X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

บทความ 3 นาที
ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

โฟลิก หรือโฟเลต คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ ทำไมคนท้องขาดโฟลิกทารกจึงสมองพิการ พบกับคำตอบและคำแนะนำในการรับประทานโฟลิกอย่างเหมาะสมที่นี่

ทารกไม่มีกะโหลก

เครดิต drchawtoo.com

โฟลิก กับ คนท้อง

การขาดสารอาหาร โฟเลต เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความพิการแต่กำเนิดของระบบประสาท โดย นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์ สูตินรีเเพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และ ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช อธิบายว่า มนุษย์กบ หรือ Anencephaly ถือเป็นโรคที่เกิดจาก ท่อระบบประสาทผิดปกติ (Neural Tube Defect) ชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดและพบได้บ่อยที่สุด พบได้ประมาณ 1.2-1.7 ต่อ 1,000 ของการคลอด และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (อัตราส่วน 4:1)

คุณแม่สามารถป้องกันภาวะทารกพิการ ไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ รวมถึงความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ รศ.ธรา วิริยะพานิช สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า คนท้องควรได้รับมากกว่าคนปกติ คนปกติควรได้รับวันละ 4๐๐ ไมโครกรัม/วัน ส่วนหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ 6๐๐ ไมโครกรัม/วัน

สำหรับผู้ที่มีความพยายามที่จะตั้งครรภ์หรือผู้ที่อาจจะตั้งครรภ์ ควรเริ่มทานกรดโฟลิกเสริมก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิดได้มากกว่า 50% ไม่ควรรอให้ตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยเริ่มรับประทานโฟลิก เนื่องจากกว่าผู้หญิงจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ก็อาจผ่านระยะก่อรูปร่างของสมองและไขสันหลังไปเสียแล้ว

ราวๆ สัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากที่มีการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ ในระยะนี้ตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อซึ่งแบ่งออกเป็นสามชั้น เนื้อเยื่อชั้นนอกจะแบ่งตัวเพื่อสร้างระบบประสาทและสมอง โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อชั้นนอกนี้จะแบ่งเซลล์ยกตัวขึ้นเพื่อม้วนกลับสร้างให้เป็นท่อระบบประสาท (Neural Tube) ขึ้นมาก่อน ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นกระดูกสันหลังและไขสันหลังต่อไปบริเวณส่วนปลายของท่อนี้จะต้องปิดเข้าหากันเพื่อพัฒนาเป็นศีรษะและก็จะมีการสร้างสมองและกะโหลกศีรษะต่อไป แต่ในกรณีของมนุษย์กบ หรือ  Anencephaly ส่วนปลายของท่อนี้ไม่ปิดเข้าหากัน จึงไม่สามารถพัฒนาการสร้างส่วนของกะโหลกศีรษะและสมองที่สมบูรณ์ได้

บทความแนะนำ รู้จักภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ และการป้องกันในแม่ท้อง

กรดโฟลิกจึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยในปลายท่อปิดเข้าหากัน การที่คนท้องขาดกรดโฟลิค และวิตามินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงนี้ส่งผลให้การพัฒนาสมองของทารกไม่สมบูรณ์

ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ

เครดิต med.cmu.ac.th

กรดโฟลิคคืออะไร?

กรดโฟลิค (โฟเลต) เป็นสารอาหารกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำ หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็ม วิตามินบี9 วิตามินบีซี (โฟลาซิน) เป็นต้น

โฟลิคมีหน้าที่อย่างไร?

ร่างกายของคนเราต้องการโฟเลตเพื่อช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งเป็นยีนหรือสารพันธุกรรม และสังเคราะห์กรดอะมิโนอีกหลายตัว รวมทั้งมีความจำเป็นในการแบ่งตัวเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆ

แหล่งอาหารที่มีโฟลิค

กรดโฟลิคพบมากในผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี ผักโขม คะน้า กะหล่ำ ผัดกาด ดอกกุยช่าย รวมทั้ง มะเขือเทศ แครอท ข้าวโพด ส้ม ตับไก่ ตับหมู กุ้ง หอย ปู ปลา ธัญพืช ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น

รับประทานโฟลิคให้ถูกวิธี

รศ.ธรา แนะนำว่า โฟเลตถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้น ถ้าอาหารที่ต้องหั่นชิ้นเล็กๆ หุงต้มนานๆ โฟเลตก็จะสูญเสียไป ดังนั้น อาหารที่กินสดได้ก็ควรกินสด เช่น ผัก ผลไม้ เพราะจะได้โฟเลตมาก แต่ถ้าต้องทำให้สุกก็ไม่ควรใช้เวลานานในการหุงต้ม

อย่างไรก็ดี กรดโฟลิกถ้าได้รับปริมาณมากจะเป็นอันตรายกับร่างกาย ฉะนั้น ถ้ากินมากเกินไป ร่างกายก็จะขับโฟลิกออกทางอุจจาระ และปัสสาวะ

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ที่มา www.drchawtoo.com, www.doctor.or.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เสริมกรดโฟลิกในขนมปังช่วยลดความพิการแต่กำเนิดได้จริงหรือ

แม่ท้องกินวิตามินมากไป ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติก

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”
แชร์ :
  • โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

    โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

  • โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

    โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

    โฟลิก คืออะไร เหมือนโฟเลตไหม อันตรายเมื่อแม่ท้องขาดโฟลิก

  • โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

    โฟลิกในอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ