X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์

โครงสร้างหลักภายในร่างกายของลูกน้อยที่สำคัญก็คือกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและอวัยวะในส่วนต่างๆ เกิดการยึดเกาะกันจนกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา กระดูกของลูกน้อยจะแข็งแรงได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายคุณแม่ทานเข้าไปทั้งสิ้น ดังนั้นมาดูกันว่าพัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์เป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

โครงสร้างหลักของร่างกายมนุษย์คือกระดูก ทารกในครรภ์เริ่มก่อร่างสร้างตัวมาเป็นรูปเป็นร่าง มาดูกันว่าพัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์แต่ละไตรมาสจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

ไตรมาสที่ 1 พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์ : กระดูกสันหลังก่อร่างสร้างตัว

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 6 พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์จะเริ่มพัฒนาจากกลุ่มเซลล์ในตัวอ่อนซึ่งอยู่ในบริเวณชั้นกลาง เซลล์นี้จะแปรเปลี่ยนมาเป็นโครงกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อทั่วไปของร่างกาย ไต ม้าม เม็ดเลือดแดง เซลล์ผิวหนังชั้นลึกสุด รวมไปถึงเริ่มสร้างอัณฑะและรังไข่

พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์ ส่วนสำคัญของร่างกายที่เริ่มพัฒนาขึ้นก่อน คือ กระดูกสันหลัง โดยในช่วงแรกของของพัฒนาการกระดูกสันหลังนั้นจะมีลักษณะของกระดูกที่คล้ายร่องหยักตลอดทั้งแผ่นหลัง ทารกในช่วงวัยนี้จะมีลำตัวคดงอมองดูคล้ายกุ้ง

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 10 ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะเริ่มมีการพัฒนาโครงหน้า พัฒนาการกระดูกโครงหน้าจะเริ่มเชื่อมต่อกันโดยมีกล้ามเนื้อเป็นส่วนยึดเกาะ อีกทั้งโครงสร้างกระดูกของอวัยวะแขน ขา ก็เริ่มพัฒนาตามลำดับ

Advertisement

 

ไตรมาสที่ 2 พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์ : แคลเซียมสารอาหารสำคัญ

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 14 – 18 พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์ช่วงนี้ ลำตัวของทารกจะเริ่มเหยียดตรงมากขึ้นแล้วค่ะ เนื่องจากการพัฒนากระดูกและซี่โครงรอบลำตัวของทารกนั่นเอง

รอบสัปดาห์นี้พัฒนาการของทารกน้อยจะเริ่มมีเล็บมือ เล็บเท้างอกออกมา รวมไปถึงกระดูกอ่อนภายในร่างกายบางส่วนเริ่มได้รับแคลเซียมเข้ามาสะสมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้กระดูกเกิดความแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ที่สำคัญทารกน้อยกำลังมีส่วนเหง้าของฟันแท้ 32 ซี่ ที่แอบซ่อนตัวอยู่ในปุ่มเหงือกด้วยนะคะ แบบนี้แคลเซียมสำคัญมาก ๆ เลย

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 22 พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการเจริญเติบโตของทารกนั่นเอง การพัฒนาในช่วงนี้ร่างกายของทารกจะเริ่มคล้ายกับทารกแรกคลอดใหม่ ๆ นอกจากนี้ ฟันน้ำนมของเจ้าหนูจะเริ่มผลิออกจากเหงือก สำหรับเล็บมือ เล็บเท้าก็งอกออกมาอย่างสมบูรณ์แล้วเช่นกัน

ไตรมาสที่ 3 พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์ : พร้อมออกมาดูโลก

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 26 – 30 ในช่วงสัปดาห์นี้พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์จะเริ่มแข็งแรงมากขึ้น เพราะได้รับแคลเซียมจากคุณแม่ กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้าพัฒนาอย่างเต็มที่

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 34 – 40 เตรียมความพร้อมแล้วค่ะสำหรับทารกน้อย เพราะตอนนี้พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์ได้พัฒนาอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้วค่ะ ทั้งเล็บมือ เล็บเท้าของเจ้าหนูเริ่มงอกยาวมากขึ้น ดังนั้น เมื่อคลอดออกมาคุณหมอจึงต้องตัดเล็บมือเล็บเท้าให้ทารกแรกเกิดไปพร้อมกัน เพื่อป้องกันไม้ให้เจ้าหนูข่วนหน้า ข่วนตา หรือผิวเนื้อส่วนต่าง ๆ จนเกิดบาดแผลค่ะ

ได้ทราบถึงพัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์กันแล้วนะคะ ว่ามีการพัฒนาไปแบบใด ตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งจนถึงไตรมาสที่สาม ทีนี้มาดูกันว่าคุณแม่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้ลูกน้อยได้อย่างไร

แคลเซียมสำคัญสำหรับหนูนะแม่!!!

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

ในช่วงตั้งครรภ์ แคลเซียมเป็นสารอาหารจำเป็นและสำคัญที่แม่ท้องพลาดไม่ได้ และจำเป็นต้องได้รับเพิ่มมากกว่าเดิม คือ แม่ตั้งครรภ์นั้นควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม เมื่อได้รับแคลเซียมเพียงพอ ตัวคุณแม่เองก็จะลดความเสี่ยงเรื่องกระดูกพรุน ลดการเกิดตะคริว

สำหรับทารกน้อยในครรภ์ก็จะได้รับประโยชน์จากแคลเซียม คือ นำแคลเซียมไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต สร้างกระดูก สร้างกล้ามเนื้อ ช่วงเวลาที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้นเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการสูงมาก ทารกจะดูดซึมแคลเซียมผ่านคุณแม่ ดังนั้น คุณแม่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากพอสำหรับตนเองและทารกในครรภ์นะคะ

บทความแนะนำ 10 สุดยอดผลไม้อุดมไปด้วยแคลเซียมที่แม่ท้องต้องกิน

แหล่งอาหารแคลเซียม

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน แหล่งอาหารแคลเซียมที่คุณแม่สามารถนำมารับประทานได้ จะมีอยู่ในนมวัว นมถั่วเหลือง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก ผัก ผลไม้หรือแม้แต่อาหารไทยของเราเอง คุณแม่ควรรับประทานในปริมาณ ดังนี้

ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว แบ่งเป็นนมวัว 1 แก้ว และนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมอีก 1 แก้ว ปลาที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาข้าวสาร ปลาตัวเล็ก กินร่วมกับข้าว ไข่ 1 ฟอง ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักใบเขียว ผลไม้ 2-3 ชนิด หรือคุณแม่จะเลือกรับประทานอาหารไทย ๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่าง ๆ เป็นต้น ก็ได้รับแคลเซียมเหมือนกันค่ะ

บทความแนะนำ 8 อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้องที่ไม่ชอบดื่มนม

พัฒนาการกระดูก ทารกในครรภ์จะก่อรางสร้างตัวได้ดีและแข็งแรง ขึ้นอยู่กับคุณแม่ที่ต้องดูแลรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงกระดูกคุณแม่และเสริมสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.ladyguides.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ครรภ์คุณภาพของแม่ท้อง ต้องดูแลแบบนี้

8 อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้องที่ไม่ชอบดื่มนมTAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว