X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พาลูกหาหมอฟัน อาจไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 3 ขวบ

บทความ 3 นาที
พาลูกหาหมอฟัน อาจไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 3 ขวบ

เมื่อคุณหมอตุ๊กตาจากเพจดังอย่าง "เพจฟันน้ำนม" ออกมาเตือนว่า การพาลูกหาหมอฟันตอน 3 ปีอาจสายเกินไป

คุณหมอตุ๊กตา จากเพจฟันน้ำนมได้โพสต์ข้อความพร้อมตัวอย่างฟันของเด็ก ๆ ทั้งสี่คน โดยแต่ละคนมีอายุไม่ถึงสามปี ถึงแม้จะเป็นเด็ก เราก็ต้องพาลูกไปหา หมอฟัน เช่นกัน

พาลูกหาหมอฟัน

“รอ 3 ขวบค่อยไปหาหมอฟันก็ได้”
เด็กหลายคน ถ้ารอนานขนาดนี้ ก็สายไปแล้วค่ะ

แปรงฟันลูกด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ตั้งแต่ซี่แรก

พาลูกไปพบหมอฟันได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น หรือเมื่อถึงวันเกิด 1 ขวบของลูก

ฟันน้ำนม เริ่มต้นดูแลยิ่งเร็วยิ่งดี ไม่มีคำว่าโอเว่อร์ หรือ เยอะเกินไปนะคะ

ทั้ง 4 รูป เด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 3 ขวบทุกคน บางคนอายุยังไม่ถึง 2 ขวบด้วยซ้ำ

โดยคุณหมอตุ๊กตายังแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูก ๆ ไปพบหมอฟันตั้งแต่ซี่แรกหรือลูกอายุไม่เกิน 1 ปี (ยืดหยุ่นได้ อาจรอให้ฟันขึ้นเต็มซี่ก่อนก็ด้ แต่อย่างช้าไม่อยากให้เกินสองขวบเต็ม) และควรนัดมาตรวจฟันทุก ๆ 3 – 6 เดือนเพื่อ

1. ตรวจฟันโดยทั่วไป (มีฟันผุเริ่มแรกรึเปล่า ฟันสะอาดดีมั้ย ประเมินเรื่องลำดับการขึ้นของฟัน การสบฟัน ฯลฯ)

2. พูดคุยเรื่องการดูแลฟันน้ำนมลูกอย่างถูกต้อง (แต่ละบ้านมีวิธีการเลี้ยงแตกต่างกัน เรามาคุยกันเพื่อปรับให้เหมาะสมกับแต่ละครอบครัว)

3. แนะนำวิธีการแปรงฟันลูกอย่างถูกวิธี (ถ้าหมอฟันได้เห็นผู้ปกครองแปรงฟันลูกจริง จะแนะนำได้ถูกต้องที่สุด ทั้งการจัดท่า การวางแปรง น้ำหนักที่ใช้แปรง และเสริมสร้างความมั่นใจ)

4. เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุ (พิจารณาเป็นรายบุคคล)

5. สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่ เครื่องมือ และตัวหมอฟัน

6. สร้างประสบการณ์ที่ดีในการพบหมอฟันครั้งแรกของลูก (การพาลูกมาพบหมอฟันตั้งแต่ซี่แรก หัตถการง่าย รวดเร็ว ไม่เจ็บ …เด็กหลายคนที่มาพบหมอฟันครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ขวบ เริ่มมีฟันผุหลายซี่แล้ว)

7. พบหมอฟันตรวจฟันเรื่อย ๆ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวม ทั้งเรื่องความสะอาด ฟันผุ การสบฟัน พัฒนาการต่าง ๆ ของช่องปากและฟัน ตั้งแต่ชุดฟันน้ำนมจนถึงฟันแท้ หากหมอฟันพบความผิดปกติอะไรจะได้รีบแก้ไข หรือส่งต่อไปยังหมอฟันเฉพาะทางด้านอื่น ๆ ในเวลาที่เหมาะสม

ถ้าทั้ง 7 ข้อนี้ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้รู้สึกคุ้มค่ากับการพาลูกไปพบหมอฟันตั้งแต่ซี่แรก หรือหากพ่อแม่มั่นใจว่าสามารถดูแลฟันลูกได้อย่างดี ตรวจฟันลูกเองได้ ก็ยังไม่ต้องพาลูกไปพบหมอฟันก็ได้ เริ่มพาไปตามที่เห็นสมควรค่ะ

หากสงสัยหรือรู้สึกกังขาว่าหมอฟันจะหลอกเอาตังค์เคลือบฟลูออไรด์ ให้พาลูกไปพบหมอฟันที่โรงพยาบาลรัฐบาลที่ลูกใช้สิทธิ์บัตรทองนะคะ ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ค่ะ

อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ แปรงฟันลูกตั้งแต่ซี่แรกด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ คุ้มค่าแน่ ๆ และไม่น่าจะมีข้อโต้แย้งใด ๆ ในใจนะคะ

ขอขอบคุณ คุณหมอตุ๊กตาจากเพจฟันน้ำนม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

อะไรคือเบื้องหลังฟันผุของเด็กคนนั้น

ไม่ยอมแปรงฟัน! ลูก 2 ขวบฟันผุต้องถอนทิ้ง 14 ซี่

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พาลูกหาหมอฟัน อาจไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 3 ขวบ
แชร์ :
  • พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

    พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • ลูกฟันผุมาก ทะลุโพรงประสาทฟัน กรมอนามัยแนะต้องพาลูกหาหมอฟัน ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก

    ลูกฟันผุมาก ทะลุโพรงประสาทฟัน กรมอนามัยแนะต้องพาลูกหาหมอฟัน ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

    พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • ลูกฟันผุมาก ทะลุโพรงประสาทฟัน กรมอนามัยแนะต้องพาลูกหาหมอฟัน ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก

    ลูกฟันผุมาก ทะลุโพรงประสาทฟัน กรมอนามัยแนะต้องพาลูกหาหมอฟัน ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ