X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

9 Apr, 2017
ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

เว็บไซต์ anngle.org ได้รายงานข่าวที่น่าตกใจ เมื่อทารก 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง! สาเหตุเกิดจากโรคโบทูลิซึม

ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม ...ทารกผู้เคราะห์ร้าย อาศัยอยู่ในเขตอาดาจิ ณ เมืองหลวงโตเกียว มีอายุเพียง 6 เดือนเท่านั้น โดยเหตุการณ์น่าเศร้านี้ เกิดตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เมื่อทารกตัวน้อย เกิดอาการไอ จนวันที่ 20 กุมภาพันธ์ มีอาการแย่ลง พบอาการชัก ระบบหายใจล้มเหลว จึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล และเสียชีวิตในวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา

จากการตรวจสอบพบว่า เด็กชายคนนี้เสียชีวิตลงเนื่องจากการดื่มน้ำผลไม้ผสมน้ำผึ้งที่มีเชื้อ Clostridium botulinum ซึ่งคนในครอบครัวให้เด็กดื่มเพื่อหย่านม จนทำให้ทางการต้องแจ้งเตือน ครอบครัวที่มีทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำผึ้ง

ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

สาเหตุสำคัญมาจาก คนในครอบครัวของทารกน้อย ได้ซื้อน้ำผึ้งมาผสมกับน้ำผลไม้ให้ ดื่มทุกๆ วัน วันละ 2 ครั้ง หวังให้ทารกหย่านม และคิดว่า น้ำผึ้งนั้นดีต่อสุขภาพ เมื่อทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแล้ว ก็พบเชื้อ Clostridium botulinum จากอุจจาระของเด็กชาย และพบในน้ำผึ้งที่เก็บไว้อยู่ภายในบ้านเช่นกัน

ทารก 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง

จนเมื่อวันที่ 7 เมษายน ทารกเพศชายวัย 6 เดือน ก็ถูกวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิต ว่าเกิดจาก โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism) ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และสร้างสารพิษโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของทารก ซึ่งทางเดินอาหารของทารกมีปัจจัยสำคัญ ที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อ ได้แก่ การพัฒนาการเคลื่อนไหวยังไม่ดีและความเป็นกรดต่ำ โดยอาการที่พบในเด็กทารก จะเริ่มด้วยท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ดูดกลืนลำบาก ร้องไห้เสียงเบา และคออ่อนพับ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อ Clostridium botulinum เช่น น้ำผึ้ง ในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

ทารก 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง

สำหรับสถิติ ตั้งแต่ปี 1986 ที่ประเทศญี่ปุ่น พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยโรคโบทูลิซึมในทารกทั่วประเทศเพียง 36 ราย รวมกรณีเสียชีวิตในครั้งนี้ด้วย ซึ่งกรณีเด็กชายนี้ เป็นการเสียชีวิตจากโรคโบทูลิซึมในทารก ครั้งแรกของประเทศญี่ปุ่น โดยโรคโบทูลิซึมในทารกนี้ จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กทารกเท่านั้น และสัดส่วนความเป็นไปได้ที่จะพบเชื้อชนิดนี้ภายในน้ำผึ้งตามท้องตลาดนั้นก็มีเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก

เว็บไซต์ anngle.org ยังรายงานด้วยว่า โรคโบทูลิซึมในทารก คนไทยเราอาจไม่คุ้นเคยนัก แต่จริง ๆ แล้ว เชื้อนี้เป็นชนิดเดียวกับที่เคยมีรายงานการระบาดเป็นครั้งแรกที่จังหวัดน่านในปีพ.ศ.2541 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ไม่ได้ต้ม และมีการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อชนิดนี้นั่นเอง

ที่มา : anngle.org

 

อ่าน โรคโบทูลิซึม เพิ่มเติมหน้าถัดไป

โรคโบทูลิซึม เกิดโรคได้อย่างไร?

แพทย์หญิง สลิล ศิริอุดมภาส วว. พยาธิวิทยากายวิภาค อธิบายว่า โรคโบทูลิซึม มีพยาธิสภาพเกิดโรคได้โดย เมื่อกินอาหารที่ปนเปื้อนพิษ หรือทารกที่กินแบคทีเรีย แล้วแบคทีเรียปล่อยพิษออกมาในลำไส้ หรือพิษที่ผลิตอยู่ในบาดแผลก็ตาม พิษเหล่านี้ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในที่สุด และเดินทางต่อไปยังปลายเส้นประสาทชนิดที่ผลิตสารสื่อประสาทชื่อ Acetylcholine

ซึ่งได้แก่ ปลายเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ, ปลายเส้นประสาทของระบบประสาทอัตโนมัติ, รวมถึงปมประสาทส่วนปลายด้วย พิษก็จะออกฤทธิ์ต่อปลายเส้นประสาทเหล่านี้ โดยการไปยับยั้งการหลั่งของสารสื่อประสาท Acetylcholine ผู้ป่วยจึงเกิดอาการจากการที่เส้นประสาทเหล่านี้ไม่ทำงาน และอาการจะหายได้ก็ต่อเมื่อเส้นประสาทมีการสร้างปลายประสาทขึ้นมาใหม่ และเนื่องจากพิษชนิดนี้ไม่เข้าสู่สมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยจึงไม่มีอาการของระบบประสาทส่วนกลางเกิดขึ้น

สาเหตุของโรคโบทูลิซึม

การกินเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไป แล้วแบคทีเรียปล่อยพิษออกมา (Intes tinal botulism) โดยปกติ หากคนกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียซึ่งยังไม่ผลิตสปอร์เข้าไป กรดและน้ำย่อยชนิดต่างๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้ของเราสามารถทำ ลายเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ได้ แต่ในเด็กทารก โดยเฉพาะที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน พัฒนาการของระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ แบคทีเรียซึ่งเข้าสู่ทางเดินอาหารได้แล้ว จึงสามารถแบ่งตัวสร้างสปอร์ และปล่อยพิษออกมาได้ เพราะในลำไส้ของคนเราอยู่ในสภา วะที่ไม่มีออกซิเจน

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อแบบนี้ มาจากน้ำผึ้ง ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปีกินน้ำผึ้ง เว้นแต่จะนำไปปรุงและผ่านความร้อน นอกจากนี้ในผู้ใหญ่ที่มีโรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ๆ ก็จะมีโอกาสได้รับพิษ หากกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้เช่นเดียวกับในเด็กทารก

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่อาการแสดงน่าสงสัยว่าจะเป็นโรคโบทูลิซึม จะต้องได้รับการรักษาล่วงหน้าไปก่อนได้รับวินิจฉัยยืนยันว่า อาการเกิดจากโรคนี้ เนื่องจากการรอผลการตรวจหาพิษ Botulinum toxin เพื่อยืนยันใช้เวลามากกว่า 1 วัน หากรักษาล่าช้า จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้

สำหรับอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากอาหารคือ ประมาณ 5-10% โดยผู้สูงอายุมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อย, ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากการมีบาดแผล อัตราการเสียชีวิตจะมากกว่า คือประมาณ 15-17% และสำหรับในเด็กทารก โอกาสเสียชีวิตจากโรคโบทูลิซึมจะน้อย คือน้อยกว่า 1% อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน

 

เครดิต : haamor.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะการสัมผัสจากคนแปลกหน้า

อาหารป้อนลูกน้อย 9 อย่าง ที่คุณแม่และคุณพ่อต้องระวัง

 

บทความจากพันธมิตร
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม
แชร์ :
  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ