ผู้หญิงอย่างเรา ๆ จะหายหน้าหายตาจากความสวยงามไปได้นานสักเท่าไหร่ แม้ช่วงท้อง จะต้องดูแลตัวเอง และลูกในท้องอย่างมาก หรือแม้แต่หลังคลอด ก็ยังต้องเผชิญกับภาวะหลังคลอดของแม่ลูกอ่อน ประกอบการต้องดูแลเจ้าตัวน้อย แถมยังต้องให้นมลูกอีก แต่ก็นะ คุณแม่ก็เป็นผู้หญิงนะคะ ก็อยากจะกลับมาแต่งสวยบ้าง อะไรบ้าง อยากทำสีผม ให้หน้าดูบลิ๊งค์ ๆ อยากทาเล็บเจล อย่างต่อเล็บสวย ๆ อยากฉีดกรอบหน้า อยากกลับไปผอม สารพัดสารเพ หลายกิจกรรมเหลือเกินที่แม่ให้นม อยากกลับไปทำอะไร ๆ เหมือนก่อนตั้งครรภ์ ช่วงให้นมลูกเสริมสวยอะไรได้บ้าง สิ่งเหล่านี้ทำได้หรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ
การย้อมสีผมนั้นอาจมีสารเคมีดูดซึมผ่านผิวหนัง เข้าไปในกระแสเลือด และผ่านน้ำนมได้แต่ก็มีปริมาณที่เล็กน้อย แม่ลูกอ่อนสามารถที่จะย้อมสีผมระหว่างให้นมลูกได้ แต่ควรระมัดระวังระเหยที่เป็นตัวทำละลายสีที่ได้สูดดมสารเข้าไปในขณะที่หมักหรือย้อมสีผมเป็นเวลานานจนทำให้เกิดอันตรายต่อตัวแม่เอง ดังนั้นระหว่างทำควรนั่งในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกนะคะ
-
ทาครีมบำรุงผิวหรือใช้เครื่องสำอางได้ไหม
สามารถใช้ได้คะ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการทาบริเวณหน้าอก หรือส่วนที่ลูกน้อยจะสัมผัสได้โดยตรง เพราะคุณแม่ไม่แพ้แต่ลูกอาจแพ้ได้
แม่ลูกอ่อนสามารถทาเล็บในช่วงให้นมลูกอยู่ได้นะคะ ถึงแม้ว่าในยาทาเล็บจะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ในปริมาณที่น้อย แต่ก็ควรระวังการสูดดมสารระเหยในยาทาเล็บ ซึ่งควรทำในบริเวณที่มีอาการถ่ายเท หรือคุณแม่ลูกอ่อนที่มีอาชีพเป็นช่างทำเล็บ ทำงานอยู่ในร้านเสริมสวยเป็นเวลานาน ก็ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัยการสูดดม หรือจัดสถานที่ร้านให้มีอากาศถ่ายเท
ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง และยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สามารถยืนยันได้ถึงความปลอดภัยในการฉีดโบท็อกซ์ระหว่างให้นมลูก ซึ่งสารโบท็อกซ์เป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่จะอยู่ในกล้ามเนื้อที่ฉีดเข้าไปไม่ควรจะผ่านไปที่น้ำนม อย่างไรก็ตาม หลังจากการฉีดโบท็อกซ์ควรเว้นการให้นมลูกประมาณ 4-6 ชั่วโมง และสำหรับคุณแม่ที่มีประวัติแพ้สารโบทูลินัมอยู่ หรือเคยมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก่อน ก็ไม่ควรฉีดโบท็อกซ์นะคะเพราะอาจเกิดอันตรายได้ ลองมาพิจารณาผลที่จากการฉีดโบท็อกซ์กันค่ะ
- ในการฉีดโบท็อกซ์แต่ละครั้งนั้นร่างกายจะได้รับสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด เอ (botulinum toxin type A) แต่ก็เป็นปริมาณที่น้อย
- สารที่ถูกฉีดจะตรงไปยังกล้ามเนื้อ และยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าสารที่ถูกฉีดนั้นจะไหลวนเวียนในร่างกายหรือผ่านไปกับน้ำนมของคุณแม่
- การฉีดโบท็อกซ์นั้นเป็นไปได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายโดยตรงต่อลูกน้อย แต่ยังไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มายืนยันถึงเรื่องดังกล่าว
- แม้ว่าการฉีดโบท็อกซ์นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลกับลูกผ่านทางการให้นม แต่คุณแม่ควรให้นมลูกก่อนที่จะทำการฉีดโบท็อกซ์และควรเว้นการให้นม 4 – 6 ชั่วโมง หลังจากการฉีดโบท็อกซ์
- การฉีดโบท็อกซ์นั้นควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และหากคุณยังอยู่ในช่วงที่ต้องให้นมลูกคุณควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทำการฉีดโบท็อกซ์
-
ลดน้ำหนักในช่วงให้นมลูกเป็นไรไหม
ในช่วงให้นมลูกอยู่นั้น คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะมีส่วนช่วยเรื่องการเผาผลาญน้ำหนักตัวอยู่แล้ว ดังนั้นการที่คุณแม่เลือกกินอาหารตามโภชนาการที่ดีในปริมาณที่พอเหมาะ และมีการออกกำลังกาย ก็จะช่วยทำให้น้ำหนักคุณแม่คืนตัวกลับมาเหมือนช่วงแรก ๆ ได้ดี และไม่แนะนำการกินยาเพื่อลดน้ำหนักในช่วงที่ให้นมลูกนะคะ การลดน้ำหนักในขณะที่ให้นมลูก อาจจะส่งผลที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นักต่อสุขภาพของคุณแม่ คุณภาพของน้ำนม และการที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วเกินไป อาจจะส่งผลต่อท้องถัดไปด้วยค่ะ
อันที่จริงแล้วคุณหมอแผนกสูตินารีเวชได้มีคำแนะนำว่า แม่ท้องควรมีน้ำหนักหลังคลอดมากกว่าน้ำหนักก่อนตั้งท้อง ประมาณ +5 กิโลกรัม เช่น หากคุณแม่มีน้ำหนักก่อนท้อง 48 กก. หลังคลอดควรจะหนักประมาณ 53 กก. หรือถ้ามากกว่านั้น ก็ยังคงไม่ต้องกังวลกับน้ำหนักตัวที่ยังไม่ลดลงหลังคลอด
นอกจากนี้ ตอนที่คุณแม่ตั้งท้อง ผิวหนังของคุณแม่ถูกยืดขยายออกไปแล้ว ถ้าหากเร่งลดน้ำหนักหลังคลอด อาจจะทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น รวมถึงหน้าอก หน้าใจหย่อนยานได้นะคะ
Read : เหตุผลที่แม่ลูกอ่อนไม่ควรรีบร้อนลดน้ำหนักหลังคลอด
-
ให้นมลูกออกกำลังกายได้ไหม
แม่ลูกอ่อนในช่วงให้นมลูกสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติค่ะ แต่ให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม เพราะหากแม่หักโหมออกกำลังกายมากเกิน จนรู้สึกเหนื่อยล้า จะทำให้ร่างกายจะผลิตกรดแลคติกเพิ่มขึ้น อาจทำให้รสชาติในนมแม่เปลี่ยนไป ถึงไม่มีผลเสียโดยตรงต่อทารก แต่ก็อาจทำให้ลูกปฏิเสธที่จะกินนมแม่ได้
-
วิตามินรวม น้ำมันปลาหรือยาบำรุงแคลเซียมล่ะ กินได้ไหม
สามารถทานได้นะคะ แต่คุณแม่ที่ปัญหาเรื่องท่อน้ำนมอุดตันบ่อย ๆ การกินของจำพวกนี้ก็อาจส่งผลทำให้ท่อน้ำนมตันขึ้นได้
เข้าคลินิกทำฟัน ฉีดยาชา ถอนฟัน ถอนฟันคุด ขูดหินปูน ทานยาแก้ปวด-ยาปฏิชีวนะได้ (ถ้าจำเป็น) ได้ค่ะ ไม่กระทบน้ำนมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ คุณแม่ลองใช้วิธีสวย และดูแลตัวเองแบบธรรมชาติในช่วงที่ใกล้ชิดกับลูกน้อย ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเมื่อพ้นช่วงให้นมแล้ว ก็สามารถที่จะสวยได้แบบมั่นใจได้ ว่าไม่มีสารเคมีอันตรายส่งถึงลูกน้อยได้แน่นอน
_________________________________________________________________________________________
ข้อมูลอ้างอิง : www.nrdc.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ไขข้อสงสัย 10 ข้อที่แม่ลูกอ่อนทำอะไรได้ vs ไม่ได้ ในขณะให้นมลูก
9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3
ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุกหยุดไม่อยู่ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!