X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHN

บทความ 3 นาที
พ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHNพ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHN

ใจแทบสลาย เมื่อคุณหมอโทรมาบอกว่า ลูกเสียชีวิตแล้ว หลังป่วยเป็นโรค PPHN

เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ แชร์เรื่องราวการสูญเสียลูกวัยไม่ถึงเดือนผ่านเพจชื่อดังอย่าง เพจว่าที่คุณแม่ หญิงตั้งครรภ์ และมีบุตร ว่าต้องสูญเสียลูก เพราะน้องป่วยเป็นโรค PPHN หรือภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

โรค PPHN

ทั้งที่ตอนตั้งครรภ์ คุณหมอตรวจแล้วว่า หัวใจของลูกปกติดีทุกอย่าง แต่หลังจากที่คลอดน้องและพาน้องมาอยู่บ้านได้เพียงอาทิตย์เดียว ก็ต้องนำน้องกลับไปโรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากน้องมีอาการหายใจเร็วและแรง มีเสียงฟิต ๆ โดยก่อนตรวจนั้น น้องมีอาการปากคล้ำ ใต้เล็บคล้ำ ตัวเหลือง หายใจแรงผิดปกติ จึงต้องทำให้น้องเข้าพักรับการรักษาตัวเพื่อเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด

หมอกล่าวว่า โรคนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับเด็กทารก ซึ่งแม้แต่หมอเองก็ไม่สามารถบอกถึงสาเหตุการเกิดในครั้งนี้ได้ จนกระทั่งคุณหมอโทรมาบอกว่าน้องเสียแล้ว หลังจากที่เข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน

โดยคุณพ่อคุณแม่อยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ ผ่านทางเพจดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ว่า ขอให้คุณแม่ ๆ ทุกท่านที่คลอดน้องออกมาแล้ว สังเกตลูกของตัวเองตลอดเวลา ถ้ามีอาการหายใจเร็วและแรง มีเสียงดัง ปากคล้ำ ใต้เล็บคล้ำ น้องดูดนมได้ไม่ค่อยดี อย่ารอช้า ให้รีบพาน้องไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของน้องด้วยนะคะ และขอเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ

ที่มา: Chatree Saykeaw และ เพจว่าที่คุณแม่ หญิงตั้งครรภ์ และมีบุตร

และเพื่อเป็นประโยชน์เพิ่มเติมแก่คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ เรามาทำความรู้จักกับโรค PPHN ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

โรค PPHN ในทารกแรกเกิดมีสาเหตุจากอะไร?

จริงๆแล้วภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดยังไม่สามารถหาสาเหตุของ การเกิดที่ชัดเจนได้ แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งในต่อไปนี้

1. การหดตัวของหลอดเลือดในปอดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นของทารกในช่วงแรกเกิดใหม่ๆ เช่น ภาวะขาดออกซิเจนของปอด จาก ภาวะพร่องออกซิเจนระหว่างคลอด ภาวะสูดสำลักขี้เทา ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด ปอดอักเสบติดเชื้อ ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะตัวเย็นกว่าปกติ หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น

2. เส้นเลือดในปอดผิดปกติ จากการสร้างและเจริญเติบโตที่ผิดปกติของปอด ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เช่น ภาวะไส้เลื่อนกระบังลมไปกดปอด ภาวะน้ำคร่ำน้อย

นอกจากนี้ยังมีทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุได้

โรค PPHN เป็นอย่างไร?

ทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง ร่างกายจะขาดออกซิเจน จึงมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ตัวเขียว ความดันโลหิตต่ำ และช็อคได้ นอกจากนี้คุณหมออาจตรวจร่างกายพบความผิดปกติต่างๆที่เป็นสาเหตุ เช่น มีขี้เทาติดตามตัว ถ้าเกิดจากภาวะสูดสำลักขี้เทา มีเสียงปอดผิดปกติ ถ้าเกิดจากภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด ปอดอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น

คุณหมอจะวินิจฉัยโรค PPHN ได้อย่างไร?

หากทารกแรกเกิดมีอาการและอาการแสดงของขาดออกซิเจนมาก โดยไม่ได้มีความผิดปกติที่รุนแรงชัดเจนของปอด คุณหมออาจสงสัยภาวะนี้ ซึ่งสามารถทำการตรวจเพิ่มเติมต่างๆเพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ได้หลายวิธีร่วม กัน เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เจาะเลือดดูค่าออกซิเจนในหลอดเลือดแดง เอกซเรย์ปอด เป็นต้น

การรักษาโรค PPHN ทำได้อย่างไร?

การรักษาภาวะนี้มีหลักการคือ การลดความต้านทานและความดันเลือดในปอด และทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ การให้ยาขยายหลอดเลือดแดงในปอด การระวังและแก้ไขภาวะความเป็นกรดของเลือด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอ และการรักษาประคับประคอง เช่น ให้สารอาหารที่เพียงพอ และการรักษาตามอาการอื่นๆ จนกว่าปอดของทารกจะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งต้องเฝ้าดูอาการกันอย่างใกล้ชิดมาก ช่วงแรกจึงจำเป็นต้องสังเกตอาการในไอซียูทารกแรกเกิด

ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่มีความรุนแรงสูง เพราะมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก วิธีการป้องกันที่พอจะทำได้คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะขาดออกซิเจนช่วงแรกเกิด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรไปตามนัดฝากครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอนะคะ

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

จูบมรณะ! เกือบคร่าชีวิตเด็กแรกเกิด

5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHN
แชร์ :
  • โรค PPHN ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

    โรค PPHN ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

  • แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

    แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • โรค PPHN ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

    โรค PPHN ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

  • แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

    แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ