X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จริงหรือกับ 9 ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่

บทความ 3 นาที
จริงหรือกับ 9 ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่จริงหรือกับ 9 ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่

หลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการให้นมแม่ และนี่คือความเชื่อที่เป็นการบอกต่อ ๆ กันมา จะผิดถูกอย่างไร มาดูกัน

เรื่องใหญ่สำหรับคุณแม่ทุกคนก็คือ การให้นมแม่ หลายต่อหลายครั้ง ที่เรามักจะได้ยินความเชื่อต่าง ๆ นา ๆ จากการบอกเล่า บ้างก็จริง บ้างก็ไม่จริง และนี่คือ 9 ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ที่เอามาฝากกัน

การให้นมแม่

1. หน้าอกเล็ก ผลิตน้ำนมได้น้อย ... หลายต่อหลายครั้ง ที่เรามักจะได้ยินคำถาม และข้อสงสัยว่า หน้าอกเล็กจะสามารถผลิตน้ำนมได้หรือ? จริง ๆ แล้ว ขนาดของหน้าอกนั้นไม่ได้มีส่วนกับการผลิตน้ำนมเลยค่ะ หน้าอกจะเล็กหรือว่าใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันในเต้านม แต่ส่วนที่สร้างน้ำนมนั้นคือ ต่อมและท่อน้ำนม ผู้หญิงทุกคนจะมีในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้น น้ำนมจะผลิตได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการกระตุ้นด้วยกันทั้งสิ้น

2. อย่าลืมล้างหัวนมก่อนให้ลูกดูดทุกครั้ง ... อย่าลืมนะคะว่า นมแม่ไม่ได้สกปรกเหมือนกับจุกนมยาง ดังนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องล้างหัวนมบ่อย ถ้าจะล่างก็ควรล้างอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง โดยการใช้น้ำอุ่นชุบสำลีเช็ดเบา ๆ พออย่าใช้สบู่ล้างนะคะ

3. ถ้าน้ำนมแม่เปลี่ยนเป็นสีชมพู ส้ม แดง และน้ำตาล อย่าให้ลูกทานเด็ดขาด ... ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำนมแม่สามารถเปลี่ยนเป็นสีตามที่กล่าวมาแล้วได้ อันเกิดจากอาหารที่ทานเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น น้ำผลไม้ที่มีแดงอย่างบีทรูท เป็นต้น แต่หากเลือดในเต้านมเกิดรั่วไหลออกมาในท่อน้ำนม น้ำนมก็สามารถเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีสนิมได้ ซึ่งอาการแบบนี้เราเรียกว่า ภาวะท่อสนิม (Rusty Pipe Syndrome) สามารถให้ลูกทานได้นะคะ ไม่เกิดอันตรายใด ๆ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหยุดการให้นมลูก แต่ถ้าหากเลือดไหลไม่หยุดนานกว่าสองหรือสามวัน แนะนำว่าควรไปปรึกษาแพทย์จะดีกว่าค่ะ

4. หยุดให้นมลูก ถ้าหากยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ... เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะช่วยลดผลเสียของควันบุหรี่ต่อปอดของทารก ดังนั้นถ้าหากคุณแม่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้จริง ๆ การสูบบุหรี่แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ย่อมจะดีกว่าการสูบบุหรี่แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมผสมนะคะ

5. ไม่ควรให้นมลูกหลังออกกำลังกาย ... ไม่คุ้มหรอกค่ะ ถ้าจะต้องหยุดให้นมลูกหลังจากการออกกำลังกาย ถึงแม้ว่าเหงื่อจะออกเยอะแค่ไหนก็ตาม ถ้าหากลูกอยากทานก็ให้เขาทานเลยค่ะ แต่ถ้าหากคุณแม่กลัวว่าจะสกปรก ก็อาจจะเช็ดหรืออาบน้ำก่อนก็ได้นะคะไม่ว่ากัน

6. หยุดให้นมลูกทันที ถ้าหากลูกเกิดท้องเสีย ... ไม่ต้องกังวลไปหากจู่ ๆ ลูกก็ท้องเสียขึ้นมา ตราบใดที่ยังเลือกให้ลูกทานนมแม่อยู่ ด้วยนมแม่มีสารภูมิต้านทานที่นมผงไม่มี ทั้งยังมีสารที่ทำให้เยื่อบุผิวงอกขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เยื่อบุลำไส้ที่ถูกเชื้อโรคทำลายไป ก็ฟื้นตัวได้เร็วเช่นกัน เพราะนมแม่คือ ยาที่ดีที่สุดของลูก ดังนั้น ไม่ต้องกังวลใจไปสามารถให้ลูกทานนมแม่ต่อไปได้เลยค่ะ

7. ไม่สามารถให้นมลูกได้หลังจากที่คุณแม่ไปฉีดวัคซีนมา ... ถ้าหากคุณแม่ไปฉีดวัคซีนคอตีบมาก็สามารถให้นมลูกได้ตามปกตินะคะ อาจจะมีก็แต่วัคซีนบางชนิดที่คุณแม่ให้นมลูกไม่สามารถฉีดได้ เพราะอาจจะส่งผลกับลูกของเรา ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจไปฉีดวัคซีนใด ๆ ลองปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งนะคะ เพื่อความแน่ใจ

8. นมแม่ไม่มีธาตุเหล็กมากพอ ... เชื่อไหมคะว่า น้ำนมแม่มีธาตุเหล็กมากเพียงพอจนถึงลูกอายุหกเดือน ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องป้อนอาหารเสริมก่อนช่วงเวลาดังกล่าว แต่หลังจากหกเดือนไปแล้ว ธาตุเหล็กในนมน้ำนมอาจลดน้อยลง คุณแม่ก็จะต้องเริ่มป้อนอาหารเสริมให้กับลูก เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่คบถ้วนแล้วมากเพียงพอต่อร่างกาย

9. นมแม่หมด เพราะร่างกายหยุดผลิต ... นมแม่หด ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ท่อน้ำนมอุดตัน นมเป็นไต เครียด หรือไม่ค่อยได้ปั๊นมนมออก เป็นต้น และการที่น้ำนมหด ก็ไม่ได้แปลว่าร่างกายหยุดผลิต ทำให้เราต้องเลิกให้นมลูก สมัยนี้มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยกู้น้ำนมแม่ให้กลับมา ไม่ว่าจะเป็นการประคบ การเจาะท่อน้ำนมที่อุดตัน หรือแม้แต่การทานยา แต่จะไม่มีอะไรเลยที่ดีไปกว่าการให้ลูกเป็นคนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตออกมา อย่าลืมนะคะ การให้นมแม่มีเคล็ดลับเพียงข้อเดียวคือ ยิ่งกระตุ้นเอาออกมากเท่าไหร่ น้ำนมแม่ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ที่มา: VeryWell

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ผลวิจัยชี้ เด็กกินนมแม่ มีพฤติกรรมที่ดีเมื่อโตขึ้น

10 เรื่องของ นมแม่ ที่คุณแม่ป้ายแดงไม่เคยรู้

rsz_parenttown_facebook_featured_image968x502

 

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • จริงหรือกับ 9 ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่
แชร์ :
  • 12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

    12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

  • สารพันความเชื่อเกี่ยวกับเด็กทารก

    สารพันความเชื่อเกี่ยวกับเด็กทารก

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • 12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

    12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

  • สารพันความเชื่อเกี่ยวกับเด็กทารก

    สารพันความเชื่อเกี่ยวกับเด็กทารก

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ