X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปัญหายอดฮิตของแม่ให้นม ที่ไม่จำเป็นต้องหย่านม

บทความ 3 นาที
ปัญหายอดฮิตของแม่ให้นม ที่ไม่จำเป็นต้องหย่านม

คุณแม่ต่างทราบดีว่า สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (AAP) แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึง 6 เดือน ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่ก็มีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด แต่น่าเสียดายที่คุณแม่จำนวนไม่น้อยต้องตัดสินใจให้ลูกหย่านมก่อน 6 เดือนด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป เราจึงได้รวบรวมปัญหายอดฮิตของแม่ให้นม พร้อมคำแนะนำที่จะช่วยให้ไม่ต้องหย่านม มาฝากคุณแม่ค่ะ

  1. ไม่มีเวลาปั๊มนมเมื่อกลับไปทำงาน

การกลับไปทำงานหลังลาคลอด เป็นหนึ่งในปัญหายอดฮิตของแม่ให้นมที่ทำให้คุณแม่หันมาใช้นมผสมหรือหย่านมแม่โดยสิ้นเชิง จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า คุณแม่ที่ลาคลอดน้อยกว่าหกสัปดาห์ มีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้กลับไปทำงานถึง 4 เท่า ในขณะที่คุณแม่ที่ลาคลอด 3 เดือนมีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าแม่ที่ไม่ได้กลับไปทำงาน 2 เท่า

ทำแบบนี้สิ

  • คุณแม่ควรเลือกเครื่องปั๊มนมที่ช่วยให้คุณแม่ปั๊มนมได้อย่างรวดเร็ว อาทิ เลือกใช้เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้าแทนการปั๊มมือ เลือกแบบที่สามารถปั๊มได้สองข้างพร้อมกัน เพื่อประหยัดเวลาในการปั๊มนม รวมถึงเลือกรุ่นที่มีออพชั่น Hand-Free เพื่อที่คุณแม่จะได้ปั๊มนมไปด้วยทำงานไปด้วยโดยไม่ต้องจับขวดนม และที่สำคัญเลือกรุ่นที่เสียงไม่ดังรบกวนเพื่อนร่วมงาน หากต้องปั๊มนมที่โต๊ะทำงานค่ะ
  • ฝึกปั๊มนมก่อนกลับไปทำงาน ในช่วงลาคลอดคุณแม่ควรหาเวลาที่ลูกหลับปั๊มนมเก็บเป็นสต็อก การปั๊มนมบ่อยๆ ยังช่วยกระตุ้นน้ำนมให้เยอะขึ้นด้วย หากนมแม่มาเยอะ เมื่อคุณแม่กลับไปทำงาน คุณแม่จะใช้เวลาในการปั๊มไม่นานก็ได้น้ำนมเพียงพอเก็บไว้ให้ลูกน้อยแล้ว
  • หากอุปสรรคในการปั๊มนมในที่ทำงานทำให้คุณแม่เครียดมากเกินไป ก็ควรปล่อยวางค่ะคุณแม่ยังสามารถปั๊มนมให้ลูกน้อยได้ในเวลากลางคืน และให้นมจากเต้าในตอนเช้าก่อนไปทำงาน และหลังกลับจากทำงานค่ะ คุณแม่อาจมีนมสต็อกไม่พอที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน ก็ไม่ต้องรู้สึกผิดค่ะ อย่างน้อยเจ้าตัวน้อยก็ยังได้ทานนมแม่ค่ะ
  1. รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องยาก

คุณแม่มือใหม่อาจรู้สึกว่าการที่ต้องให้นมลูกทุกๆ 2-3 ชั่วโมงนั้น ทำให้คุณแม่ไม่ได้พักผ่อน ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือแม้แต่เวลาให้ตัวเองยังไม่มี ทั้งยังมีความท้าทายมากมายที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น ลูกร้องหาเต้าตลอดเวลา หรือคุณแม่บางรายลูกไม่ยอมดูดเต้า ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าการให้นมลูกนั้นเป็นเรื่องยาก เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้คุณแม่รู้สึกถอดใจกับความพยายามที่อยากจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ทำแบบนี้สิ

Advertisement
  • อย่าเพิ่งถอดใจในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นทักษะที่จะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อย เมื่อให้นมลูกไปเรื่อยๆ ก็จะเริ่มจับจุดได้ รู้ใจกันมากขึ้นทั้งคุณแม่และคุณลูกค่ะ สักประมาณสัปดาห์ที่ 3-5 ก็จะเริ่มเข้าที่เข้าทางเองค่ะ
  • หากพยายามแล้ว ก็ยังรู้สึกว่ามีปัญหาในการให้นมจากเต้า ควรรีบหาตัวช่วยโดยไม่รอช้าค่ะ ปรึกษาคลินิกนมแม่ใกล้บ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่จะช่วยให้คำแนะนำแก่คุณแม่ เพิ่มความมั่นใจและความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับคุณ

อ่าน ปัญหายอดฮิตของแม่ให้นม และคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกหน้าถัดไป

  1. เจ็บหัวนมจนสุดจะทน

ปัญหายอดฮิตของแม่ให้นมอีกข้อหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ยุติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือปัญหาเกี่ยวกับหัวนม เช่น หัวนมแตก มีเลือดออก ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากท่าให้นมไม่เหมาะสม หรือการดูดนมผิดวิธี

บทความแนะนำ แม่สอนลูก!!!ต้องงับหัวนมแบบนี้ถูกวิธีนะคะ

ทำแบบนี้สิ

  • มีหลายสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เจ็บเต้านม แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการดูดที่ผิดวิธี ผู้เชี่ยวชาญจะสอนให้คุณแม่ให้นมในท่าที่สบายที่สุด และลูกสามารถดูดนมได้ดีที่สุด การดูดที่ถูกต้องลูกควรจะอมหัวนมลึกถึงลานนม และคุณแม่ไม่ควรรู้สึกเจ็บเมื่อลูกดูดนม ปัญหานี้หากได้รับการแก้ไขแต่เนิ่นๆ คุณแม่ส่วนใหญ่จะสามารถให้นมต่อได้ โดยไม่ต้องหย่านม
  • ทราบไหมว่า นมแม่ที่แท้คือยาวิเศษ แก้ปัญหาหัวนมแตกได้โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ เพียงคุณบีบน้ำนมออกมาป้ายที่หัวนมทิ้งไว้ อาการหัวนมแตกก็จะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ
  • หากคุณแม่เจ็บมากจนทนไม่ไหว แนะนำให้พักเต้าเปลี่ยนมาเป็นปั๊มนมออกแทน เมื่อหายเจ็บแล้ว ค่อยกลับมาให้นมจากเต้าเหมือนเดิมค่ะ
  1. น้ำนมน้อยไม่พอให้ลูกกิน

เหตุผลอันดับหนึ่งที่ทำให้คุณแม่หยุดให้นมลูก หรือเริ่มอาหารเสริมก่อน 6 เดือนก็คือเรื่องนมแม่ไม่พอนี่เอง แต่ทราบไหมว่า คุณแม่ที่นมแม่ไม่พอจริงๆ มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่คุณแม่ที่ให้ลูกหย่านม หรือเริ่มอาหารเสริมเร็วนั้นเป็นเพราะคิดเอาเองว่าน้ำนมไม่พอ

บทความแนะนำ ทำจี๊ด!!ช่วยแม่กระตุ้นน้ำนมไหลมาเทมา

ทำแบบนี้สิ

  • ให้ลูกดูดเต้าบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม ร่วมกับการรับประทานสมุนไพรเพิ่มน้ำนม เช่น ขิง กะเพราะ ใบแมงลัก มะละกอ ฟักทอง อินทผลัม เป็นต้น
  • อย่าเทียบปริมาณนมที่ลูกดูดกับปริมาณนมที่ได้จากการปั๊ม เพราะเครื่องปั๊มกระตุ้นได้ไม่ดีเท่าการดูดของเด็ก การปั๊มนมใส่ขวดแทนการดูดเต้า ยังทำให้ลูกไม่มีโอกาสดูดกระตุ้นที่เต้านม ทำให้การสร้างน้ำนมของแม่ลดลงอีกด้วย
  • การให้นมจากเต้าทำให้คุณแม่ไม่ทราบปริมาณนมที่ลูกดูดเข้าไป แต่คุณแม่มั่นใจได้ว่าน้ำนมเพียงพอแน่นอน ถ้าเจ้าตัวน้อยอึมากกว่า 2 ครั้ง และฉี่มากกว่า 6 ครั้งต่อวัน

แม้นมแม่จะมีคุณค่ามากมายมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่คำตอบเดียว หากคุณแม่พยายามทุกวิถีทางแล้ว ก็ยังไม่สำเร็จ ไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมผสม และคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดค่ะ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ที่มา www.fitpregnancy.com

บทความที่น่าสนใจอื่่นๆ

ทำไมต้องให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

แม่รู้ไหม??ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ปัญหายอดฮิตของแม่ให้นม ที่ไม่จำเป็นต้องหย่านม
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว