X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์กันไว้ดีกว่าแก้

บทความ 3 นาที
ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์กันไว้ดีกว่าแก้

การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันป้องกันไว้ก่อน เพราะถ้าเกิดเป็นหัดเยอรมันขึ้นมาตอนท้องโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะพิการมีมากกว่า 50% ทีเดียว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโรคหัดเยอรมันกันก่อนดีกว่านะคะ

ทำความรู้จักโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเป็นไวรัส RNA จัดอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus ที่ติดจากการสัมผัสโดยตรงต่อสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกและปากของผู้ติดเชื้อ มีระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วัน  หลังจากสัมผัสเชื้อโรคโดยระยะเวลาแพร่กระจายเร็ว คือ 7 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้น  จนถึง 7 วันหลังจากที่ผื่นขึ้น

อาการโรคหัดเยอรมัน

จะพบว่ามีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  ปวดศีรษะ  ตาแดง  คออักเสบ  จากนั้นและมีผื่นแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามตัว  และจะมีต่อมน้ำเหลืองโตมักจะเป็นบริเวณหลังหูและลำคอ  นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของการติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อหัดเยอรมันเนื่องจากก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้ก่อน  เชื้อจะติดต่อถึงทารกในครรภ์ได้และมีความเสี่ยงสูงที่ทารกจะพิการแต่กำเนิด

การวินิจฉัยของแพทย์

ภาวการณ์ติดเชื้อหัดเยอรมันจากอาการต่าง ๆ อาจสังเกตได้ยากและมีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ  เนื่องจากการแสดงอาการต่าง ๆ สามารถพบได้ในโรคติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย  ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้นและมีประวัติการสัมผัสโรคหัดเยอรมันในช่วงอายุครรภ์ก่อน 16 สัปดาห์ และได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน  โดยการตรวจในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มักจะตรวจพบได้ในวันที่ 5 หลังจากที่ผื่นขึ้น  ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการดูแลต่อไป

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน

1.โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน MMR โดยฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9 – 15 เดือน  ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 – 6 ปี

2.กรณีหญิงที่แต่งงานหรือมีความตั้งใจจะมีบุตร  หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน  ควรฉีดก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 วัน  และในระหว่างที่ฉีดนี้ควรคุมกำเนิดไว้ก่อน

3.ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันควรหยุดเรียนหรือลางาน  พักผ่อนอยู่บ้านเป็นเวลา 7 วัน หลังจากที่ผื่นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น

4.ทารกที่คลอดออกมาและได้รับการวินิจว่าเป็นโรคหัดเยอรมันตั้งแต่กำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการพาไปที่สาธารณะจนถึงอายุ 1 ปีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น  เนื่องจากเด็กทารกนี้จะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว

5.ผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมันหรือผู้ที่ฉีดวัคซีนโรคหัดเยอรมันมาแล้วจะมีภูมิคุ้มไปตลอดชีวิต  แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อหัดเยอรมันได้อีกแต่จะไม่แสดงอาการออกมา

Advertisement

มาดูกันต่อว่าการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันควรทำเมื่อไร  และหากไม่ได้ฉีดและตั้งครรภ์จะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร >>

ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์กันไว้ดีกว่าแก้

หัดเยอรมันเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการโดยทั่วไปจะคล้ายโรคหวัด คือ มีไข้ และมีผื่นขึ้นตามตัว หากคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ 3-4 เดือนแรก เชื้อไวรัสจะทำให้เด็กทารกเกิดความพิการในอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น หู ตา หัวใจ แขน ขา และสมอง

ข้อแนะนำ เมื่อคู่แต่งงานคิดที่จะมีบุตร ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันแต่เนิ่น ๆ โดยฉีดแล้วควรเว้นระยะการมีบุตรออกไป 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้วัคซีนหัดเยอรมันสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เนื่องจากวัคซีนเชื้อไวรัสหัดเยอรมันที่นำมาฉีดนั้นเป็นชนิดวัคซีนเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนแรง เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาภายใน 60 วัน และเชื้อไวรัสจะถูกทำลายจนหมด ภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะอยู่คงทนในร่างกายและเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสหัดเยอรมันเข้ามา ระบบภูมุคุ้มกันจะทำลายไวรัสได้ จึงไม่ก่อให้เกิดโรคและคุ้มครองได้ตลอดชีวิตของคุณแม่

หากตั้งครรภ์แล้วแต่ไม่ได้ฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน
หากตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกคุณแม่ต้องระมัดระวังตัวเองให้มาก ควรหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะหรือหลีกเลี่ยงผู้ที่มีเชื้อหวัดไอ จาม เพราะนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของหัดเยอรมันได้ เพราะหากได้รับเชื้อในช่วง 3-4 เดือนมีอัตราเสี่ยงสูงที่ทารกจะคลอดออกมาพิการได้

กรณีในช่วงไตรมาสสุดท้ายเกิดเป็นโรคหัดเยอรมันขึ้นมา ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะโรคนี้จะไม่สามารถทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้ เพราะร่างกายของลูกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว อย่างไรก็ตามควรพูดคุยปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อความสบายใจดีกว่าค่ะ
จะเห็นว่าโรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังเจริญเติบโตในช่วง 3 – 4 เดือนแรก อย่างไรก็ตามกันไว้ดีกว่าแก้ เมื่อคู่แต่งงานวางแผนที่จะมีบุตร คุณผู้หญิงควรไปปรึกษาแพทย์และฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันเสียก่อน แต่อย่าลืมนะคะต้องคุมกำเนิดก่อนเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้เชื้อจากวัคซีนสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย หลังจากนั้นการตั้งครรภ์ก็จะหายห่วงปลอดโรคหัดเยอรมันแน่นอนค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก mothersdigest.in.th

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ก่อนตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

เตรียมความพร้อมอย่างไรเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์กันไว้ดีกว่าแก้
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว