X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก

บทความ 5 นาที
พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก

พ่อเล่นกับลูกในท้อง พ่อคุยกับลูกในท้อง ดีไหม คุยกับลูกในท้องยังไง วิธีเล่นกับทารกในครรภ์ เสริมสร้างความฉลาดตั้งแต่ในท้อง

พ่อเล่นกับลูกในท้อง ดีอย่างไร

รู้มั้ยว่า การที่ พ่อเล่นกับลูกในท้อง พูดคุยกับลูกในท้อง จะกระตุ้นพัฒนาการ กระตุ้นให้ลูกดิ้น เสริมความฉลาดลูก เห็นแบบนี้แล้วต้องเริ่มคุยกับลูกในท้องยังไงดีละเนี้ย?

เอาละคะ ได้เวลาเตรียมตัวทั้งคุณพ่อ คุณแม่ มาคุยกับลูกในท้องกันเถอะ คุณพ่ออย่ามัวแต่เคอะเขิน มารีบสร้างความผูกพันกับลูกเสียแต่เนิ่น ๆ เถอะค่ะ

 

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก

ความผูกพันพ่อกับลูกในท้อง

นับตั้งแต่วันแรกของการปฏิสนธิ ร่างกายของคุณแม่ สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน ความผูกพันของแม่และลูกในท้อง ก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แล้วคุณพ่อไปอยู่ที่ไหนเสียล่ะ? คุณพ่อคงมีคำถามนี้อยู่ในใจบ้างใช่ไหมคะ ก็แหม! ความมุ้งมิ้งของแม่ลูกนี่ คุณพ่อไม่สามารถสัมผัสได้เลย ดังนั้น จำเป็นอย่างมากที่พ่อจะสร้างความผูกพันกับลูกในท้อง

พ่อเล่นกับลูกในท้อง

พ่อเล่นกับลูกในท้อง

Advertisement

พ่อคุยกับลูกในท้องบ้างดีไหม

การพูดคุยกับลูกในท้องเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ เพื่อให้ลูกในท้องคุ้นเคยกับเสียงของพ่อแม่ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์อีกด้วย สำหรับการคุยกับลูกในท้อง พ่อและแม่สามารถทำได้ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ เพียงแค่ว่า ลูกจะรับรู้จริง ๆ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง หรือการตั้งครรภ์เดือนที่ 4 – 6

พ่อเล่นกับลูกในท้อง

พ่อเล่นกับลูกในท้อง

หากพ่อคุยกับลูกในท้องลูกจะได้ยินตอนไหน

ประสาทสัมผัสทางการได้ยินของลูกจะเริ่มพัฒนาในช่วงไตรมาสสอง หรือช่วงตั้งครรภ์ 4 – 6 เดือน หากคุณพ่อและคุณแม่ หมั่นพูดคุยกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ลูกก็จะจดจำน้ำเสียงของพ่อและแม่ได้ ทั้งยังได้ยินเสียงชัดขึ้นแล้วในช่วงนี้

ช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่พ่อจะคุยกับลูกในท้อง เพราะช่วงไตรมาสแรก ลูกไม่ได้ตอบสนองเนื่องจากทารกเพิ่งเริ่มต้นสร้างอวัยวะ กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท คุณพ่ออาจจะอาย เมื่อคุยกับลูกแล้วไม่มีการตอบสนอง แต่ในช่วง 4 – 6 เดือนนี้ ลูกจะเริ่มดิ้น มีการเคลื่อนไหว ทำให้คุณพ่อรับรู้ว่าลูกได้ยิน และมีกำลังใจในการคุยกับลูกในท้องมากขึ้น สำหรับช่วงเวลาที่ดีที่สุดอาจจะเป็นช่วงหลังมื้ออาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกในท้องตื่นตัวมากที่สุด หรืออาจจะเป็นช่วงก่อนนอนก็ได้

 

พ่อคุยกับลูกในท้องช่วงไตรมาสสุดท้าย

เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ช่วง 7 – 9 เดือนนี้ ลูกจะดิ้นมากขึ้น มีปฏิกิริยาตอบสนองเยอะขึ้น ทั้งพ่อและแม่จึงควรพูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ จะพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวัน เล่าเรื่องราวดี ๆ ให้ฟัง แล้วก็ใช้วิธีสัมผัส ลูบท้องไปด้วยเล่าไปด้วย

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ

 

พ่อกับลูก เล่นกันอย่างไรตอนอยู่ในท้อง

ไม่เพียงแต่การพูดคุยเท่านั้นที่คุณพ่อควรจะทำกับลูกในท้อง พ่อยังต้องหมั่นเล่นกับลูกในท้อง เพื่อช่วยคุณแม่เสริมสร้างความฉลาด กระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ อย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณแม่เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ การที่พ่อเล่นกับลูกในท้อง ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ ทำให้พ่อลูกผูกพันกันมากยิ่งขึ้น โดยวิธีเล่นกับลูกในท้อง มีดังนี้

พ่อเล่นกับลูกในท้องด้วยการอ่านนิทานให้ลูกฟัง

การอ่านหนังสือ หรืออ่านนิทานสนุก ๆ มีน้ำเสียงที่หลากหลาย ต่ำ สูง ช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของพ่อ แถมการอ่านหนังสือหรือนิทาน ยังช่วยกระตุ้นด้านประสาทสัมผัสของลูกน้อย และสร้างวงจรในสมองของลูกได้ดี โดย พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวว่า การอ่านหนังสือช่วยกระตุ้นการสร้างวงจรต่าง ๆ ในสมองของลูกตั้งแต่เริ่มต้นได้ดี ทั้งการได้ยินเสียงจากพ่อแม่ ความรู้สึกภายในที่มีต่อพ่อแม่ และได้รับความรักจากการลูบสัมผัสผ่านหน้าท้อง ประโยชน์จากการการอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง เด็กจะมีความจำเกี่ยวกับคำ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้ยิน แต่เด็กจะคุ้นชินกับคำ และประโยคที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง ยิ่งถ้าพ่อแม่มีการต่อยอดหลังลูกคลอดออกมา เด็กก็จะยิ่งมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น และเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

 

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ

พ่อเล่นกับลูก กระตุ้นพัฒนาการ

พ่อเล่นกับลูกในท้องด้วยการร้องเพลงให้ลูกฟัง

เช่นเดียวกับการอ่านนิทาน การร้องเพลงให้ลูกฟัง มีตัวโน้ตที่หลากหลาย การร้องเพลงสนุก ๆ ยังช่วยทำให้คุณแม่ผ่อนคลาย สร้างความครื้นเครงให้กับครอบครัว เป็นประโยชน์สองต่อเลยนะคะพ่อ แต่ถ้าคุณพ่อเขินเสียงตัวเอง ไม่กล้าร้องเพลง ให้เปิดเพลงให้ลูกฟัง หรือเล่นดนตรีก็ได้ค่ะ การเปิดเพลงให้ลูกในท้องฟัง คลื่นเสียงจะไปกระตุ้นให้ระบบประสาทการได้ยินให้มีการพัฒนาได้เร็วขึ้น มีส่วนช่วยในการจัดลำดับความคิดในสมองส่วน Spatial Temporal ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ เวลาเปิดเพลงให้ลูกฟังควรให้เสียงเพลงอยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต หรือใช้หูฟังชนิดครอบอันใหญ่ เปิดเสียงดังพอประมาณ เลือกเปิดเพลงให้ลูกในครรภ์ฟังในช่วงเวลาเย็น ๆ เพราะเป็นช่วงที่หนูน้อยจะตื่นตัว ให้ลูกได้ฟังวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ 10-15 นาที เท่านี้ก็จะช่วยทำให้อารมณ์ของทั้งแม่และลูกผ่อนคลาย อารมณ์ดีไปพร้อม ๆ กัน

 

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ

พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ

พ่อเล่นกับลูกในท้องด้วยการส่องไฟที่หน้าท้อง

พ่อเล่นกับลูกในท้องด้วยการส่องไฟที่หน้าท้อง ดีอย่างไรนั้น รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แนะนำว่า ลูกน้อยในครรภ์สามารถกระพริบตาเพื่อตอบสนองต่อแสงไฟที่กระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน การส่องไฟที่หน้าท้องจะทำให้เซลล์สมองและเส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็นมีพัฒนาดีขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับการมองเห็นภายหลังคลอด

 

พ่อเล่นกับลูกในท้องหรือการที่พ่อคุยกับลูกในท้อง ช่วยสร้างความผูกพัน ทั้งยังทำให้ลูกฉลาด กระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ รู้อย่างนี้แล้ว คุณพ่อต้องรีบเล่นกับลูกในท้องแล้วล่ะค่ะ

 

รู้ประโยชน์ของการที่พ่อเล่นกับลูกในท้องไปแล้ว แม่ ๆ มาโหวตกันหน่อยว่า คุณแม่ใช้วิธีแบบไหนเล่นกับลูกน้อยในครรภ์ หากกดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

คุณแม่ใช้วิธีแบบไหนเล่นกับลูกน้อยในครรภ์

ฟังเพลงเพลินๆด้วยกัน
อ่านหนังสือให้ลูกในท้องฟัง
ไฟฉายส่องหน้าท้อง
พูดคุยกับลูกน้อย

65768 คนที่ตอบกลับ

โหวต

 

ที่มา : parents, aptaclub, si.mahidol

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการลูก เห็น ได้ยิน พูด ลูกมองเห็นตอนกี่เดือน ทารกได้ยินตอนกี่เดือน ทารกพูดได้ตอนกี่เดือน

5 วิธีสื่อสารกับลูกในท้อง แม่จ๋ามีอะไรจะบอกหนูไหม

การนอนของทารกในครรภ์ ลูกในท้องนอนกี่ชั่วโมง ตื่นตอนไหน หิวตอนไหน

10 ภาพสุดอัศจรรย์ของชีวิตทารกในครรภ์แม่


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • มุมคุณพ่อ
  • /
  • พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว