X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี ยาที่ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

บทความ 5 นาที
ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี ยาที่ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

พูดถึง ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี ยาที่ใช้แล้วลูกในท้องปลอดภัย ไม่ส่งผลทำให้เกิดความพิการนั้น ก่อนอื่นอยากให้คุณแม่ทำความเข้าใจ ประเภทของกลุ่มของยา ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละกลุ่มส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์ค่ะ

 

ยาแบ่งเป็นกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างกันอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว เราจะแบ่งยาออกเป็น 5 กลุ่ม ตาม FDA Pregnancy Categories ดังนี้

  • กลุ่มA เป็นยาที่ไม่ทำให้เกิดความพิการของทารกเมื่อใช้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาจจะไม่มีความเสี่ยงในไตรมาสต่อ ๆ มาด้วย
  • กลุ่มB เป็นยาที่มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง ว่าไม่ทำให้เกิดความพิการในทารก แต่ไม่มีการศึกษาที่ดีเพียงพอในคน
  • กลุ่มC เป็นยาที่มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง ว่ามีผลทำให้เกิดความพิการของตัวอ่อน แต่ไม่มีการศึกษาในคนเพียงพอ
  • กลุ่มD มีข้อมูลในคนว่ามีผลต่อทารกในครรภ์ แต่ประโยชน์จากการใช้ยามีมากกว่า เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มX มีรายงานทั้งในสัตว์และในคน ว่าทำให้เกิดความพิการในทารก ไม่เหมาะกับการใช้ยา

 

การใช้ยาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การใช้ยาจะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากยาบางชนิดอาจจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนเพิ่งเริ่มสร้างอวัยวะสำคัญ หากจำเป็นต้องใช้ยาสามารถใช้ยาได้บางชนิด โดยต้องปรึกษาคุณหมอ หรือคุณเภสัชกร ก่อนเสมอ

องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration) ได้จัดกลุ่มความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ ตามความเสี่ยงของการเกิดการสร้างที่ผิดปกติทั้งรูปแบบและโครงสร้าง การทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย และพฤติกรรมที่ผิดปกติของทารกในครรภ์เอาไว้ 5 กลุ่ม คือ A, B, C, D และ X ซึ่ง กลุ่ม A จัดว่าปลอดภัยที่สุด และ X อันตรายที่สุดตามลำดับ 

 

Advertisement
ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี

ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี

 

ตัวอย่างยาที่ใช้ได้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ยาแก้ปวด ลดไข้ – paracetamol
  • ยาแก้แพ้ต้านฮิสตามีน – cetirizine, loratadine, levocetirizine
  • ยาแก้ไอ – bromhexine
  • ยาปฏิชีวนะสำหรับเชื้อแบคทีเรีย
  • ยากลุ่ม penicillins , cephalosporins, azithromycin

 

การใช้ยาสำหรับคุณแม่ให้นม

สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก การใช้ยาหลายตัวไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาหรือผลเสียอันตรายร้ายแรงจนต้องระมัดระวังมากเหมือนกับตอนตั้งครรภ์ที่จะผ่านไปยังลูกโดยตรง เพราะเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ยาหลายชนิดไม่สามารถผ่านน้ำนมได้ จึงไม่มีผลกระทบต่อลูกเลย ส่วนยาหลายชนิดที่ผ่านน้ำนมได้ก็ผ่านไปในปริมาณที่ไม่มาก จึงไม่ได้มีผลข้างเคียงต่อลูก คุณแม่ให้นมจึงสามารถใช้ยาได้หลากหลายขึ้นกว่าตอนที่ยังตั้งครรภ์

 

อย่างไรก็ดี หากมีโอกาสก็ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ ควรใช้ยาที่มีขนาดต่ำที่สุดที่ใช้ได้ หรือใช้ยาในช่วงระยะที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการรักษาโรคให้ได้ผล ให้นมลูกหรือปั๊มนมก่อนที่คุณแม่จะทานยาในมื้อถัดไป หรือรอมากกว่า 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่คุณแม่ทานยาจึงให้นมลูก

 

ตัวอย่างยาที่ใช้ได้สำหรับคุณแม่ให้นม

  • ยาแก้ปวด ลดไข้ – paracetamol
  • ยาแก้แพ้ต้านฮิสตามีน – cetirizine, loratadine
  • ยาแก้ไอ – bromhexine, acetylcysteine
  • ยาปฏิชีวนะสำหรับเชื้อแบคทีเรีย
  • ยากลุ่ม penicillins , cephalosporins, และ macrolides

 

ทั้งนี้ คุณแม่ให้นมบุตร สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ว่า ยาชนิดใดที่คุณแม่ให้นมสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อลูก ที่เว็บไซต์ www.e-lactancia.org โดยใส่ชื่อยาสามัญของยาลงไป แล้วดูผลความเสี่ยงของการใช้ยา ถ้าขึ้นเป็นสีเขียว (very low risk) แสดงว่า ใช้ยาตัวนั้นได้ปลอดภัย ถ้าขึ้นสีเหลือง (low risk) แสดงว่าถ้าจำเป็นต้องใช้ยานั้นก็ใช้ได้ แต่ต้องติดตามว่ามีผลข้างเคียงหรือไม่ แต่ถ้าขึ้นเป็นสีส้ม หรือสีแดง ก็ไม่ควรใช้นะคะ

 

คนท้องกินเกลือแร่ได้ไหม

 

ยาที่คนท้องสามารถใช้ได้

คนท้องปวดหัว ปวดตัว ปวดเมื่อย

  • paracet (B) แม่ตั้งครรภ์กินได้หมดทุกช่วง
  • ยาพาราเซตามอล (อะซีตามิโนเฟน)
  • กลุ่มยา NSAIDs (เช่น ibuprofen, ponstan, diclofenac, naproxen, celebrex) (C) สามารถใช้ได้ถ้าจำเป็น แต่ควรหลีกเลี่ยงหลังตั้งครรภ์ได้ 30 สัปดาห์ เนื่องจากมีผลต่อเส้นเลือดหัวใจของทารกในครรภ์
  • แผ่นแปะกอเอี๊ยะ สามารถแปะได้ตามต้องการ ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

**คนท้องห้ามใช้ยาแอสไพริน และไอบูโพรเฟน เพราะอาจส่งผลรบกวนการแข็งตัวของเลือด และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ได้**

 

คนท้องเป็นไข้หวัด

  • ยาลดน้ำมูก: คลอเฟนิรามีน (B) คนท้องใช้ได้เท่าที่จำเป็น
  • ยาแก้ไอ: ยาที่ใช้ได้ เช่น dextrometrophan(C), guaifenesin(C), acetylcysteine(B) **ควรระวังคือยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมค่ะ ต้องเลี่ยงกลุ่มนั้น**
  • พวกยาอมแก้เจ็บคอต่างๆ

 

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน ท้องอืด

  • simethicone (C) หรือ air-x
  • ยาหอม
  • ยาลดการหลั่งกรดในกระเพา : omeprazole (C), ranitidine (B)
  • ยาที่ลดกรดในกระเพาะ: อีโน, อลัม มิลค์, แอนตาซิล **ตัวที่ห้ามคือ misoprostol ทำให้แท้งได้, และยาธาตุน้ำแดง เพราะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ**

 

คนท้องท้องเสีย

  • เกลือแร่ ORS ใช้ได้ **ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน มีแอลกอฮอล์ผสม ควรเลี่ยง**
  • ยาช่วยให้หยุดถ่าย loperamide หรือ immodium (B) ค่อนข้างปลอดภัยกับการตั้งครรภ์ แต่แนะนำว่าไม่ควรซื้อยาตัวนี้ใช้เอง เพราะถ้าการท้องเสียนั้นเกิดจากการติดเชื้อก็ไม่ควรใช้

 

คนท้องท้องผูก

  • ยาระบาย เช่น มะขามแขก หรือ senokot(C), milk of magnesia หรือ MOM(B), bisacodyl(C), mucillin (B)
  • ยาสวน ไม่ได้เกิดอันตรายกับเด็ก แต่อาจกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ได้ แนะนำว่าให้ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆและภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • กลีเซอรีน แบบเหน็บก้น(C)

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

คนท้องมีผื่นแพ้ ผื่นคัน สิว

  • ยาทาส่วนใหญ่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย พวกกลุ่ม topical steroid ก็ใช้ได้
  • ยาสิว สามารถใช้ benzoyl peroxide **หลีกเลี่ยงกลุ่มที่มีวิตามินเอ เพราะมีรายงานเคสที่ก่อให้เกิดความพิการในทารก**
  • ยาปฏิชีวนะ
  • กลุ่มเพนิซิลลิน เช่น เพนิซิลลิน-วี แอมพิซิลลิน หรืออะม็อกซีซิลลิน ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์ **แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้มีการแพ้ยาสูงเป็นอันดับหนึ่ง จึงใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน เพราะอาจเป็นอันตรายซึ่งในบางคนเป็นรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้**

 

นานายาเด็ก โดยเภสัชกรกวาง

เพจ นานายาเด็ก โดย ณัฎฐา โมลีเศรษฐ์ (เภสัชกรกวาง)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินผงชูรส คนท้องกินผงชูรสเยอะ อันตรายไหม มีผลต่อลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

60 วันแรกในท้องแม่ ทารกในครรภ์มีรูปร่างอย่างไร พ่อแม่อยากเห็นไหม?

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ณัฎฐา โมลีเศรษฐ์ (เภสัชกรกวาง

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ยาสามัญประจำบ้านที่คนท้องควรมี ยาที่ปลอดภัยทั้งแม่และลูก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว