X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ป้าโพสต์เตือน แม่ท้องอย่าขาดกรดโฟลิค

บทความ 3 นาที
ป้าโพสต์เตือน แม่ท้องอย่าขาดกรดโฟลิค

เมื่อหลานของคุณป้าอยู่ในภาวะทารกไม่มีกะโหลกศรีษะ ป้าจึงออกเตือนแม่ท้อง ให้เห็นถึงความสำคัญของกรดโฟลิค

คุณป้าท่านนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกของเพจดังอย่าง เพจคนท้องคุยกัน และกำลังตั้งครรภ์อายุ 38 สัปดาห์ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นกับลูกของน้องสาวที่ต้องคลอดก่อนกำหนด ซ้ำหนักยังอยู่ในภาวะของทารกไม่มีกะโหลก

แม่ท้อง กรดโฟลิค

จากการสอบถามกับคุณป้าท่านนี้ เล่าว่า น้องสาวเคยเลือดออกตอนตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน แต่หมอก็ไม่ได้ทำอะไรนอกเสียไปจากการฉีดยาและให้กลับบ้าน พอเข้าเดือนที่ 8 คุณแม่ก็ปวดท้องอย่างหนัก จึงรีบมาโรงพยาบาล แต่กลายเป็นว่า ทารกคลอดในรถระหว่างทางมาโรงพยาบาล ด้วยน้ำหนักตัว 1,390 กรัม

แต่น้องกลับคลอดมาโดยปราศจากกะโหลกศีรษะ จึงได้พูดคุยกับคุณหมอ ๆ บอกว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้นั้นเป็นเพราะตอนที่คุณแม่ท้องนั้นขาดกรดโฟลิค หรืออาจจะรับประทานกรดโฟลิคไม่เพียงพอ ทำให้ทารกที่เกิดมาถึงมีสภาพเช่นนี้ คุณป้ายังเล่าให้ฟังอีกว่า “แม้แต่น้องสาวก็ยังไม่รู้มาก่อนเลยว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์นั้นมีภาวะเช่นนี้ เพราะทุกครั้งที่ทำอัลตราซาวด์ คุณหมอก็บอกคำเดียวว่า ทารกในครรภ์ปกติแข็งแรงสมบูรณ์ดีทุกครั้ง ซึ่งหลังคลอดคุณหมอก็บอกว่า หลานอาจจะมีชีวิตอยู่ได้มากสุดเพียงแค่สองปี ซึ่งตอนนี้ก็ต้องเฝ้าดูอาการของหลานแบบวันต่อวันไป”

คุณป้าไม่อยากให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นกับครอบครัวไหนอีกจึงอยากฝากถึงแม่ท้องทุก ๆ คนว่า “ควรเห็นถึงความสำคัญของกรดโฟลิคให้มาก ซึ่งกรดโฟลิคนั้น ไม่จำเป็นที่คุณแม่ท้องจะทานแต่ยาที่คุณหมอให้มาแต่เพียงอย่างเดียว เพราะกรดโฟลิคเป็นกรดหนึ่งที่ได้มากจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อีกด้วย”

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคนขอขอบคุณคุณป้าสำหรับเรื่องราวที่นำมาแชร์เพื่อเป็นอุทาหรณ์กับคุณแม่ท้องท่านอื่น และทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้องจะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ และมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นในเร็ววันนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

และเพื่อเป็นประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับแม่ท้องทุกท่าน สามารถคลิกอ่านแหล่งอาหารของกรดโฟลิคได้ที่หน้าถัดไป
แนะนำแหล่งอาหารใกล้ตัวหาทานได้ง่ายมาก ที่อุดมไปด้วยโฟลิก ที่ผู้หญิงก่อนตั้งครรภ์ควรทาน และคุณแม่ท้องยิ่งต้องทานค่ะ

แม่ท้อง กรดโฟลิค

  1. นมสำหรับแม่ 1 แก้ว มีปริมาณโฟลิก = 300  ไมโครกรัม
  2. ถั่วเลนทิลต้ม ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 180  ไมโครกรัม
  3. กระเจี๊ยบมอญต้ม ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 134 ไมโครกรัม
  4. หน่อไม้ฝรั่งสุก 6 หน่อ มีปริมาณโฟลิก = 132  ไมโครกรัม
  5. ผักปวยเล้งสุก ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 130  ไมโครกรัม
  6. ถั่วแดง ½ มีปริมาณโฟลิก = 114 ไมโครกรัม
  7. อะโวคาโดสดขนาดกลาง ½ ผล มีปริมาณโฟลิก = 80 ไมโครกรัม
  8. น้ำส้มคั้นสด 1 แก้ว มีปริมาณโฟลิก = 80  ไมโครกรัม
  9. ข้าวโพดนึ่งฝักใหญ่ 1 ฝัก มีปริมาณโฟลิก = 55  ไมโครกรัม
  10. บร็อกโคลี่สุก ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 52  ไมโครกรัม

กรดโฟลิกสำคัญอย่างไรกับร่างกายก่อนท้อง

เป็นที่รู้กันว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ที่แต่งงานและพร้อมจะมีลูก บางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังท้อง จะมารู้ตัวอีกทีก็อายุครรภ์ได้ 8สัปดาห์ไปแล้ว ซึ่งในระหว่างนี้พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่องภายหลังการปฏิสนธิ โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการปฏิสนธิ  ในผู้หญิงบางรายที่ไม่ได้มีการเตรียมร่างกายก่อนตั้งครรภ์ด้วยการทานโฟลิก หากมาเริ่มทานกันในช่วงตั้งครรภ์ได้หลัง 1 เดือนไปอาจเป็นการเริ่มที่ช้าไปสักนิด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพของทารกได้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบ ประสาท

ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่กำลังเตรียมพร้อมที่จะมีลูก ควรต้องทานกรดโฟลิกรอไว้เลยนะคะ เพราะกรดโฟลิกสำคัญต่อการพัฒนาของดีเอ็นเอที่ใช้ในการประกอบข้อมูลทางพันธุ กรรมที่ควบคุมการพัฒนาและการทำงานของทุกเซลล์ในร่างกาย เมื่อเซลล์ต่างๆ ของคุณแข็งแรงย่อมส่งผลให้สุขภาพของทารกขณะที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาพที่ดีไปด้วย

ที่มา: เพจคนท้องคุยกัน

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

จริงหรือไม่? กินทุเรียนช่วยให้มีลูกง่าย

รู้จักภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ และการป้องกันในแม่ท้อง

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ป้าโพสต์เตือน แม่ท้องอย่าขาดกรดโฟลิค
แชร์ :
  • รู้จักภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ และการป้องกันในแม่ท้อง

    รู้จักภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ และการป้องกันในแม่ท้อง

  • แม่ท้องอย่าประมาท! ถึงกำหนดคลอดลูกเมื่อไหร่ ให้รีบหาหมอทันที!

    แม่ท้องอย่าประมาท! ถึงกำหนดคลอดลูกเมื่อไหร่ ให้รีบหาหมอทันที!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • รู้จักภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ และการป้องกันในแม่ท้อง

    รู้จักภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ และการป้องกันในแม่ท้อง

  • แม่ท้องอย่าประมาท! ถึงกำหนดคลอดลูกเมื่อไหร่ ให้รีบหาหมอทันที!

    แม่ท้องอย่าประมาท! ถึงกำหนดคลอดลูกเมื่อไหร่ ให้รีบหาหมอทันที!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว