X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนม และควรเริ่มให้ลูกเริ่มดื่มน้ำตอนไหน?

บทความ 5 นาที
ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนม และควรเริ่มให้ลูกเริ่มดื่มน้ำตอนไหน?

ทารกห้ามกินน้ำ ไม่ควรให้น้ำลูกตามหลังกิน เรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้และควรเข้าใจ เพราะผลที่ได้นอกจากจะไม่มีประโยชน์ ยังส่งผลอันตรายต่อทารกด้วย

เคยมั้ยคะ หลังให้นมลูกเสร็จใหม่ ๆ คนเฒ่าคนแก่มักจะบอกให้ป้อนน้ำทารกเพื่อล้างปากตาม หรือไม่ก็เป็นความเชื่อว่าถ้าทารกตัวเหลือง ให้กินน้ำจะได้หายตัวเหลืองนั้น แต่ความจริงแล้วเราไม่ควรให้ทารกแรกเกิดดื่มน้ำยกเว้นนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร ติดตามต่อในบทความนี้ได้เลยค่ะ 

 

น้ำนมแม่สำคัญอย่างไร ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนมแม่

ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนม และควรเริ่มให้ลูกเริ่มดื่มน้ำตอนไหน?

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ อาหารของทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนแรก มีเพียงอย่างเดียวที่เหมาะสมคือการที่ลูกน้อยได้กินน้ำนมแม่ ที่อุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตในทุกด้าน และให้พลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหรือฟื้นตัวได้เร็วเมื่อเจ็บป่วย ทั้งยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในทารกจากโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ หรือหูอักเสบ คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้แนะนำว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตลูกนั้นควรให้ลูกได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่ควรป้อนน้ำ และป้อนอาหารเด็ดขาด

 โดยสรุปแล้ว เหตุผลที่ว่า ทารกห้ามกินน้ำนั้นเป็นเรื่องจริง ซึ่งก็คือช่วงอายุ 6 เดือนแรก ที่เด็กควรได้รับโภชนาการจากนมแม่ล้วน ๆ เพราะในนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ซึ่งครบถ้วนและเพียงพอแล้วสำหรับการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 วันหลังคลอด แม่จะหลั่ง “โคลอสตรัม” (Colostrum) ออกมา คือน้ำนมใสสีเหลือง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่านมน้ำเหลือง หรือหัวน้ำนม น้ำนมแม่ชนิดนี้จะมีภูมิคุ้มกันจากแม่สูงที่สุด และจะพบ “แลคโตเฟอร์ริน” ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรคหลายอย่าง เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคหูน้ำหนวก โรคทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีสารอาหารที่มีความสำคัญ ได้แก่ 

Advertisement
  • เอ็มเอฟจีเอ็ม (MFGM) สารอาหารสมองในน้ำนมแม่ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบล่าสุดว่า เมื่อกรดไขมันทุกชนิดรวมทั้งดีเอชเอและเออาร์เอ ถูกผลิตออกมาจากต่อมผลิตน้ำนม จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ เรียกว่า MFGM (Milk Fat Globule Membrane) ซึ่งนับเป็นสารอาหารในน้ำนมแม่ ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
  • ดีเอชเอ (DHA หรือ Docosahexaenoic Acid) คือ สารอาหารในน้ำนมแม่ที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบสำคัญของไขมันในสมองและจอประสาทตา ซึ่งลูกจะได้รับโดยตรงจากน้ำนมแม่ ที่สำคัญ DHA ในน้ำนมแม่ยังเพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย
  • ทอรีน (Taurine) สารอาหารในนมแม่ที่ช่วยบำรุงสมองและช่วยพัฒนาเรื่องการมองเห็นของลูกได้ดี
  • ไลโซไซม์ (Lysozyme) เป็นเอนไซม์ที่มีในน้ำนมแม่มากกว่านมวัวถึง 3,000 เท่า มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียตัวร้าย ทำให้เชื้อตาย แถมยังเติมลงในนมผงไม่ได้ เพราะเอนไซม์ต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อนในขั้นตอนที่นำนมผงไปฆ่าเชื้อก่อนบรรจุกระป๋องด้วย 

เพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการอันล้ำค่านี้อย่างครบถ้วน แม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่คุณแม่สามารถให้ได้ แต่หากคุณแม่ไม่ได้เลี้ยงลูกเอง หรือมีปัญหาการให้น้ำนม แม่ก็ต้องเลือกโภชนาการอื่นทดแทน โดยยังคงต้องดูที่สารอาหารเป็นหลักว่ามีเหมือนในน้ำนมแม่หรือไม่ 

 

ป้อนน้ำตามหลังกินนมก่อนอายุ 6 เดือนมีผลกระทบต่อทารกอย่างไร?

พ่อแม่หลายคนมักเข้าใจว่า ควรป้อนน้ำตามหลังทารกกินนมเสร็จแล้ว แต่ความจริงนั้นกระเพาะของทารกยังเล็กมาก การให้ลูกกินน้ำตามเข้าไปจะเป็นการให้น้ำเข้าไปแทนที่ของนมในกระเพาะ ทำให้ลูกอิ่มและไม่อยากกินนม ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการให้น้ำในช่วง 6 เดือนแรกทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง 11 % ทำให้ได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อย เสี่ยงต่อการทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลต่อการเติบโตและมีพัฒนาการล่าช้า อีกทั้งระบบลำไส้ ระบบการย่อยของทารกนั้นยังเคลื่อนตัวและทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่มีแรงขับย่อยอาหารอื่นที่นอกเหนือจากน้ำนมแม่ได้ ส่งผลทำให้ทารกท้องอืด และหากปล่อยให้ลูกกินน้ำตามหลังกินนมไปเรื่อย ๆ เมื่อลูกโตขึ้นก็จะมีระบบย่อยอาหารที่ไม่ดีตามไปด้วย นอกจากนี้การให้ทารกกินน้ำในระยะ 6 เดือนแรกยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคท้องเสียที่เกิดจากน้ำหรือภาชนะที่ไม่สะอาดด้วย

 

จะเริ่มให้ทารกกินน้ำได้ตอนไหน?

ป้อนน้ำทารก, ภาวะน้ำเป็นพิษ

ในช่วง 6 เดือนแรก ทารกจะทานนมแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่เมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ร่างกายของทารกเริ่มต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ก็สามารถให้ทารกทานอาหารเสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้ทารกต้องการปริมาณน้ำมากขึ้น สำหรับการกลืนและย่อย ซึ่งก็สามารถให้ลูกดื่มน้ำได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ยังต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ในอีกระยะยาว การให้น้ำไม่ควรให้มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปริมาณการกินนมแม่ลดลงนะคะ

 

ประโยชน์ของการดื่มน้ำที่จะช่วยเสริมสร้างร่างกายลูกน้อยให้ทำงานได้เต็มที่

ก่อนที่จะไปดูว่าเด็ก ๆ ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร มาดูว่าทำไมเพียงแค่การดื่มน้ำให้เพียงพอ ถึงช่วยเด็ก ๆ มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ นั่นเพราะน้ำช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบไหลเวียนเลือดจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย

  • ช่วยส่งเสริมระบบการย่อยอาหาร น้ำจะช่วยไปคลุกเคล้ากับอาหารช่วยลำเลียงขนส่งอาหารไปที่กระเพาะ และเป็นส่วนประกอบในการย่อยอาหาร
  • ช่วยส่งเสริมระบบการขับถ่าย น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด โดยเลือดจะเข้าไปฟอกของเสียที่ไต และจะขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ และเหงื่อ และยังช่วยเสริมการทำงานในลำไส้ใหญ่ให้ของเสียเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น การดื่มน้ำน้อยจึงอาจทำให้เด็ก ๆ ท้องผูกได้
  • ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เมื่อร่างกายเจอสภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน เช่น อยู่ในสภาพอากาศที่แดดร้อนจัด เล่นกีฬา น้ำจะเป็นตัวที่ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปริมาณน้ำที่เด็กควรกินในแต่ละวัน

  • ทารกอายุ 6 – 9 เดือน ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 700 – 900 ซีซี 
  • ทารกอายุ 9 – 12 เดือน ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 800 – 1,000 ซีซี 
  • เด็กอายุ 1 – 3 ปี ร่างกายต้องการน้ำประมาณ 1,000 – 1,200 ซีซี

เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าเด็ก ๆ มีความต้องการดื่มน้ำปริมาณเท่าไร่ มากน้อยเพียงใดแล้ว ก็ต้องรู้จักเลือกน้ำดื่มสะอาด ที่ไม่มีสี บรรจุอยู่ในภาชนะสะอาด และปิดสนิท เมื่อดื่มแล้วไม่มีกลิ่น หรือรสชาติเตรียมให้เขาดื่มตลอดวัน 

 

เพื่อเป็นแนวทางให้คุณแม่เสริมโภชนาการลูกอย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

ที่มา : www.thaibreastfeeding.org

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

5 สิ่งที่พ่อแม่ควรมี ถ้าอยากให้ลูกประสบความสำเร็จกัน ลองเช็คดู

มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

5 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกรักด้วยวิธีธรรมชาติ

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทำไมทารกห้ามกินน้ำหลังกินนม และควรเริ่มให้ลูกเริ่มดื่มน้ำตอนไหน?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว