X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก อันตรายไหม?

บทความ 3 นาที
ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก อันตรายไหม?

ลูกน้อยของคุณเกิดมาพร้อมกับปานสีเขียวบนร่างกายหรือเปล่าครับ มาทำความรู้จักกับ ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนกันครับ

ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก

ส่วนใหญ่แล้วเด็กเกิดใหม่มักจะเกิดมาพร้อมกับปานแต่กำเนิดชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล เพราะปานบางชนิดก็ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก แต่ปานบางชนิดก็อาจจะต้องเฝ้าระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับปานชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนกันครับ

ปานมองโกเลียน หรือปานเขียวคืออะไร

ปานมองโกเลียน หรือปานเขียวนั้น เป็นปานแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือ ฟ้าเข้ม ปรากฎได้บ่อยที่บริเวณก้น สะโพก และอาจปรากฎได้ตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา หรือลำตัว โดยอาจมีขนาดใหญ่หรืออาจจะมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่เซนติเมตร ซึ่งปานเขียวนี้อาจปรากฎมาตั้งแต่เด็กแรกเกิด หรืออาจจะปรากฎขึ้นหลังจากที่เด็กคลอดได้ไม่นานก็ได้

ปานแต่กำเนิดชนิดนี้พบได้บ่อย โดยมีอัตราส่วนมากถึง 3 ใน 4 ของเด็กชาวเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา แต่มักจะไม่ค่อยปรากฎในเด็กชาวยุโรป

ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นพบได้ทั้งในทารกเพศชายและเพศหญิง แต่ทารกเพศชายนั้นจะมีโอกาสในการเกิดปานเขียวมากกว่าในทารกเพศหญิง อย่างไรก็ตามเหตุผลของการเกิดปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นยังเป็นที่ปรากฎแน่ชัดนัด

ปานเขียว

อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดปานเขียว หรือปานมองโกเลียน

Advertisement

ตามข้อมูลจาก medical expert มีรายงานว่า “เซลล์ในร่างกายที่มีชื่อว่า dermal melanocyte จะเคลื่อนไปยังผิวหนังชั้นแรกระหว่างสัปดาห์ที่ 11 – 14 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งปกติแล้วเซลล์ผิวหนังนี้จะหายไปเมื่อถึงประมาณสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์โดยคุณหมอเชื่อว่า ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการที่เซลล์ตัวนี้ไม่เคลื่อนตัวไปยังผิวหนังชั้นบนและยังคงปรากฎอยู่นั่นเอง และจากการที่เซลล์ตัวนี้อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนัง จึงทำให้ผิวบริเวณนั้นมีสีเขียว หรือสีฟ้าเทา“

ความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก

ที่ประเทศเกาหลีนั้นมีความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณว่า ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นเกิดมาจากการที่หมอผีตีก้นเด็กในท้องเพื่อให้เด็กออกมาจากท้องแม่

ในขณะที่ประเทศจีนมีความเชื่อว่าปานที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการที่พระเจ้าให้พรเด็กโดยการตี สำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่

ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่าปานเขียวนั้นเกิดจากการที่พ่อและแม่ของเด็กนั้น มีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามความเชื่อดังกล่างก็เป็นเพียงแค่เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณเท่านั้น

ปานเขียว

ปานเขียวหรือปานมองโกเลียน อันตรายไหม?

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะตกใจเมื่อได้เห็นปานเขียว หรือปานมองโกเลียนเกิดขึ้นบนตัวลูกเป็นครั้งแรก และอาจจะคิดว่าเป็นรอยฟกช้ำและกลัวว่าลูกน้อยจะเป็นอันตรายแต่จริง ๆ แล้วปานชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือสุขภาพของลูกน้อยแต่อย่างใด

โดยปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อลูกน้อยโตขึ้น และจะหายไปเองเมื่ออายุราว ๆ 5 ขวบ เด็กบางคนก็จางเร็ว บางคนก็จางช้า คุณพ่อคุณแม่ไม้ต้องเป็นกังวลไปนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลา ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นก็จะจางหายไปเอง

อย่างไรก็ตาม ปานมองโกเลียน หรือปานเขียวนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ เช่นโรคเอ็มพีเอสได้ แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดน้อยมาก หรือในอัตราส่วนที่น้อยกว่า 1 ใน 100,000 ของเด็กเกิดใหม่

โดยหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าปานของลูกน้อยมีการเปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนรูปร่าง ก็ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงทีนะครับ


ที่มา theindusparent

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

วิธีป้องกันหน้าอกหย่อนคล้อย หลังลูกน้อยหย่านม

ฟันและเหงือกแข็งแรงทั้งแม่และลูก ด้วยอาหารบ้านๆ 5 อย่าง

ทำอย่างไรไม่ให้ลูกน้อยหัวแบน เรามีวิธีง่ายๆมาบอก

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปานเขียวในทารก ได้ที่นี่!

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ปานเขียว ปานมองโกเลียนในทารก แบบนี้อันครายไหมคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก อันตรายไหม?
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว