X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง 10 เรื่องที่การนอนของเบบี๋ในครรภ์ที่แม่ท้องต้องรู้

บทความ 5 นาที
ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง 10 เรื่องที่การนอนของเบบี๋ในครรภ์ที่แม่ท้องต้องรู้

ต้องอ่านเรื่องนี้ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่หากคุณเข้าใจกลไกธรรมชาติของการนอนเด็กตั้งแต่อยู่ในท้อง คุณจะเข้าใจและแก้ปัญหาการนอนของทารกได้อย่างมีหลักการ

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง อยากเข้าใจเหตุผลที่ลูกน้อยไม่ยอมนอน นอนกลางวันสลับกับกลางคืน หรือเหมือนง่วงแต่ไม่ยอมหลับ ต้องอ่านเรื่องนี้ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่หากคุณเข้าใจกลไกธรรมชาติของการนอนเด็กตั้งแต่อยู่ในท้อง คุณจะเข้าใจ และแก้ปัญหาการนอนของทารกได้อย่างมีหลักการ

 

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง ทารกในครรภ์หลับตอนไหน 

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง
10 เรื่องที่การนอนของเบบี๋ในครรภ์ที่แม่ท้องต้องรู้

  • สภาวะแวดล้อมในครรภ์แม่ เหมาะกับการนอนของทารกอย่างยิ่ง เพราะในท้องของแม่ทั้งมืด อบอุ่น เงียบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเวลาที่คุณแม่ท้องเดินไปมาก็เหมือนเป็นการไกวเปลให้ลูกหลับ
  •  ทารกในครรภ์แม่จะนอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน
  • ลูกของคุณจะได้ยินเสียงหัวใจ เสียงท้องร้อง และเสียงพูดของคุณแม่ ที่จะทำให้รู้สึกอุ่นใจ นอกจากนั้นทารกน้อยในครรภ์ยังไม่รู้สึกหิวเลย เพราะมีสายสะดือเชื่อมต่ออาหาร ซึ่งเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ทารกน้อยนอนหลับได้อย่างสบายใจ
  • การตื่นของทารกในครรภ์เกิดขึ้นไม่เป็นเวลา และลูกจะตื่นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
  • ช่วงที่ลูกหลับในท้องแม่ อาจมีการขยับตัว ถีบคุณแม่บ้าง เพราะลูกในท้องมักเป็นเด็กนอนดิ้น
  • เมื่อตั้งครรภ์ถึง 7 เดือน เบบี๋ในท้องจะเริ่มมีความฝันแล้วนะ เพราะตัวอ่อนในครรภ์นี้มีการสร้างสมองเพียงพอให้เกิดการหลับแบบ REM (rapid eye movement) เด็กเริ่มมีกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการมองเห็น และการได้ยิน
  • เมื่อตั้งครรภ์ครบ 8 เดือน ทารกก็จะเริ่มนอนหลับแบบ non-REM หรือแบบหลับสนิทได้แล้วด้วย
  • เด็กยิ่งเล็กยิ่งฝันเยอะ ส่วนคำถามที่ว่าลูกน้อยฝันเรื่องอะไร เราคงไม่มีวันรู้
  • ถ้าทำการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ บางที คุณแม่อาจจะได้เห็นลูกนอนแล้วยิ้มด้วย นี่เป็นเพราะว่าช่วงที่ลูกหลับแบบ REM กล้ามเนื้อบริเวณหน้าเกิดการกระตุก หรือมีการดึงนั่นเอง
  • เบบี๋ในท้องชอบนอนกลางวัน และตื่นตอนกลางคืน เพราะช่วงกลางคืนที่คุณแม่นอนหลับจะมีพื้นที่ให้ลูกน้อยได้ขยับตัวเยอะกว่าเดิม แถมช่วงกลางวันที่คุณแม่เดินเยอะยิ่งทำให้เบบี๋รู้สึกกำลังนอนโยกเยก ทำให้น่าหลับ

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง

Advertisement

แม่ท้องนอนไม่หลับ ทำไงดี

  • ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ที่ไม่มีคาเฟอีนผสมอยู่ เช่น นมอุ่น ๆ ก่อนที่จะเข้านอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์ด้วย การดื่มน้ำก่อนนอนในระยะไตรมาสแรก  และไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้คุณแม่ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึกได้ คุณแม่ควรสังเกตตัวเอง และปรับใช้วิธีนี้อย่างเหมาะสม
  • อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เส้นเลือดขยายตัว และไหลเวียนได้ดี ทำให้จากที่แม่ท้องนอนไม่หลับ เป็นแม่ท้องหลับง่ายขึ้นทีเดียว
  • เข้านอนให้เป็นเวลา และตื่นนอนให้เป็นเวลา ทำเช่นนี้ทุกวัน ร่างกายจะปรับตัว เหมือนตั้งนาฬิกาเอาไว้เลยทีเดียว เมื่อถึงเวลานอนคุณแม่จะง่วงนอนขึ้นมาทันทีเลย
  • ควรปรับสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม กำจัดสิ่งรบกวนการนอนให้มากที่สุด ห้องที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับพักผ่อนคือ ห้องที่เงียบ เย็น และมืด หากมีเสียงรบกวนอาจ ทำให้แม่ท้องนอนไม่หลับ หรือหลับยากได้
  • เมื่อท้องแก่ใกล้คลอด ท่านอนราบ อาจทำให้หายใจไม่สะดวก เพราะมดลูกที่ขยายตัวขึ้นดันกระบังลมให้สูงขึ้น และปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ หากรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกเมื่อนอน อาจใช้หมอนหลายใบหนุนศีรษะให้สูงเพื่อที่จะได้หายใจสะดวกขึ้น

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง

คุณแม่ตั้งครรภ์นอนตะแคงซ้ายดีที่สุด ?

บทความ : คนท้องต้องรู้! นอนตะแคง ดีต่อลูกในท้อง แม่ท้องนอนตะแคงด้านไหนดี?

คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ว่าท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือ นอนตะแคงซ้าย เนื่องจากการนอนตะแคงซ้ายดีต่อระบบไหลเวียนเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการได้รับออกซิเจนและสารอาหาร เพื่อเอาไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์ รวมไปถึงสนับสนุนการทำงานของไต ช่วยลดความดันตับ และลดอาการบวม เพราะ การนอนตะแคงซ้ายช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดีมดลูกกดทับหลอดเลือดในช่องท้องน้อยกว่าการนอนในท่าอื่นๆ เมื่อการไหลเวียนเลือดดี ก็สามารถส่งอาหารได้ยังทารกได้ดีตามไปด้วย นอกจากนี้ การที่ระบบไหลเวียนเลือดดียังช่วยให้ไตขับน้ำปัสสาวะได้ดี ช่วยลดอาการบวมในแม่ท้องได้อีกด้วย

ท่านอนตะแคงที่แนะนำคือ คือ ท่านอนตะแคงงอเข่าทั้งสองข้าง โดยคุณแม่อาจใช้หมอนรองระหว่างขาทั้งสองข้างก็จะช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น

หมอน และที่นอนมีส่วนช่วยให้นอนหลับสบาย

การนอนตะแคงซ้าย บางครั้งอาจจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการปวดหลังและสะโพก ไม่สบายเนื้อสบายตัว นอนหลับยาก ดังนั้นหมอนและที่นอนมีส่วนช่วยให้คุณแม่หลับสบายขึ้นได้นะ ที่นอนที่ความนุ่มพอเหมาะกับคุณแม่ ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป จะช่วยจัดแนวกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ รวมไปถึงการใช้หมอนก็ช่วยได้เช่นกัน

การใช้หมอนหรือหมอนข้าง รองช่วงตัว เพื่อยกร่างกายส่วนบน สามารถช่วยลดอาการเสียดท้องได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดขา การใช้หมอนรองใต้ขาก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้อีกด้วย หรือถ้าหากคุณแม่คนไหนมีอาการปวดหลัง การใช้หมอนรองช่วงหลัง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

 

แม่ท้องนอนท่าไหนดีกับลูกในท้อง ?

  • นอนตะแคงขวาก็ได้ ตะแคงซ้ายก็ดี

การนอนตะแคงซ้าย เป็นท่าที่แนะนำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามนอนตะแคงขวาซะเดียวเลย หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าการนอนตะแคงขวาจะไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ แต่คุณหมอไม่ได้ห้ามนอนตะแคงขวาหรอกนะ เพียงแค่การนอนตะแคงซ้ายจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีกว่าเท่านั้นเอง ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์นอนตะแคงซ้ายนาน ๆ แล้วเมื่อย อาจจะพลิกตัวไปนอนตะแคงขวาบ้างก็ได้ค่ะ

  • นอนคว่ำ

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจกังวลว่าการนอนคว่ำจะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่ จริง ๆ แล้วในช่วงไตรมาสแรก การนอนคว่ำเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง เพียงแต่เป็นท่านอนที่ไม่นิยม เพราะคุณแม่บางคนนอนไม่ถนัด รวมไปถึงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น การนอนคว่ำดูจะเป็นไปได้ยากสักนิดนึง

อย่างไรก็ตาม การนอนคว่ำไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูก หรือเป็นการนอนทับลูกแต่อย่างใด ดังนั้นหากคุณแม่คนไหนรู้สึกสบายเวลานอนคว่ำ ก็สามารถนอนได้ และอาจหาหมอนรองช่วงหน้าอกหรือท้อง เพื่อช่วยให้นอนสบายขึ้นด้วยก็ได้

  • นอนหงาย

ในช่วงไตรมาสที่สาม การนอนหงายเป็นท่าที่ไม่แนะนำเท่าไหร่ เพราะการนอนหงายส่งผลในเรื่องแรงดันในหลอดเลือด ระบบไหลเวียนเลือด ทำให้สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกได้ยาก รวมไปถึงกระทบเรื่องปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปยังทารกในครรภ์ด้วย

เวลานอนหงาย คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเวียนหัว คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำ และอาจหายใจลำบากได้ แถมงานวิจัยในปี 2019 ยังบอกอีกว่า การนอนหงายจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการตายคลอด ดั้งนั้นการนอนหงาย จึงเป็นท่านอนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

อ้างอิง

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

www.healthline.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คลิปลูกดิ้นในครรภ์แม่ ทั้งถีบ ทั้งเตะ ทั้งโก่งตัว ที่แม่ท้องปูดเป็นอย่างนี้นี่เอง

เตือนแม่ท้องนอนตะแคงขวาอันตราย!!

นิทานธรรมะ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน : ความเพียร ความพยายาม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Weerati

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง 10 เรื่องที่การนอนของเบบี๋ในครรภ์ที่แม่ท้องต้องรู้
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว