X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องดีน่าแชร์! 4 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นักโภชนาการยัน นมทารกไหนก็เลียนแบบนมแม่ไม่ได้

บทความ 5 นาที
เรื่องดีน่าแชร์! 4 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นักโภชนาการยัน นมทารกไหนก็เลียนแบบนมแม่ไม่ได้

แม่ทุกคนย่อมรู้ประโยชน์ของนมแม่ดี ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกที่ให้ภูมิคุ้มกันปกป้องลูกน้อย การให้ลูกได้ดื่มนมแม่จากอ้อมอก ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ลูกจะได้เติบโตไปอย่างแข็งแรง

นักโภชนาการยืนยัน ประโยชน์ของนมแม่ “แม้มนุษย์จะสร้างนวัตกรรมด้านต่าง ๆ หรือ โลกจะพัฒนาแค่ไหน นมทารก แต่วันนี้ยังไม่มีนมใดมาทดแทนนมแม่หรือ เลียนแบบนมแม่ ได้ 100%

จากสถิติทั่วโลก มีทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน เพียง 43 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว ในประเทศไทย ผลสำรวจจากจำนวนเด็กแรกเกิดทั้งหมดประมาณ 800,000 คน พบว่ามีทารกเพียง 5.4 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละปีที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกเท่านั้น ซึ่งจัดว่ามีอัตราในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำในอาเซียน

นมทารก

นักโภชนาการจึงได้ออกมายืนยันว่า การให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกโดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำตามนั้น เป็นไปตามกฎกติกาที่ออกโดยองค์การอนามัยโลกและทุกประเทศทั่วโลกได้ปฏิบัติกัน แต่หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว หากปริมาณนมแม่ไม่พอต่อความต้องการของลูก ก็สามารถให้อาหารอื่นเสริมโดยควบคู่ไปกับนมแม่ต่อยาวไปถึง 2 ขวบ ซึ่งถือเป็นการเริ่มฝึกทารกให้รู้จักกินอาหารธรรมชาติที่ไม่ใช่แค่นมอย่างเดียว สร้างนิสัย และพฤติกรรมการกินอาหารให้กับลูกด้วย แต่ถ้าหลัง 6 เดือนยังให้กินนมแม่หรือนมผสมอย่างเดียว จะทำให้ทารกขาดสารอาหาร เจริญเติบโตไม่เต็มที่

นายสง่า ดามาพงศ์ นักโภชนาการและที่ปรึกษากรมอนามัยได้กล่าวว่า “นมแม่หลัง 6 เดือนไปแล้ว ยังมีประโยชน์อยู่และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนเดิม แต่ปริมาณไม่พอสำหรับทารกจึงจำเป็นต้องให้อาหารเสริม ซึ่งแม่หลายคนมักเข้าใจผิดว่า นมแม่หลัง 6 เดือนไปแล้วไม่มีประโยชน์เลยหยุดให้นม”

4 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่ นมทารก ไหนก็เลียนแบบนมแม่ไม่ได้

นมทารก

1.ในนมแม่มีหัวน้ำนม หรือน้ำนมเหลือง (colostrum) ที่ไหลออกจากนมแม่หลังคลอดประมาณ 7 วัน คนโบราณมักเข้าใจว่าเป็นน้ำนมเสียจึงบีบทิ้ง แต่ที่จริงแล้วน้ำนมเหลืองนี่คือสุดยอดภูมิคุ้มกันสำหรับทารก

2.ในนมแม่มีสารอาหารที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของทารกที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เป็นสิ่งที่ธรรมชาติจัดสรรโดยมีสารอาหารครบถ้วน

3.ในนมแม่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตหรือ Growth Hormone ทำให้เด็กเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ ควบคุมให้ลูกไม่อ้วน ไม่ผอม จนเกินไป

4.ในนมแม่มีสารแห่งความรัก ที่เรียกว่า Oxytocin และฮอร์โมนแห่งความรักคือ prolactin เวลาลูกดูดนมแม่ สาร 2 ตัวนี้จะหลั่งออกมาเพื่อจะกระตุ้นความรู้สึกของทารก เกิดสายใยเชื่อมโยง ความผูกพันระหว่างลูกกับแม่ ส่งผลทำให้เด็กที่กินนมแม่นันอารมณ์ดี จิตใตดี ระหว่างที่เขาเจริญเติบโต

นอกจากนมแม่ที่ประโยชน์สู่ลูกแล้ว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้ครอบครัวประหยัดเงินได้ถึง 3,000-4,000 บาทต่อเดือน และยังช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และควบคุมระยะการมีบุตรได้ จึงเห็นกันชัด ๆ เลยว่า ประโยชน์ของนมแม่มหัศจรรย์จริงๆ

เรื่องดีน่าแชร์! 4 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นักโภชนาการยัน นมทารกไหนก็เลียนแบบนมแม่ไม่ได้

สารอาหารและประโยชน์ของนมแม่

นมแม่มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ในนมแม่นั้นนอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นทั้งต่อการเจริญเติบโตของร่างกายแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการพัฒนาสมองของลูกน้อยอีกด้วย เช่น

1.เอ็มเอฟจีเอ็ม(MFGM)

สารอาหารสมองที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบล่าสุดว่า เมื่อกรดไขมันทุกชนิดรวมทั้งดีเอชเอและเออาร์เอถูกผลิตออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ เรียกว่า MFGM (Milk Fat Globule Membrane) ซึ่งนับเป็นสารอาหารสมองในประโยชน์ของนมแม่ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง

2.ดีเอชเอ(DHA หรือ Docosahexaenoic Acid)

คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของไขมันในสมองและจอประสาทตา ซึ่งลูกจะได้รับโดยตรงจากนมแม่ ที่สำคัญ DHA ในน้ำนมแม่ยังเพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย

3.ทอรีน (Taurine)

ทอรีน เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยบำรุงสมองและช่วยพัฒนาเรื่องการมองเห็นของลูกได้ดี

4.แลคโตเฟอร์ริน(Lactoferrin)

โปรตีนที่ย่อยได้ง่ายกว่าโปรตีนในนมผสม ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร และยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ จับกับธาตุเหล็กในลำไส้ได้ ทำให้แบคทีเรียซึ่งต้องใช้โมเลกุลของธาตุเหล็กอิสระช่วยในการเจริญเติบโตไม่ สามารถเติบโตต่อได้ จึงช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อ

5.ไลโซไซม์(Lysozyme)

เป็นเอนไซม์ที่มีในน้ำนมแม่มากกว่านมวัวถึง 3,000 เท่า มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียตัวร้าย ทำให้เชื้อตาย แถมยังเติมลงในนมผงไม่ได้ เพราะเอนไซม์ต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อนในขั้นตอนที่นำนมผงไปฆ่าเชื้อก่อนบรรจุกระป๋องด้วย

ความสำคัญของนมแม่

นมแม่มีโคลอสตรัม

ประโยชน์ของนมแม่จำเป็นต่อลูกน้อยมาก ในช่วง 2-3 วันหลังคลอด แม่จะหลั่ง “โคลอสตรัม” (Colostrum) ออกมา คือน้ำนมใสสีเหลืองที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่านมเหลืองหรือหัวน้ำนม น้ำนมชนิดนี้จะมีภูมิคุ้มกันจากแม่สูงที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรคหลายอย่าง เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคหูน้ำหนวก โรคทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น

นมแม่ป้องกันโรคภูมิแพ้

สำหรับลูกวัยทารก น้ำย่อยอาหารในกระเพาะและลำไส้ยังทำงานไม่เต็มที่ อีกทั้งภูมิคุ้มกันที่คอยดักจับสารแปลกปลอมในร่างกายก็ยังพัฒนาไม่ดีพอ โปรตีนแปลกปลอมจึงมีโอกาสเล็ดลอดเข้าไปกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้ง่าย ซึ่งประโยชน์ของนมแม่นอกจากจะช่วยสร้างโปรตีนชนิดที่ทำให้ไม่เกิดการแพ้แล้ว ยังมีสารภูมิคุ้มกันที่จะไปเคลือบเยื่อบุลำไส้ ทำให้ไม่แพ้ด้วย

นมแม่คือวัคซีนธรรมชาติ

ลูกน้อยวัยทารกยังสร้างภูมิคุ้มกันเองได้ไม่ดี จึงมีภูมิต้านทานเชื้อโรคน้อยมาก แต่ลูกก็รับภูมิต้านทานโรคได้โดยตรงจากน้ำนมแม่ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ของนมแม่ที่สำคัญและจำเป็นต่อลูกน้อยอย่างมาก

นมแม่มีสารช่วยป้องกันแบคทีเรีย

ประโยชน์ของนมแม่ที่สำคัญมาก ๆ อีกข้อหนึ่งคือ การช่วยป้องกันแบคทีเรีย เนื่องจากในนมแม่มี Bifidus Growth Factor หรือสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแล็กโตบาซิลลัส (ซึ่งไม่มีในน้ำนมวัว) ซึ่งเป็นเชื้อที่ช่วยให้เกิดกรดอินทรีย์ในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียชนิดร้ายอยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ แลคโตสในน้ำนมแม่เองก็ยังเปลี่ยนเป็นกรดแลกติกที่ช่วยให้ลำไส้มีสภาพเป็นกรดจนแบคทีเรียไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกแรงหนึ่งด้วย

นมแม่ช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายดี

นอกจากประโยชน์ของนมแม่ทั่ว ๆ ไป นมแม่เป็นอาหารธรรมชาติ สะอาด และย่อยง่าย ทั้งยังมีสารที่ช่วยให้ลำไส้แข็งแรง มีสารช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดท้องเสีย และช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในลำไส้ลงได้มาก เด็กที่กินนมแม่นอกจากจะไม่มีปัญหาท้องผูกแล้ว ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดท้องเสียน้อยลงด้วย

ดีต่ออารมณ์และจิตใจของลูก

อีกหนึ่งประโยชน์ของน้ำนมแม่คือการให้นมแม่แต่ละครั้งแม่จะต้องโอบกอดลูกแนบอก ความสุขใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความอบอุ่นจะถูกปลูกฝังไว้ในจิตใจลูกตั้งแต่วัยแรกเริ่มของชีวิต ช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทั้งทางอารมณ์และจิตใจ

ดีต่อสมองของลูก

เนื่องจากในนมแม่ตั้งแต่หยดแรกจะมี MFGM และดีเอชเอที่เป็นสารที่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองได้โดยตรง โดยมีงานวิจัยชี้ว่าเด็กที่ดื่มนมที่เสริม MFGM จะมีพัฒนาทางด้านสติปัญญาดีกว่าเด็กที่ดื่มนมสูตรปกติที่เพิ่มแต่ดีเอชเอเพียงอย่างเดียวถึง 4 จุด

ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อย

เด็กกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้านผ่านการดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้กลิ่นของแม่ผ่านการโอบกอดใกล้ชิด การใช้ปากและอวัยวะในช่องปาก การสบตากับแม่ การเห็นหน้าแม่ขณะดูดนม การพัฒนากล้ามเนื้อแขนขาเมื่อเล่นกับแม่ และพัฒนาการของระบบการย่อยอาหาร


ที่มา : www.hfocus.org

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

อันตรายไหม แม่เป็นหวัด ต้องกินยา แล้วยังให้นมลูกได้ไหม?

วิธีเรียกน้ำนมแม่กลับคืนหลังหยุดให้นมลูก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เรื่องดีน่าแชร์! 4 เหตุผลใหญ่ ๆ ที่นักโภชนาการยัน นมทารกไหนก็เลียนแบบนมแม่ไม่ได้
แชร์ :
  • นมแม่ชั่วโมงแรก คือวัคซีนหยดแรกในชีวิตลูก

    นมแม่ชั่วโมงแรก คือวัคซีนหยดแรกในชีวิตลูก

  • กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

    กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

  • อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

    อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

  • นมแม่ชั่วโมงแรก คือวัคซีนหยดแรกในชีวิตลูก

    นมแม่ชั่วโมงแรก คือวัคซีนหยดแรกในชีวิตลูก

  • กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

    กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

  • อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

    อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ