X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35

บทความ 3 นาที
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35

พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ 35 ร่างกายของลูกจะเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมคุณหมอต้องตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) ด้วยนะ เราลองมาดูกัน

พัฒนาการตั้งครรภ์,

พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35

พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 35

ตอนนี้ในท้องของคุณไม่ค่อยมีพื้นที่ให้ลูกดิ้นสักเท่าไหร่แล้วค่ะ เพราะว่าลูกในท้องมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตรและมีน้ำหนักประมาณ 2,300 กรัม เนื่องจากในท้องของคุณเป็นที่ปลอดภัยและแสนอบอุ่นของลูก เขาเลยอาจจะไม่แสดงแม่ไม้มวยไทยทำท่าจระเข้ฟาดหางหรือตีลังกาเหมือนเคยให้ แต่ความถี่ในการขยับตัวควรจะเหมือนเดิม ตอนนี้ไตของลูกน้อยพัฒนาเต็มที่แล้ว ตับก็สามารถกำจัดของเสียได้บ้าง ลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ก็สมบูรณ์ ตอนนี้ลูกก็แค่เพิ่มน้ำหนักจนถึงครบกำหนดคลอดนั่นเองค่ะ

จากที่มดลูกเคยอยู่ในอุ้งเชิงกรานตอนที่คุณเริ่มตั้งครรภ์อ่อน ๆ ตอนนี้มดลูกขยายขนาดออกมาจนอยู่ใต้ซี่โครงของคุณแล้วค่ะ เวลาคุณหมออัลตร้าซาวด์เพื่อดูเจ้าตัวน้อยในท้องของคุณ เราจะพบว่าลูกมีขนาดมากกว่าน้ำคร่ำ นอกจากนี้มดลูกก็ขยายขนาดทับอวัยวะภายในอื่น ๆ ด้วย และนั่นก็คือสาเหตุที่คุณต้องเข้าห้องบ่อยนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอยากจุดเสียดยอดอก ระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง แต่หากคุณไม่มีอาการเหล่านี้ก็ต้องยอมรับเลยค่ะว่าคุณเป็นคนส่วนน้อยที่โชคดีมาก

Advertisement

สิ่งที่คุณทำได้

หลังจากนี้ไป หมอที่ดูแลครรภ์ของคุณจะนัดคุณไปตรวจทุก ๆ สัปดาห์ คุณหมออาจทำการตรวจปากมดลูกและทวารหนักเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) เชื้อตัวนี้ไม่มีอันตรายกับผู้ใหญ่ ผู้หญิงร้อยละ 30 มีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้และสามารถส่งผ่านลูกขณะคลอด เชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุสําคัญของการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือดและทําให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด หากตรวจพบว่าคุณมีเชื้อตัวนี้ หมอจะให้ยาฆ่าเชื้อผ่านน้ำเกลือในขณะที่คุณเจ็บท้องคลอดเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของลูกนั่นเอง

ที่สำคัญอย่าลืมเตรียมวางแผนคลอดนะคะ เช่น สามีจะเข้าห้องคลอดกับคุณหรือเปล่า คุณจะบล็อกหลังไหม เมื่อลูกคลอดแล้วจะให้ลูกอยู่ที่ห้องกับคุณไหม หากคุณเตรียมแผนคลอดไว้แต่เนิ่น ๆ คุณเองจะได้มีเวลาปรึกษาคุณหมอและทีมแพทย์ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าลูกจะคลอดเมื่อไหร่ พอถึงเวลาทุกคนจะได้ทำตามแผนที่คุณวางเอาไว้นั่นเอง

น้ำหนักทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

ความกังวลช่วงตั้งครรภ์: แรงกดช่วงเชิงกราน

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว