X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

บทความ 5 นาที
น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

สิ่งที่แม่ทุกคนตั้งความหวังเมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็คือการ ภาวนาขอให้ลูกตัวเองออกมาแข็งแรง ปลอดภัย และสมบูรณ์ทุกประการ เมื่อเรื่องบางเรื่องเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เรื่องเล่าประสบการณ์จากคุณแม่ท่านนี้ “น้ำคร่ำของแม่ ที่ทำร้ายลูก คำนี้มันทรมานใจมาก” เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คนบอกเลยว่า คนเป็นแม่รู้สึกทรมานใจมากขนาดไหนเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับลูกรัก

อวัยวะผิดรูปตั้งแต่ในครรภ์ เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้นเพียงแค่ 1/2000

“น้องพีชครบ 1 ขวบเต็มแล้ว ต้องเริ่มการรักษาอาการอวัยวะผิดรูป  เนื่องจาก น้ำคร่ำกดทับ อวัยวะตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ โดยเริ่มจากการผ่าตัดนิ้วมือข้างซ้ายก่อน คุณหมอบอกว่าให้กินนมแม่จนร่างกายแข็งแรง ครบขวบแล้วค่อยมาเริ่มการรักษา พรุ่งนี้พีชจะไปศิริราชครับ อีกหน่อยพีชจะพนมมือสวัสดีได้สวยกว่านี้ครับ พีชอารมณ์ดี กินง่าย แข็งแรงครับ” นี่คือคำบอกเล่าที่แม่นกได้โพสเอาไว้ในเฟสบุ๊ค

สิ่งที่เกิดขึ้นกับน้องพีชและทำให้น้องต้องไปผ่าตัดนิ้วมือข้างขวาที่เป็นพังผืดติดกัน กับปลายนิ้วนางและนิ้วก้อยที่มือด้านซ้ายติดกัน และยังเท้าด้านซ้ายที่กระดูกนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลางไม่โผล่ออกมา ส่วนเท้าขวาลักษณะนิ้วเท้าปกติ มีงอนิดหน่อย แต่ก็สามารถเดินได้ สาเหตุที่ลักษณะอวัยวะทั้งมือและเท้าของน้องผิดรูปเป็นแบบนี้ ต้องย้อนไปถึงตั้งแต่การตั้งครรภ์ที่แม่นกเล่าว่า

“น้องพีชเป็นลูกคนที่ 2 ที่แม่นกมาตั้งท้องตอนอายุ 41 ปี มีการเจาะน้ำคร่ำเพื่อเช็กอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งผ่านไปด้วยดี ตอนดูจากภาพอัลตร้าซาวนด์ หมอดูสมอง ขนาดของศรีษะ ใบหน้า ปาก จมูกตา แขน ขา หัวใจ กระดูกสันหลัง กระดูกคอ อวัยวะเพศ ความยาวของลำตัวแขนขา ซึ่งไม่พบความผิดปกติ และน้องอยู่ในท่าลักษณะกำมือไว้ที่หน้าอกตลอดทำให้แม่นกไม่ได้เอะใจอะไร”

“แม่นกคลอดน้องก่อนกำหนด (36 สัปดาห์) ด้วยวิธีคลอดธรรมชาติ ใช้เวลาเบ่งคลอดแต่ 15 นาที จากนั้นพยาบาลก็อุ้มลูกมาให้ดู แม่นกก็สังเกตเห็นว่านิ้วนางกับนิ้วก้อยที่มือขวาของลูกติดกัน คำแรกที่พูดออกมาคือ ลูกแม่ แต่ตอนนั้นใจก็คิดว่าลูกไม่ได้เป็นอะไร เพราะหมอไม่ได้บอกอะไรเลย หลังจากมาพักฟื้นภายในห้อง สามีถึงเข้ามาบอกอาการของลูก”

วินาทีนั้น..แม่นกนิ่ง ยอมรับเลยว่าตกใจ เสียใจ แต่ไม่ร้องไห้ ไม่มีน้ำตา ไม่ฟูมฟาย และพยายามฟังอย่างตั้งใจและใช้สติมาก เพราะอยากรู้อาการของลูกทั้งหมดว่ามีอะไรที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกบ้าง และที่สำคัญคือให้หมอบอกเลยว่าจะมีแนวทางการรักษาลูกอย่างไร บอกเลยว่า แม่นกไม่ทันตั้งตัว เตรียมใจ หรือมีแผนชีวิตที่จะเป็นแบบนี้ เพราะนอกจากอวัยวะลูกจะผิดรูปแล้ว หมอบอกว่ายังมีอาการหัวใจรั่วนิดๆ อีก

ผ่านไป 2 วันยังไม่มีคำตอบ เรื่องแบบนี้ทำให้แม่ทุกข์ร้อนใจมาก จนวันที่ 3 หมอเฉพาะทางด้านกระดูกมาพบและอธิบายถึงสาเหตุและแนวทางการรักษาของลูก

คุณหมอได้อธิบายถึงสาเหตุของอวัยะที่ผิดรูปของน้องว่าเกิดจาก น้ำคร่ำกดทับ อวัยวะของลูก หรือขัดขวางการเจริญเติบโตของอวัยวะลูก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพียงแค่ 1/2000 “พูดไปแล้วก็เซ็งจิตดี มันเป็นแจ๊คพ็อตที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเราได้” ส่วนแนวทางการรักษา คุณหมอได้แนะนำว่าต้องรอให้น้องอายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะหากผ่าตัดก่อนอายุทำให้เกิดความเสี่ยงเกินไป และเด็กยังไม่จำเป็นต้องใช้มือก่อน 1 ขวบ

ปัจจุบันน้องพีชมีร่างกายที่แข็งแรงและเจริญเติบโตสมบูรณ์ตามวัย สำหรับอวัยวะที่ผิดรูป หลังจากน้องครบ 1 ขวบแล้วหมอจะนัดผ่าตัดเป็นรอบๆ ไป ต้องผ่าตัดมือด้านซ้ายที่นิ้วนางกับนิ้วก้อยปลายติดกัน สำหรับมือข้างขวาถ้าผ่านิ้วแล้วน้องจะใช้ได้แค่ข้อแรกของนิ้ว ให้ฝึกการใช้งานเท่าที่มี ส่วนเท้าขวา หมอจะแยกนิ้วโป้งออกให้ เนื่องจากนิ้วโป้ง ชี้ กลาง ไม่โผล่ออกมาต้องผ่าออก

ทุกวันนี้แม่นกได้กำลังใจที่เข้มแข็งจากครอบครัว และเลี้ยงน้องพีชเหมือนอย่างเด็กปกติที่มีพัฒนาการตามวัยทั่วไป มีการฝึกให้น้องถนัดใช้มือซ้ายแทนเพราะมือซ้ายมีลักษณะที่สมบูรณ์กว่ามือขวา และน้องพีชก็เรียนรู้เป็นอย่างดี ทำให้แม่นกไม่กังวลใจเรื่องอื่นเลย นอกจากเรื่องการที่น้องเกิดมามีอวัยวะที่ผิดรูป ผิดปกติ แม่นกจึงตั้งใจให้เลี้ยงน้องด้วยนมแม่ให้นานที่สุด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเป็นสิ่งที่แม่ชดเชยให้ได้ และก็พยายามที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้น้องพีชไม่รู้สึกมีปมด้อยและมีความสุขที่สุด ตอนนี้ชีวิตมีสุขตามอัตภาพ น้องพีชหัวเราะดังทุกวัน ไปไหนใครเห็นก็เอ็นดู

ผศ.นพ. เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์ได้ให้คำอธิบายว่า

น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

การตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำลดลง

การตั้งครรภ์ปกติ จะมีการสร้างน้ำคร่ำจากสารน้ำที่มาจากรก น้ำจากปอดทารก ปัสสาวะของทารก โดยทำหน้าที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันให้กับทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหว ขยับแขน ขา ได้อย่างอิสระ เป็นการป้องกันข้อติด หรือผิดรูปได้ โดยทั่วไปจำนวนน้ำคร่ำจะมีการสร้างมากขึ้นตามลำดับ ตามอายุครรภ์ และจะเริ่มลดลงเล็กน้อยในช่วงใกล้คลอด

ส่วนการตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำลดลง มักพบร่วมในสตรีที่มีภาวะทารกเติบโตช้าในครรภ์ อาจมีการเสื่อมถอยของรกทำให้สร้างน้ำคร่ำได้ลดลงหรือมีการรั่วของน้ำคร่ำ เป็นต้น  แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำน้อยได้จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัดน้ำคร่ำได้โดยลากเส้นสมมุติสองเส้นให้ผ่านสะดือให้ตั้งฉากกันจะสามารถแบ่งหน้าท้องมารดาเป็นสี่ส่วน ทำการวัดความลึกของแอ่งน้ำคร่ำในแต่ละส่วน(หน่วยเป็นเซนติเมตร)มาบวกกันจะได้ผลลัพธ์เป็น ค่าดัชนีน้ำคร่ำของผู้ป่วย หากคำนวนค่านี้ได้น้อยกว่า 5 จึงวินิจฉัยเป็นภาวะน้ำคร่ำน้อย

ในรายนี้มีการเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อตรวจพันธุกรรมของทารกในครรภ์ ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่สาเหตุของความพิการของทารกในครรภ์ แต่การเจาะตรวจดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงของน้ำคร่ำรั่วได้ หากการเจาะนั้นกระทำในช่วงอายุครรภ์ที่น้อยเกินไป เจาะยาก เจาะเข็มหลายครั้ง การเจาะที่มีเลือดปนเปื้อนหรือมีการติดเชื้อตามมาภายหลังได้

เด็กทารกมีความผิดปกติของมือและเท้า

โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่สามารถสรุปได้ว่า ภาวะผิดปกติดังกล่าวเป็นจากอะไร ไม่ทราบว่าเป็นน้ำคร่ำกดทับหรือไม่ เนื่องจากการพัฒนาของมือและเท้าจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์การที่มีนิ้วติดกันบางนิ้วน่าจะเกิดจากความผิดปกติในการแยกนิ้วของทารกเอง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรมบางชนิดได้ ไม่น่าเกิดจากภาวะน้ำคร่ำลดลง แต่การที่มีข้อมือ ข้อเท้าบิดงอผิดรูปอาจเกิดจากภาวะน้ำคร่ำลดลงได้ เพราะอวัยวะต่างๆของทารกจะถูกกดให้อยู่ในท่านั้นนานโดยไม่มีพื้นที่ให้ขยับเคลื่อนไหวอาจทำให้ข้อติดและผิดรูปตามมาได้

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดของความผิดปกติของมือและเท้าทารกสามารถกระทำได้โดยตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างละเอียด แต่การตรวจนี้ต้องใช้ประสบการณ์และทักษะที่ดี พร้อมทั้งต้องให้เวลาในการตรวจแต่ละครั้งให้เพียงพอเพื่อที่จะมองเห็นมือและเท้าได้ชัดเจน นอกจากนี้การตรวจซ้ำเป็นช่วงๆ หลายครั้งยังเพิ่มโอกาสตรวจพบความผิดปกติเล็กน้อยที่ซ่อนอยู่ได้มากขึ้น หากตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ก็สามารถรับประกันได้มากขึ้นแต่ไม่ร้อยเปอร์เซน ทั้งนี้ต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดของวิธีการตรวจและโรคบางอย่างไม่สามารถวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงนี้ได้

น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มาจาก : https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/posts/590519731399930/

บทความที่น่าสนใจ อื่น ๆ

แท้งเพราะปากมดลูกสั้น: ประสบการณ์ตรงจากคุณโอ๋
ประสบการณ์ตรง: ลูกชายวัย 5 เดือนป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
แม่เกือบแย่…เมื่อลูกรักเป็นฮีทสโตรก!!

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน
แชร์ :
  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

    น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

  • น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

    น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

  • สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

    สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

    น้ำคร่ำน้อย อาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นอย่างไร เรื่องจริงที่แม่ท้องควรรู้

  • น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

    น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

  • สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

    สมุดฝากครรภ์ สมุดชมพูคนท้อง ทำไมจึงสำคัญ มีค่ากับคุณแม่และทารกมาก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ