theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

ประคบร้อนประคบเย็น ต่างกันยังไง? ลูกหัวโน ข้อเท้าแพลง ต้องประคบแบบไหนถึงจะถูก?

บทความ 3 นาที
•••
ประคบร้อนประคบเย็น ต่างกันยังไง? ลูกหัวโน ข้อเท้าแพลง ต้องประคบแบบไหนถึงจะถูก?ประคบร้อนประคบเย็น ต่างกันยังไง? ลูกหัวโน ข้อเท้าแพลง ต้องประคบแบบไหนถึงจะถูก?

ประคบร้อนประคบเย็น ต่างกันยังไง? ลูกหัวโน ข้อเท้าแพลง ต้องประคบแบบไหนถึงจะถูก?

เป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกน้อยวัยกำลังซนมักจะเจ็บตัวกลับมาเวลาออกไปวิ่งเล่น เพราะเด็กวัยนี้อาจยังทรงตัวได้ไม่ดีนัก ทำให้มักจะหกล้มอยู่บ่อย ๆ แต่บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกลับไม่ใช่แค่แผลถลอกเล็กน้อย เพราะลูกดันไปหกล้มหัวโขกกับกำแพงหรืออะไรเข้า จนหัวบวมปูด หรือบางครั้งก็สะดุดล้มจนข้อเท้าแพลง บวมแดงจนแทบเดินไม่ได้กันเลยทีเดียว ร้อนใจคนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องรีบหาวิธีปฐมพยาบาลกันยกใหญ่ ซึ่งวิธีการปฐมพยาบาลยอดฮิตสำหรับ อาการ หัวโน หรือ ข้อเท้าแพลง ก็คงไม่พ้น การประคบ แต่รู้หรือไม่ว่า อาการบาดเจ็บแต่ละแบบ ต้องการการประคบที่แตกต่างกัน บางอย่างต้องประคบร้อน บางอย่างต้องประคบเย็น และถ้าทำผิดขึ้นมาแทนที่จะหาย อาจจะพาลให้อาการหนักกว่าเดิมเสียด้วย แล้ว ประคบร้อนประคบเย็น ต่างกันอย่างไร บาดเจ็บแบบนี้ต้องทำวิธีไหนมาดูกันค่ะ

ประคบร้อนใช้เมื่อไหร่

ประคบร้อนประคบเย็น

 

การประคบร้อนจะใช้ก็ต่อเมื่ออาการบาดเจ็บผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมงค่ะ โดยใช้เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ปวดตึง หรือเป็นตะคริว และไม่มีอาการบวมแดงเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้นค่ะ โดยอาการที่ควรใช้วิธีประคบร้อนได้แก่

  • ปวดตึงกล้ามเนื้อ เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดขา
  • เป็นตะคริว
  • มีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ ปวดเรื้อรังมาเป็นเวลานาน
  • ประคบหลังจากอาการกล้ามเนื้ออักเสบหายแล้ว เช่น หลังจากข้อเท้าที่แพลงเริ่มยุบและไม่มีอาการบวมแดงแล้ว เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

วิธีประคบร้อน

ประคบร้อนประคบเย็น

การประคบร้อนมีหลายวิธี เช่น เจลประคบสำเร็จรูป กระเป๋าน้ำร้อน ใช้ผ้าชุบน้ำร้อนมาประคบในบริเวณที่บาดเจ็บ หรือเอาส่วนที่บาดเจ็บแช่ในน้ำอุ่น โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการประคบคือไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส หรือให้พอรู้สึกอุ่นจัดเท่านั้น อย่าให้ร้อนจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้แสบร้อนหรือผิวหนังอักเสบจากความร้อนได้ค่ะ โดยประคบครั้งละ 15 - 20 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง ค่ะ

ประคบเย็นใช้เมื่อไหร่

ประคบร้อนประคบเย็น

การประคบเย็นส่วนใหญ่จะใช้เมื่อเป็นอาการเจ็บปวดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ และมีอาการบวมแดง มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เพราะความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดหดตัว เลือดจึงมาเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บน้อยลง จึงบรรเทาอาการอักเสบได้ค่ะ ซึ่งอาการที่ควรใช้การประคบร้อนมีดังนี้

  • อาการปวดบมตามข้อ เช่น ข้อเท้าแพลง ข้อเคล็ด ที่มีอาการปวดบวม
  • หัวโน
  • กล้ามเนื้ออักเสบ ฉีกขาด
  • ปวดฟัน ปวดศีรษะ
  • เลือดกำเดาไหล

วิธีประคบเย็น

ประคบร้อนประคบเย็น

การประคบเย็นควรประคบทันทีหลังเกิดอาการบาดเจ็บ หรือภายใน 48 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ โดยประคบนาน 20 - 30 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง สามารถเลือกใช้เจลประคบเย็นสำเร็จรูป หรือประคบด้วยถุงน้ำแข็งที่ทำเองก็ได้ โดยผสมน้ำกับน้ำแข็งลงในถุงอย่างละครึ่ง เพื่อไม่ให้เย็นจัด หรืออาจจะใช้ผ้าซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นเพื่อลดความเย็นที่อาจจะกัดผิวค่ะ

 

เพราะฉะนั้น ถ้าลูกของเรามีอาการบาดเจ็บ เช่น หัวโน ข้อเท้าแพลง คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกใช้ การประคบเย็นเท่านั้นนะคะ แล้วหลังจาก 48 ชั่วโมงไปแล้ว หรืออาการดีขึ้น ไม่มีอาการอักเสบ เช่น บวม,แดงหรือร้อน ค่อยเปลี่ยนมาใช้การประคบร้อนเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อแทนค่ะ

Credit : www.healthtodaythailand.net

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีปฐมพยาบาลสําลักอาหาร เด็กเล็ก ช่วยลูกยังไงให้รอด คนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่รู้ไม่ได้

อุทาหรณ์ของมีคม! พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุ

4 โรคระบาดยอดฮิตในเด็ก และอาการที่พ่อแม่ต้องคอยเฝ้าระวัง

วิธีสอนลูกเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถ พ่อแม่อย่ารอให้สายเกินไป…แล้วค่อยคิดได้ (มีคลิป)

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

kamonchanok

  • หน้าแรก
  • /
  • อาการป่วย
  • /
  • ประคบร้อนประคบเย็น ต่างกันยังไง? ลูกหัวโน ข้อเท้าแพลง ต้องประคบแบบไหนถึงจะถูก?
แชร์ :
•••
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • แต่ละประเทศทั่วโลกฉลองคริสต์มาสต่างกันยังไง?

    แต่ละประเทศทั่วโลกฉลองคริสต์มาสต่างกันยังไง?

  • โรคมือเท้าปาก คืออะไร โรคมือเท้าปากอันตรายหรือไม่ อาการโรคมือเท้าปาก วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

    โรคมือเท้าปาก คืออะไร โรคมือเท้าปากอันตรายหรือไม่ อาการโรคมือเท้าปาก วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • อยากให้ลูกฉลาด แม่ท้องต้องทำ 5 เรื่อง

    อยากให้ลูกฉลาด แม่ท้องต้องทำ 5 เรื่อง

app info
get app banner
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • แต่ละประเทศทั่วโลกฉลองคริสต์มาสต่างกันยังไง?

    แต่ละประเทศทั่วโลกฉลองคริสต์มาสต่างกันยังไง?

  • โรคมือเท้าปาก คืออะไร โรคมือเท้าปากอันตรายหรือไม่ อาการโรคมือเท้าปาก วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

    โรคมือเท้าปาก คืออะไร โรคมือเท้าปากอันตรายหรือไม่ อาการโรคมือเท้าปาก วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • อยากให้ลูกฉลาด แม่ท้องต้องทำ 5 เรื่อง

    อยากให้ลูกฉลาด แม่ท้องต้องทำ 5 เรื่อง

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป