X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปัญหาทำนมสต๊อก เท่าไหร่ถึงจะพอ

บทความ 3 นาที
ปัญหาทำนมสต๊อก เท่าไหร่ถึงจะพอ

ปัญหากลัวน้ำนมไม่พอสำหรับลูก กลายเป็นเรื่องกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะคุณแม่นักปั๊มที่ต้องทำสต๊อกไว้เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ ตอนที่จะต้องกลับไปทำงาน ทำอย่างไรถึงจะมีนมสต๊อกพอ?

เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนอยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน ๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพต่อลูกน้อย แต่สำหรับช่วงเวลาสามเดือนที่คุณแม่ลางานมีโอกาสอยู่บ้านเลี้ยงลูกนั้น ต่อให้คุณแม่เร่งปั๊มทำนมสต๊อกก็อาจไม่เพียงพอสำหรับลูก แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อคุณแม่กลับไปทำงานแล้ว มีสต๊อก 10-20 ออนซ์ทิ้งไว้ก่อนไปทำงาน และหาเวลาปั๊มนมให้ได้วัน 2-3 ครั้ง เท่ากับจำนวนออนซ์หรือมื้อที่ลูกกิน เช่น ลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 ออนซ์ แม่ก็ปั๊มให้ครบ 3 มื้อให้ได้ 12 ออนซ์สำหรับในวันถัดไป ถ้าทำแบบนี้ได้คุณแม่ก็สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานแค่ไหนก็ได้

นมสต๊อก เท่าไหร่ถึงจะพอ

ปัญหานมสต๊อกขาดเมื่อคุณแม่กลับไปทำงานอาจเกิดขึ้นจาก

  • ไม่ได้ปั๊มนมเท่ากับจำนวนมื้อที่ลูกกิน แม่บางคนกลับไปทำงานใหม่ ๆ อาจปั๊มนมแค่วันละครั้ง ถึงแม้จะได้ในจำนวนที่มากในช่วงแรก แต่พอไม่กี่วันน้ำนมก็จะลดน้อยลงจนน่าตกใจ เพราะการปั๊มนมเพียงแค่วันละครั้งไปเรื่อย ๆ จากที่เคยให้ลูกดูดตอนอยู่บ้านวันละ 3-4 ครั้ง ไม่นานน้ำนมก็จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่พอในที่สุด เพราะร่างกายจะตอบสนองกับความต้องการที่ลดลงนี้โดยอัตโนมัติ
  • การใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่ดีพอหรือยังบีบไม่เป็น ทำให้ไม่สามารถปั๊มนมออกมาได้เท่ากับที่ลูกเคยดูดในแต่ละมื้อ การจะรู้ว่าลูกต้องการนมเท่าไหร่สังเกตจากการให้ลูกได้กินนมที่ปั๊ม ถ้าลูกกิน 3 มื้อรวม 12ออนซ์แล้วอิ่ม คุณแม่ก็ควรปั๊ม 3 ครั้ง รวมแล้วให้ได้ 12 ออนซ์หรือมากกว่า ก็แสดงว่าเครื่องปั๊มนมนั้นมีคุณภาพหรือคุณแม่บีบนมได้คล่องและชำนาญ

นมสต๊อก เท่าไหร่ถึงจะพอ

Advertisement

เคล็ดลับทำให้นมสต๊อกเพียงพอ

สำหรับคุณแม่ที่ไม่สะดวกดปั๊มนมในที่ทำงานได้วัน 3-4 ครั้ง ก็ควรทำให้ได้อย่างน้อยสุดวันละ 2 ครั้ง เช่น เวลา 12.00 น. กับ 15.00 น. และมาปั๊มชดเชยตอนเที่ยงคืนและตีห้าเพิ่ม ในมื้อที่ชดเชยก็พยายามให้ลูกกินนมข้างเดียว ส่วนอีกข้างเก็บไว้ปั๊มนะคะ ทำแบบนี้เรื่อย ๆ ประมาณอาทิตย์ร่างกายก็จะรับรู้ว่ามีความต้องการน้ำนมในเวลานั้น ๆ มากกว่าเวลากลางวัน และจะปรับกระบวนการผลิตน้ำนมให้เองโดยธรรมชาติ

เป็นเรื่องปกติถ้าในบางวันคุณแม่จะเจอปัญหาน้ำนมน้อย หรือบางวันดีใจเพราะมีน้ำนมมาก สลับกันไป ทั้งนี้การผลิตน้ำนมสในร่างกายส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของคุณแม่ การใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน การได้พักผ่อน นอนเยอะ วันไหนเครียด อารมณ์ไม่ดี พักผ่อนน้อย ก็ส่งผลต่อการปริมาณน้ำนมของคุณแม่ได้ ดังนั้นคุณแม่คุณแม่ควรดูแลตัวเองให้ดีสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อปริมาณน้ำนมจะได้ผลิตออกมาอย่างเพียงพอต่อเบบี๋นะคะ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ที่มา : www.breastfeedingthai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สูตรเด็ดเพิ่มน้ำนมแม่ทำได้ไม่ยาก
เก็บรักษานมแม่อย่างไรไม่ให้เหม็นหืน

8.TAP_th-ios-Footer670x196

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ปัญหาทำนมสต๊อก เท่าไหร่ถึงจะพอ
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว