X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อแม่ต้อง บล็อกหลัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง?

บทความ 5 นาที
เมื่อแม่ต้อง บล็อกหลัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง?

การบล็อกหลังจะทำในกรณีที่คุณแม่เข้ารับการผ่าคลอด ซึ่งก็จะทำให้อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ บล็อกหลัง ผลข้างเคียง อะไรบ้างที่คุณแม่จะต้องเจอ

ในขณะทำการผ่าคลอด คุณแม่จะถูก “บล็อกหลัง” การ บล็อกหลัง ผลข้างเคียง คือการฉีดยาชาเข้าทางช่องไขสันหลัง หรือ Spinal block เพื่อให้เส้นประสาทที่อยู่บริเวณท้องมีอาการชา ช่วยระงับอาการปวด โดยคุณแม่จะต้องนอนนิ่ง ๆ ขดตัวเป็นกุ้ง ในท่าคู้กอดขาที่งออยู่ประมาณ 10 นาที เพื่อให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังเปิดกว้างที่สุด ก่อนที่วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาชาเข้าไป

ข้อดีของการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง

บล็อกหลัง ผลข้างเคียง

  • คุณแม่ยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา และรับรู้ได้ในขณะที่คุณหมอกำลังทำการผ่าคลอดนะคะ โดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด สามารถได้ยินเสียงร้อง และเห็นหน้าลูกได้ทันทีที่คลอด สร้างความประทับใจให้กับคุณแม่ในวินาทีที่พบหน้าลูกได้อย่างดี
  • ฤทธิ์ของยาชาจะไปกดระบบประสาททำให้คุณแม่ไม่เจ็บแผลในทันทีหลังผ่าตัด

บล็อกหลัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้

บล็อกหลัง ผลข้างเคียง

Advertisement
  • ระหว่างที่รอยาชาออกฤทธิ์คุณแม่ต้องอยู่ในท่าคู้กอดขาพร้อมกับท้องป่อง ๆ ซึ่งอาจจะใช้เวลานานถึง 20 นาที จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าจะได้เห็นหน้าลูกออกมา
  • ขณะผ่าตัดอาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มที่ เนื่องจากระดับการชาที่สูงเกินไป
  • หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการผ่าคลอดเรียบร้อยแล้ว คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนออกมาด้วย
  • หลังคลอด หากคุณแม่ลุกตัวเร็วจะทำให้รู้สึกปวดหรือวิงเวียนศีรษะได้ ดังนั้นถึงคุณแม่จะรู้สึกตัวก็จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงเพื่อพักฟื้นร่างกายให้สภาพปกติขึ้นก่อน
  • คุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกมีอาการชาที่ขา บ้างก็ชาขาข้างเดียว หลังจากที่บล็อกหลัง
  • สำหรับบางคนยาบล็อกหลังอาจจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าการบล็อกหลังจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์
  • แม้ว่านักวิทยาศาสตร์และหมอจะยืนยันว่าการบล็อกหลังไม่ทำให้ปวดหลังก็ตาม แต่คุณแม่บางคนที่ผ่านการบล็อกหลังยืนยันว่าพวกเธอปวดหลังจริง ซึ่งอาการปวดหลังภายหลังคลอดลูก เป็นอาการยอดฮิตอันดับแรกที่เกิดขึ้นได้จากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบล็อกหลัง
  • แม่ที่บล็อกหลังจะมีปัญหาเรื่องการให้นมลูกมากกว่าแม่ที่คลอดปกติถึง 2 เท่า

หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันแชร์ให้ถึงแม่ ๆ ที่เลือกวิธีผ่าคลอดให้ทราบกันนะคะ และสำหรับคุณแม่ที่มีประสบการณ์การบล็อกหลัง สามารถร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับเราในคอนเม้นท์กันนะคะ

เมื่อแม่ต้อง บล็อกหลัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง?

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ หากคุณแม่เลือกผ่าคลอด จะมีศัพท์คำใหม่ 2 คำที่คุณแม่ควรทำความรู้จัก คือ ผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง และผ่าคลอดแบบดมยาสลบ บล็อกหลังหรือดมยา บล็อกหลัง ดมยาสลบ วางยาสลบ ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบแบบไหนดีกว่ากัน?

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบแบบไหนดีกว่ากัน?

การบล็อกหลัง คือการฉีดยาชาทางช่องน้ำไขสันหลัง หรือ Spinal block โดยคุณแม่จะต้องนอนขดตัวเป็นกุ้ง  เพื่อให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังเปิดกว้างที่สุด ก่อนที่วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาชาเข้าไป

ข้อดีของการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง

1. คุณแม่ยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีความเจ็บปวด สามารถได้ยินเสียงร้อง และเห็นหน้าของลูกน้อยทันทีที่คลอด เป็นความประทับใจที่คุณแม่ทุกคนอยากจะได้รับความรู้สึกของวินาทีแรกนี้

2. เจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่าการดมยาสลบ เนื่องจากฤทธิ์ของยาชาจะไปกดระบบประสาททำให้คุณแม่ไม่เจ็บแผลในทันที

ข้อเสียของการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง

1. คุณแม่จะยังขยับขาไม่ได้หลังผ่าตัด 2-4 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่อาจรู้สึกรำคาญ เหมือนว่าขาหายไป

2. ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่จะเกิดใน 12 ชั่วโมงแรก คุณแม่จึงมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วยค่ะ

3. อาจปวดหลัง หรือเมื่อยหลัง ในช่วงวันแรก

การดมยาสลบ คือการฉีดยานำสลบเข้าไปในหลอดเลือดดำ และให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้เป็นอัมพาต โดยวิสัญญีแพทย์อาจให้ยาแก้ปวด ยาดมสลบในรูปของไอระเหยร่วมด้วย จากนั้นจะสอดท่อช่วยหายใจทางปาก เข้าไปในหลอดลม เพื่อช่วยการหายใจระหว่างผ่าตัด เมื่อสิ้นสุดการผ่าตัดคุณแม่จะค่อยๆ ฟื้นคืนสติ และเริ่มหายใจได้เอง วิสัญญีแพทย์จึงค่อยถอดท่อช่วยหายใจออก

ข้อดีของการผ่าคลอดแบบดมยาสลบ

1. คุณแม่ไม่ต้องรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในห้องผ่าตัด เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กลัวการผ่าตัด เพราะจะไม่รู้สึกตัวเลยขณะที่แพทย์ทำการผ่าคลอดค่ะ

2. วิสัญญีแพทย์สามารถควบคุมการหายใจ และระบบไหลเวียนของคุณแม่ได้อย่างเหมาะสม

ข้อเสียของการผ่าคลอดแบบวางยาสลบ

ข้อเสียของการผ่าคลอดโดยการวางยาสลบจะมีมากกว่าการผ่าคลอดโดยการบล็อคหลัง เนื่องจากการใช้ยาหลายตัว และมีกรรมวิธีเยอะ จึงมักมีผลข้างเคียง แต่ไม่อันตราย และไม่นานก็สามารถหายได้เองค่ะ โดยการอาการที่พบบ่อย ได้แก่

1. คุณแม่อาจเจ็บคอ ระคายคอ เสียงแหบ ไอ ซึ่งเป็นผลจากการสอดใส่ท่อช่วยหายใจผ่านเข้าไปในหลอดลม อาการนี้อาจพบได้ในบางราย และจะสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชม.

2. คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน มึนงง เบลอในช่วงพักฟื้นหลังการผ่าตัด อันเป็นผลจากยาแก้ปวด และยาดมสลบ

3. ปวดแผลมากกว่าการผ่าคลอดโดยการบล็อกหลัง เนื่องจากยาสลบจะไปกดสมองไม่ให้รับรู้ความเจ็บปวด แต่ระบบประสาท ไขสันหลังยังทำงานอยู่ ทำให้เมื่อหมดฤทธิ์ยาสลบจะรู้สึกปวดแผลมาก

4. ในบางรายยาสลบอาจส่งผลถึงลูกน้อยได้รับยาสลบไปด้วย ทำให้การประเมินหลังคลอดทำได้ช้ากว่าปกติค่ะ

อย่างไรก็ดี ในบางรายคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยง เพื่อเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

ทั้งนี้ แม่ผ่าคลอดอาจเป็นห่วงลูกที่อาจมีระบบภูมิต้านทานพัฒนาล่าช้า เพราะไม่ได้รับโพรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอดของแม่ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะสามารถเร่งคืนภูมิต้านทานให้ลูกได้ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่มีองค์ประกอบของโพรไบโอติกและพรีไบโอติก การให้นมแม่จึงมีความสำคัญยิ่ง ในกรณีคุณแม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อเร่งคืนภูมิต้านทานให้กับลูกน้อย

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


บทความอื่นที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

การบล็อกหลังตอนคลอด อันตรายจริงหรือ?

เผยขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้!!

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เมื่อแม่ต้อง บล็อกหลัง ผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง?
แชร์ :
  • ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

    ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

    ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว