X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ชั่วโมงเตรียมคลอดลูก (แบบใช้ยากระตุ้น)

บทความ 3 นาที
ชั่วโมงเตรียมคลอดลูก (แบบใช้ยากระตุ้น)

ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะมีลูกในอนาคตอันใกล้นี้ หรือแค่อยากรู้เกี่ยวกับการชักนำการคลอดโดยใช้ยา คุณไม่ควรพลาดบทความนี้ เขียนขึ้นจากเรื่องจริงของผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ได้รับยากระตุ้นเพื่อให้เจ็บท้องก่อนคลอด เล่าทุกช็อตแบบนาทีต่อนาที

คลอดลูก ใช้ยากระตุ้น

การคลอดลูกโดยใช้ยากระตุ้นให้เจ็บครรภ์

โดยส่วนตัวฉันไม่ชอบการรับยาเพื่อกระตุ้นให้คลอดด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก ฉันเคยได้ยินมาว่าการรับยากระตุ้นจะทำให้เจ็บปวดกว่าการเจ็บท้องคลอดตามธรรมชาติมาก และเนื่องจากฉันนิยมการคลอดแบบธรรมชาติไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด ฉันเกรงว่าฉันจะเปลี่ยนใจได้ง่าย ๆ ถ้าจะต้องเจ็บขนาดนั้น

ประการที่สอง ฉันเชื่อว่าร่างกายของผู้หญิงถูกออกแบบมาเพื่อให้คลอดลูกได้เองตามธรรมชาติ และการให้ยาใด ๆ จะยิ่งเป็นการทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น และประการสุดท้าย ฉันเชื่อว่าเราใช้ยากระตุ้นมากเกินจำเป็นในกรณีที่ไม่ได้ฉุกเฉิน ท้องแรกของฉันคลอดตามที่แพลนไว้ โดยไม่ได้ใช้ยาใด ๆ เป็นการคลอดที่ง่าย ไร้ปัญหา

แต่ท้องที่สองกลับเป็นคนละเรื่อง ฉันไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องรับยากระตุ้นให้คลอด ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังทั้งหมดเกี่ยวกับชั่วโมงเตรียมคลอดโดยใช้ยาที่ฉันประสบมา

กำหนดรับยากระตุ้น

ช่วงครรภ์อายุได้ 37 สัปดาห์ ความดันของฉันเริ่มสูง คุณหมอบอกฉันว่าอาจต้องคลอดโดยใช้ยากระตุ้นช่วยถ้าความดันของฉันยังไม่ลด หรือฉันไม่เจ็บท้องคลอดเองในเร็ววัน แต่หมอไม่ได้นัดหรือพูดอะไรมากกว่านั้น ฉันจึงไม่ได้คิดอะไรมาก ฉันเลยค่อย ๆ ทำนู่นนี่เพื่อหวังจะลดความดันลง หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ความดันของฉันก็ยังไม่ลด คุณหมอเลยพูดถึงการให้ยากระตุ้นอีกครั้ง แต่จะตรวจอะไรบางอย่างก่อนเผื่อจะหาสาเหตุของความดันสูงได้ ไม่นานโรงพยาบาลก็โทรมาแจ้งผลการตรวจ

ต้นตอของปัญหาความดันยังไม่ชัด แต่บังเอิญตรวจพบว่าร่างกายฉันมีปริมาณโพแทสเซียมในระดับต่ำมากโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อหัวใจของฉัน (และเด็กในท้อง) เมื่อไปพบคุณหมอครั้งถัดมา คุณหมอนัดวันให้ยากระตุ้น 1 สัปดาห์หลังจากนั้น แต่ลอกเยื่อออกเพื่อให้ฉันเจ็บท้องคลอดเองตามธรรมชาติ ฉันภาวนาให้วิธีนี้ได้ผลเพราะใจก็ยังไม่ชอบวิธีให้ยาอยู่ แต่ถ้าจะต้องทำเพื่อให้ตัวเองและลูกปลอดภัย ก็คงต้องใช้

บทความเกี่ยวข้อง: 14 วิธีใน14วัน เพื่อเร่งการเจ็บท้องคลอด

ใกล้วันรับยา

เมื่อคุณหมอนัดวันรับยาแล้ว ฉันมีเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่จะรอให้ปวดท้องเอง ฉันพยายามทำทุกอย่างที่คิดได้เพื่อให้เจ็บท้อง แต่ไม่ได้ผลสักอย่าง รู้อีกทีก็ถึงวันนัดซะแล้ว ฉันประหม่ามาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าการคลอดโดยรู้ล่วงหน้านี้ทำให้หลาย ๆ อย่างง่ายขึ้น ฉันแพ็คข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นและมีเวลาตรวจตรา ชาร์จแบตกล้องและ โทรศัพท์มือถือพร้อม ทำความสะอาดบ้าน จัดของเตรียมต้อนรับสมาชิกใหม่ และที่สำคัญที่สุด เอาลูกสาวคนโตของฉันไปฝากไว้ที่บ้านพี่สาวพอดิบพอดี จะได้มีเวลาอยู่กับลูกทั้งวันก่อนจะพาไปส่ง เพราะการเจ็บท้องคลอดเองมักเกิดขึ้นกลางดึก ทำให้ไม่มีเวลาทำอะไรสักอย่าง

18 ธันวาคม 2555

หลังจากที่นอนไม่หลับมาทั้งคืน (ใครจะไปนอนหลับล่ะคะ?) ฉันตื่นตั้งแต่ตีห้าครึ่ง และโทรไปโรงพยาบาลเพื่อคอนเฟิร์มว่าฉันจะไปแอดมิทเข้าในอีกหนึ่งชั่วโมง เผื่อโรงพยาบาลต้องทำคลอดคนที่เจ็บท้องเองเยอะและไม่มีห้องให้ฉัน แต่โรงพยาบาลบอกว่ามีห้องพอ ฉันเลยแอบผิดหวังเล็ก ๆ ในที่สุดฉันก็ได้เข้าห้องเตรียมคลอดตอนแปดโมงครึ่ง ขั้นตอนเริ่มจากการให้ยาที่ชื่อพิโตซิน

ฉันรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวแทบจะในทันที ตอนแรกก็ไม่เจ็บ แทบจะไม่รู้สึก แต่มันบีบมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมดลูกบีบตัวตามธรรมชาติ มันจะค่อย ๆ บีบแรงขึ้นช้า ๆ โดยแทบจะไม่รู้ถึงความแตกต่าง แต่การบีบจากการรับยากระตุ้น มดลูกจะบีบแรงขึ้นมากทุกครั้งจนรู้สึกได้ชัด ประมาณ 10 โมง คุณหมอก็มาเจาะถุงน้ำและเริ่มทำคลอด พยาบาลเช็คดูว่าฉันไปถึงไหนแล้ว ปรากฏว่าไปได้ประมาณครึ่งทางแล้ว ณ จุดนั้นฉันรู้สึกเจ็บจนแทบจะหมดสติ ฤทธิ์ของยาพิโตซินนี่มันร้ายกาจจริง ๆ

แล้วความสนุกก็เริ่มขึ้น

11.30 น. หนึ่งชั่วโมงครึ่งหลังจากเจาะน้ำ และสามชั่วโมงหลังเริ่มเจ็บท้อง พยาบาลก็มาเช็คอีกครั้ง ฉันยังคงอยู่ครึ่งทางเหมือนเดิม ความเจ็บมันมากเกินจะทน จนฉันเปลี่ยนใจมาพึ่งยาแก้ปวด เพราะระลึกว่าถ้าต้องทนความเจ็บระดับนี้ไปอีกนาน ฉันต้องหมดสติแน่ พยาบาลซึ่งรู้ว่าชั้นไม่ต้องการบล็อกหลังเสนอจะให้ยาแก้ปวดแทน ยาแก้ปวดจะช่วยลดความเจ็บปวด ต่างจากการบล็อกหลังซึ่งจะทำให้ชา ฉันตอบตกลงหลังจากเช็คแล้วว่ามันจะหมดฤทธิ์ก่อนที่จะต้องเบ่ง และมันจะไม่ทำให้ชา ฉันถามพยาบาลว่านานแค่ไหนกว่ายาจะออกฤทธิ์ เธอตอบว่าประมาณ 15 นาที สิบนาทีต่อมา ฉันกำลังเบ่ง และ 5 นาทีถัดมา ลูกสาวฉันก็ลืมตาดูโลก ฉันเบ่งแค่สามครั้งสั้น ๆ เท่านั้น เธอก็ออกมาสู่โลกภายนอก ยาแก้ปวดออกฤทธิ์หลังจากที่เธอเกิดไม่นาน ฉันดีใจที่มันไม่ได้ออกฤทธิ์ก่อนที่เธอจะออกมา ช่างโชคดีซะนี่กะไร

ลูกสาวของฉันสมบูรณ์แข็งแรง สรุปเรื่องสยองเกี่ยวกับยากระตุ้นทั้งหลายที่ฉันได้ยินมาก็เป็นจริงทุกประการ คนอื่น ๆ อาจจะประสบเหตุการณ์ต่างกันไป แต่ถ้าให้เทียบกับท้องแรกที่ฉันคลอดเอง ครั้งหลังนี่แย่กว่าเยอะ อย่างไรก็ตามการคลอด และการฟื้นฟูหลังคลอดก็ง่ายกว่ามาก

บทความจากพันธมิตร
10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดไม่ควรทำอะไร กิจกรรมแบบไหน อาจสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ตลอดกาล
10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดไม่ควรทำอะไร กิจกรรมแบบไหน อาจสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ตลอดกาล
เพราะ “สมองของเด็กผ่าคลอด” สำคัญเท่ากับ “ภูมิต้านทาน” เรื่องต้องรู้ ที่ แม่เตรียมผ่าคลอด อาจไม่เคยรู้!!
เพราะ “สมองของเด็กผ่าคลอด” สำคัญเท่ากับ “ภูมิต้านทาน” เรื่องต้องรู้ ที่ แม่เตรียมผ่าคลอด อาจไม่เคยรู้!!
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด
รู้ก่อนพร้อมก่อน 5 สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องรู้ก่อนผ่าคลอด และ เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอดให้สวยเนียน
รู้ก่อนพร้อมก่อน 5 สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องรู้ก่อนผ่าคลอด และ เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอดให้สวยเนียน

สุดท้าย การมีเวลาวางแผนทำให้ทุกอย่างพร้อมและเรียบร้อย ทั้งสองวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ถ้าเลือกได้ ฉันก็ขอเลือกแบบธรรมชาติดั้งเดิมดีกว่าค่ะ

บทความน่าสนใจ: ระยะต่างๆของการคลอดลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ชั่วโมงเตรียมคลอดลูก (แบบใช้ยากระตุ้น)
แชร์ :
  • ราคาแพ็คเกจคลอดปี 2557 ของโรงพยาบาลในกทม.

    ราคาแพ็คเกจคลอดปี 2557 ของโรงพยาบาลในกทม.

  • ของที่ต้องเตรียมก่อนคลอด ประสบการณ์จากกุมารแพทย์ คุณแม่ลูกสอง

    ของที่ต้องเตรียมก่อนคลอด ประสบการณ์จากกุมารแพทย์ คุณแม่ลูกสอง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ราคาแพ็คเกจคลอดปี 2557 ของโรงพยาบาลในกทม.

    ราคาแพ็คเกจคลอดปี 2557 ของโรงพยาบาลในกทม.

  • ของที่ต้องเตรียมก่อนคลอด ประสบการณ์จากกุมารแพทย์ คุณแม่ลูกสอง

    ของที่ต้องเตรียมก่อนคลอด ประสบการณ์จากกุมารแพทย์ คุณแม่ลูกสอง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ