X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รักลูก ห่วงหลาน อย่าป้อนอาหารก่อนวัยอันควร!

บทความ 3 นาที
รักลูก ห่วงหลาน อย่าป้อนอาหารก่อนวัยอันควร!

เพราะอยากให้ลูกหลานตัวโตแก้มป่อง ด้วยความรักคุณย่าจึงป้อนกล้วยให้ลูกก่อนวัยอันควรต้องผ่าตัด เพราะลำไส้กลืนกัน

ย้อนไปเมื่อสองปีที่แล้ว เมื่อครั้งลูกชายของคุณแม่มีอายุได้เพียง 5 เดือนแทนที่จะได้ใช้ชีวิตสนุกสนานเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ กลับต้องเข้ารับการผ่าตัดเพราะลำไส้กลืนกัน!

อย่าป้อนอาหารลูกก่อนวัยอันควร ลำไส้กลืนกัน

โดยคุณแม่เล่าผ่านทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ว่า น้องเป็นลำไส้กลืนกันถึงสองรอบ รอบแรกเป็นลำไส้กลืนกันแต่สามารถคลายออกได้ แต่ครั้งที่สองคุณหมอต้องสวนแป้งเข้าไปเพราะลำไส้ไม่คลายออก ซึ่งสาเหตุที่ลูกชายของคุณแม่เป็นโรคนี้ เพราะคุณย่าอยากให้หลานตัวโต ๆ แก้มป่อง ๆ เลยป้อนกล้วย

พอป้อนไปได้สัก 5-6 วัน ลูกชายเริ่มถ่ายแข็ง แล้วก็อาเจียนออกมาเยอะมาก ทานอะไรก็ไม่ได้ นอนก็ไม่ได้ คุณแม่จึงพาไปหาหมอทันที หมอให้แอทมิทเป็นเวลา 2 คืน เพื่อให้มั่นใจว่าน้องหยุดอาเจียนแล้วจริง ๆ ตอนแรกคิดว่าน้องจะได้กลับบ้าน แต่ผลปรากฎว่า น้องกลับถ่ายออกมาเป็นสีแดงและมีมูกเลือดปน หมอจึงรีบไปเอ็กซเรย์ดี ผลที่ออกมาคือ น้องเป็นลำไส้กลืนกัน หมอจึงรีบให้น้องกลืนแป้งลงไป เพราะถ้าช้ากว่านี้ ลำไส้ของน้องอาจเน่าได้ ไม่นานน้องก็ได้กลับบ้าน … นี่คือการเข้ารับการรักษาครั้งแรกเพราะโรคนี้

แต่ครั้งที่สองนั้น ลูกชายกลับไม่โชคดีเหมือนครั้งแรก ซึ่งอาการนั้นไม่ได้มีอะไรเหมือนกับคราวก่อนเลย ไม่ถ่าย ไม่อาเจียน แต่ท้องของน้องกลับใหญ่ขึ้นมากจนผิดปกติ หมอสั่งให้แอทมิทและกลืนแป้งอีกเหมือนครั้งที่แล้ว แต่กลายเป็นว่ากลืนเท่าไหร่ลำไส้ก็ไม่คายออกจากกัน!!

หมอจึงสั่งให้งดนม ตั้งแต่เช้าและใส่สายยางทางจมูก สวมท่อฉี่ และได้พาน้องเข้าผ่าตัด โดยใช้เวลาเกือบสี่ชั่วโมง และยังคงต้องงดนมต่อไปอีก 5 วัน โดยให้ลูกชายของคุณแม่นั้นรับน้ำเกลือเพียงอย่างเดียว เพราะหมอต้องการให้มั่นใจว่า ลำไส้ที่ผ่าออกไปนั้นติดสนิทกันแล้วจริง ๆ หมอกล่าวว่า โรคลำไส้กลืนกันนี้ พบมากในเด็กเล็กที่มีกลุ่มอายุตั้งแต่ 4 – 12 เดือน

ทำความรู้จักกับโรคลำไส้กลืนกัน

โรคลำไส้กลืนกันเป็นโรคที่เกิดจากส่วนหนึ่งของลำไส้ซึ่งอยู่ต้นกว่าเคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้ อีกส่วนหนึ่งอยู่ปลายกว่า โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ โรคนี้พบมากในเด็กอายุ 4-12 เดือน พบได้จนถึง 2 ขวบ มักเกิดในเด็กแข็งแรงดีมาตลอด แต่หากโรคนี้เกิดในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มักมีสาเหตุที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน เช่น มีเนื้องอกในลำไส้

อาการของโรคลำไส้กลืนกันเป็นอย่างไร?

เมื่อเกิดโรคลำไส้กลืนกัน เด็กจะมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ แต่เนื่องจากยังพูดไม่ได้จึงแสดงอาการเริ่มต้นออกมาเป็น ร้องกวน กระสับกระส่ายเป็นระยะ มีอาเจียนร่วมด้วย อาจอาเจียนจนมีสีเขียวของน้ำดีปนออกมา ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดเพราะมีส่วนของลำไส้ที่ตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ต่อมาอาจมีไข้และเริ่มซึมลง ซึ่งบ่งว่าอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน

การรักษาโรคลำไส้กลืนกันทำได้อย่างไร?

การรักษาโรคนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือการผ่าตัดและการดันลำไส้ที่กลืนกันออก โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งจะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและลำไส้ที่ผิดปกติของผู้ป่วยขณะที่มารับการรักษาเป็นหลัก สำหรับการรักษาโดยการดันลำไส้คุณหมอจะใช้แรงดันผ่านทวารหนักดันลำไส้ที่กลืนกันออกโดยใช้สารทึบแสงทางเอ็กซเรย์ หรือใช้ลม แต่หากมีลำไส้กลืนกันมาเป็นเวลานานจนมีการเน่าตายของลำไส้จากการขาดเลือด หรือใช้วิธีการรักษาโดยดันลำไส้แล้วไม่สำเร็จ คุณหมอจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

ขอบคุณคุณแม่นุ๊กมากนะคะ สำหรับประสบการณ์ตรงที่ต้องการแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เมื่อไหร่จะเป็นรายสุดท้าย ล่าสุดป้อนกล้วยเด็กเข้าโรงพยาบาลไปอีกราย

ลูกอ๊วก มีไข้ ท้องเสีย อาการที่ไม่น่าวางใจสำหรับเด็กเล็ก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • รักลูก ห่วงหลาน อย่าป้อนอาหารก่อนวัยอันควร!
แชร์ :
  • ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

    ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

  • 8 วิธีจัดการนอน ไม่ให้ทารกเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร

    8 วิธีจัดการนอน ไม่ให้ทารกเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

    ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

  • 8 วิธีจัดการนอน ไม่ให้ทารกเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร

    8 วิธีจัดการนอน ไม่ให้ทารกเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ