกเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง
  • ควรดูแลรักษาความสะอาดเสื้อผ้าของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ ควรซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้ง ก่อนให้ลูกสวมใส่
  • ลูกอาจรู้สึกอับชื้น จากเหงื่อใต้รักแร้ ข้อพับ คอ และบริเวณใต้ร่มผ้าอ้อม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย เพื่อให้ลูกรู้สึกเย็นสบายตัว
  • ผงซักฟอก หรือน้ำยาซักผ้าที่มีสารเคมี ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผื่น และทำให้ผิวลูกแห้งได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังในการเลือกใช้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ด้วยนะครับ

 

เครดิตภาพ : illinoisderm.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แม่แชร์ ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นขนแปรงเด็กหรือขนคุด

แม่กลุ้มใจ ผื่นแดงบนหน้าทารกแรกเกิด อันตรายไหม

พาร์โวไวรัสบี19 ไวรัสไข้ออกผื่นในเด็กที่คุณแม่ควรทราบ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รู้จักโรค ขนคุด ในเด็ก ขนคุดคืออะไร โรคที่พบได้ทั้งเด็กเล็กและทารก
แชร์ :
  • สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

    สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องแข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี คนท้องควรทำอย่างไร

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องแข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี คนท้องควรทำอย่างไร

  • กิจกรรมที่ทำแล้วลูกสมองฝ่อ ถ้ารักลูกต้องระวัง

    กิจกรรมที่ทำแล้วลูกสมองฝ่อ ถ้ารักลูกต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

    สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องแข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี คนท้องควรทำอย่างไร

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องแข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี คนท้องควรทำอย่างไร

  • กิจกรรมที่ทำแล้วลูกสมองฝ่อ ถ้ารักลูกต้องระวัง

    กิจกรรมที่ทำแล้วลูกสมองฝ่อ ถ้ารักลูกต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ