X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า "ผิดปกติ"

บทความ 3 นาที
เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า "ผิดปกติ"

เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า "ผิดปกติ" อย่างก้าวร้าว ชอบขโมยของ ใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธ จะแก้ยังไงดีละเนี่ย

เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า “ผิดปกติ” 

เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า “ผิดปกติ” ทั้งอาการที่พบได้บ่อย และวิธีการต่างๆ ในการจัดการ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ค่ะ

โดยทั่วไปแล้วเด็กๆ ในกลุ่มนี้จะมีเพียงแค่ 6-10% ของเด็กๆ ทั้งหมด ซึ่งเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่แสดงต่อผู้ใหญ่และเด็กคนอื่นๆ เด็กในกลุ่มนี้จะปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมในเด็กๆ และจะพบได้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงค่ะ ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ตลอดจนที่ทำงาน และสังคมอื่นๆ ต่อไปค่ะ

พฤติกรรมผิดปกติ

  1. พฤติกรรมหลอกลวง เด็กที่ชอบโกหกซ้ำๆ พยายามขโมยของจากร้านหรือขโมยของจากผู้อื่น
  2. พฤติกรรมรุนแรง เด็กที่ชอบทำลายสิ่งของโดยเจตนา เช่น ชอบจุดไฟ ทำเฟอร์นิเจอร์เป็นรอย ขว้างปาสิ่งของทำร้ายผู้อื่น
  3. พฤติกรรมฝ่าฝืนกฎ เด็กที่มีพฤติกรรมต่อต้านหรือไม่ทำตามกฎของพ่อแม่หรือโรงเรียน หรือแม้แต่กฎหมาย เช่น แกล้งเพื่อน โดดเรียน เกี่ยวข้องกับเรื่องเซ็กซ์
  4. พฤติกรรมก้าวร้าว เด็กที่มีพฤติกรรมโหดร้ายและลงมือกับสัตว์และเด็กเล็กๆ บังคับให้เพื่อนหรือคนที่เด็กกว่ามีพฤติกรรมทางเพศกับตัวเอง รวมถึงการใช้อาวุธข่มขู่
  5. อารมณ์แปรปรวน เด็กที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ โทษแต่คนอื่น และไม่ทำตามคำขอของคนอื่น

สาเหตุของพฤติกรรมผิดปกติ

สาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมผิดปกติของเด็กๆ แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสิ่งเหล่านี้ได้เช่นกันค่ะ

  1. พันธุกรรม พฤติกรรมผิดปกติมีต้นกำเนิดจากพันธุกรรม เช่น บรรพบุรุษหรือสมาชิกในครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต อารมณ์ บุคลิกภาพ รวมถึงการใช้สารเสพติด
  2. สิ่งแวดล้อม เช่น ครอบครัวมีความผิดปกติ มีประวัติการล่วงละเมิดจากครอบครัวในวัยเด็ก การสอนระเบียบวินัยที่ไม่สอดคล้อง และประสบการณ์ที่เจ็บปวด
  3. ปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคม อย่างการรับรู้ทางศีลธรรม เช่น ขาดความรู้สึกและสำนึกผิด มีปัญหาในการประมวลผลทางความคิด ไม่ได้การยอมรับจากเพื่อนๆ
  4. ปัจจัยทางกายภาพ เช่น เกิดอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บทางสมอง อาจทำให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมได้ หรือขาดสารเคมีในสมอง เช่น สารสื่อประสาท

เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า ผิดปกติ

เด็กๆ และวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมผิดปกติเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบอื่นๆ ด้วย เช่น มีความผิดปกติทางอารมณ์ โรคจิตเภท มีปัญหาความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ผิดปกติในการเรียนรู้ (LD) สมาธิสั้น ไฮเปอร์ และปัญหาการใช้สารเสพติด

การจัดการแก้ไข

โดยปกติหากคุณพ่อคุณแม่ยื่นมือเข้ามาช่วยลูก จะเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด สำหรับเด็กๆ ที่มีพฤติกรรมนี้ในระดับปานกลางค่ะ แต่หากลูกมีพฤติกรรมที่รุนแรงมาก การรักษาทางการแพทย์ก็จะช่วยได้มากขึ้น เพื่อให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้

  1. ให้เวลาและความสนใจ บ่อยครั้งที่เด็กๆ มีพฤติกรรมผิดปกติ เพียงเพราะคุณพ่อคุณแม่ยุ่งเกินไปและไม่สนใจลูก พฤติกรรมผิดปกติที่ลูกแสดงออกมาจึงเป็นการเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่
  2. ส่งเสริมนิสัยที่ีดี ผ่านการชื่นชม การเล่านิทาน การยกตัวอย่าง และโดยการทำตัวอย่างดีๆ ให้ลูกเห็นค่ะ
  3. อ่อนโยนต่อลูก ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษ การเล่นสนุก หากใช้ความรุนแรงในการลงโทษหรือเล่นสนุก สิ่งที่ลูกจะซึมซับก็คือความรุนแรง
  4. เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กๆ จะเรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เมื่อใดที่พฤติกรรมของคุณเองมีทั้งความก้าวร้าวและรุนแรง อย่าหวังว่าจะทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
  5. ช่วยลูกตั้งเป้า การมีเป้าหมายที่ดีและสร้างสรรค์ จะเป็นการผลักดันพลังงานของลูกไปในด้านบวก และเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์มากขึ้นนั่นเอง
  6. สื่อสารกับลูก แม้ลูกจะยังเป็นเด็ก แต่ลูกมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและไม่เห็นด้วยกันพ่อแม่ การปล่อยให้ลูกพูดหรือแสดงออกนั้นช่วยได้มากนะคะ
  7. การรักษาต่างกัน เพราะเด็กๆ ทุกคนนั้นมีความแตกต่าง ดังนั้นความต้องการจึงแตกต่างไปด้วย ไม่มียารักษาโรคที่ใดที่แก้ได้ทุกอย่างหรือแนวทางเดียวที่ใช้ได้ผลกับเด็กๆ ทุกคน
  8. การบำบัด ด้วยจิตบำบัดและความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Psychotherapy and cognitive behavioural therapy) อาจช่วยให้ลูกแสดงออกได้มากขึ้น และควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น และช่วยให้วิเคราะห์อาการของเด็กๆ ได้ลึกมากขึ้น
  9. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูก จะช่วยให้เด็กๆ แสดงความเห็นได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุณพ่อคุณแม่เข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการจัดการกับปัญหาได้ดีขึ้นด้วยค่ะ
  10. รับมือด้วยรอยยิ้ม แม้ว่าพฤติกรรมของลูกจะผิดปกติ แต่ตราบใดที่ลูกรู้ว่า คุณจะอยู่เคียงข้างเขาและรักเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข ลูกจะดีขึ้นค่ะ

ที่มา Momjunction

บทความที่น่าสนใจ

รักษาด่วน!!!ลูกเป็นเด็ก LD (โรคบกพร่องทางการเรียนรู้) หายได้

รักลูกให้ตี รู้ไหมว่าการโดนตีตอนเด็กๆ ส่งผลต่อบุคลิกภาพตอนโตยังไงบ้าง

parenttown

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เมื่อลูกมี พฤติกรรมผิดปกติ คู่มือจัดการพฤติกรรมของลูก แบบไหนที่เรียกว่า "ผิดปกติ"
แชร์ :
  • โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก 3 โรคพฤติกรรมเด็ก วิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่

    โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก 3 โรคพฤติกรรมเด็ก วิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่

  • พฤติกรรมผู้หญิง 5 จอมที่เสี่ยงถูกเมิน!

    พฤติกรรมผู้หญิง 5 จอมที่เสี่ยงถูกเมิน!

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก 3 โรคพฤติกรรมเด็ก วิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่

    โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก 3 โรคพฤติกรรมเด็ก วิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่

  • พฤติกรรมผู้หญิง 5 จอมที่เสี่ยงถูกเมิน!

    พฤติกรรมผู้หญิง 5 จอมที่เสี่ยงถูกเมิน!

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ