X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พฤติกรรมผิดๆ ที่พ่อแม่ใช้เลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ

บทความ 3 นาที
พฤติกรรมผิดๆ ที่พ่อแม่ใช้เลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ

ลูกวัยเตาะแตะมีพลังงานล้นเหลือ พร้อมด้วยความกระตือรือร้นที่จะทดสอบขีดจำกัดของตัวเองว่าเขาสามารถทำอะไรได้แค่ไหน ซึ่งถือเป็นความท้าทายของพ่อแม่อย่างมากในการที่จะรับมือและลี้ยงลูกวัย 2-3 ขวบอย่างเหมาะสม มาดูกันว่าอะไรที่พ่อแม่มักทำผิดพลาด และควรแก้ไขอย่างไร

  1. ไม่คงเส้นคงวา

เมื่อรู้ว่าพ่อแม่คาดหวังอะไร ลูกวัยเตาะแตะจะพยายามทำดีที่สุด ไม่ว่าจะตอนอาบน้ำ ตอนเข้านอน หรือเมื่อเขารู้ว่าหากเขาไม่ทำแล้วจะเป็นอย่างไร ยิ่งพ่อแม่มีความคงเส้นคงวามากเท่าไหร่ ลูกก็มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามกฎได้มากขึ้น

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ : ทำทุกอย่างให้เป็นกิจวัตร ด้วยความสม่ำเสมอคงเส้นคงวาเท่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากคุณไม่มั่นใจว่าจะทำอย่างไรเมื่อลูกเทอาหารลงบนพื้นหรือ ไม่ยอมเข้านอน  คุณพ่อและคุณแม่ต้องตกลงกันให้ได้ว่าจะใช้วิธีไหนในการรับมือกับลูก และยึดวิธีการนั้นตลอด ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

 

  1. ให้เวลากับครอบครัวมากเกินไป

เวลาที่ครอบครัวใหญ่อยู่ด้วยกันพร้อมหน้านั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข แต่พ่อแม่บางคนก็ให้เวลากับครอบครัวมากเกินไป

โทมัส ฟีแลน นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เขียนหนังสือ 1-2-3 Magic กล่าวว่า “เด็กหวงแหนเวลาที่อยู่ตามลำพังกับพ่อแม่คนใดคนหนึ่ง เพราะการได้อยู่กับพ่อแม่ตามลำพัง เป็นช่วงเวลาที่ไม่ต้องมีพี่น้องมาแบ่งความรักจากพ่อแม่ไปจากเขา”

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ : ไม่ยากเลยที่คุณจะใช้เวลาตามลำพักกับลูกวัย 2 ขวบ แค่นั่งลงบนพื้นแล้วเล่นด้วยกัน อ่านหนังสือด้วยกันก่อนเข้านอน หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง

Advertisement
  1. ช่วยเหลือลูกมากเกินไป

พ่อแม่บางคนกระโดดเข้าไปช่วยลูกวัยเตาะแตะเวลาที่เขามีปัญหาในการทำบางสิ่งบางอย่าง การที่คุณทำอย่างนั้น รู้ไหมมันคือการส่งสัญญาณบอกว่า ลูกไม่สามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยตัวคนเดียว

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ : ควรสอนให้ลูกอดทนต่อความยากลำบาก แม้จะไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือ แต่ก็ยังสามารถชื่นชม และให้กำลังใจลูกได้ โดยบอกลูกว่า ลูกทำได้แน่นอนจ้ะ!”

ให้เวลากับครอบครัวมาเกินไป

  1. พูดมากเกินไป

การพูดกับลูกบ่อยๆ เป็นความคิดที่ดี แต่ไม่ใช่การพูดซ้ำๆ เพื่อพยายามควบคุมพฤติกรรมเมื่อลูกทำผิด

ลองนึกภาพแม่ที่เพิ่งบอกว่า “ไม่” เมื่อลูกวัย 2 ขวบขอกินขนม แต่ลูกงอแง โวยวาย แม่พยายามอธิบาย แต่ลูกก็ยังหยิบขนมไปกิน  แม่ดึงขนมกลับไปและพยายามอธิบายเหตุผลให้ลูกที่เต็มไปด้วยน้ำตาฟัง โต้กันไปมาอย่างนี้ไม่มีใครยอมใคร

ฟีแลนกล่าวว่า “ลูกวัยเตาะแตะไม่ใช่ผู้ใหญ่ในร่างเด็ก เขายังไม่รู้จักเหตุผล และยังไม่สามารถซึมซับสิ่งที่คุณพยายามบอกเขาได้”

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ: เมื่อคุณบอกให้ลูกทำบางสิ่งบางอย่าง แต่ลูกไม่เชื่อฟัง ให้เตือนด้วยคำพูดสั้นๆ หรือนับ 1-3 หากลูกยังไม่ทำตาม ให้ใช้วิธี Time-out หรืออื่นที่เห็นผลทันที ไม่ต้องพยายามอธิบายให้ยืดยาว

  1. ฝึกนั่งกระโถนเร็วเกินไป

พ่อแม่บางคนพยายามหว่านล้อมลูกขับถ่ายในห้องน้ำเมื่อคิดว่าถึงเวลา และตำหนิลูกอย่างรุนแรงเมื่อลูกไม่ทำตาม

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ: เด็กเรียนรู้ที่จะใช้ห้องน้ำได้เมื่อเขาพร้อม พ่อแม่ไม่ควรเร่งรัดลูก แต่ควรแบ่งกระบวนการออกเป็นขั้นๆ พาลูกไปดูห้องน้ำ อธิบายวิธีการใช้ ให้ลูกช่วยกดชักโครก และชมเชยเมื่อเขาทำสำเร็จ

  1. ให้ลูกอยู่กับหน้าจอนานเกินไป

เด็กที่ดูทีวีเยอะจะมีปัญหาการเรียนรู้ในภายหลัง และการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่สามารถไตร่ตรองสิ่งที่แสดงบนหน้าจอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ได้

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ: ทำให้ลูกยุ่งอยู่กับการอ่านและแสวงหาความรู้ที่สร้างสรรค์อื่นๆ พูดคุยและกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยเช่นเดียวกับการฟัง ยิ่งคุณพาลูกออกจากหน้าจอได้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

ให้ลูกอยู่หน้าจอนานเกินไป

  1. พยายามที่จะหยุดเมื่อลูกอาละวาด

พ่อแม่บางคนกังวลว่า การที่ไม่สามารถควบคุมลูกได้ ทำให้เขาเป็นพ่อแม่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่ในความจริงแล้ว เด็กวัยเตาะแตะทุกคนก็อาละวาดทั้งนั้น เมื่อลูกอาละวาด ไม่มีประโยชน์ที่จะทำให้ลูกหยุด เว้นเสียแต่ว่าเขาจะอาละวาดในที่สาธารณะ

เมื่ออยู่ในที่สาธารณะและพยายามจัดการกับลูก พ่อแม่มักรู้สึกเหมือนกำลังถูกตัดสินจากสายตาของผู้คนที่มองมา เหมือนมีไฟส่องมาที่หัว และบอกว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่ไร้ความสามารถ

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ: พ่อแม่ต้องรู้ว่า ลูกสำคัญกว่า สายตาและความคิดเห็นของคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนแปลกหน้า

การเลี้ยงลูกวัย 2 ขวบนั้นพ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กในวัยเตาะแตะเสียก่อนจึงจะรับมือกับลูกได้อย่างเหมาะสม และไม่ทำพฤติกรรมผิดๆ เหล่านี้ที่อาจเป็นการทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

ที่มา www.webmd.com

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

พัฒนาการลูกวัย 2 ขวบ เด็กวัยเตาะแตะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

อาหาร 6 ชนิดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ

9 สิ่งควรทำ ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กขี้โรค

 

 

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • พฤติกรรมผิดๆ ที่พ่อแม่ใช้เลี้ยงลูกวัย 2 ขวบ
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว