X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

งานวิจัยเผย อยากมีลูก ควรเปลี่ยนนิสัยการกินเสียใหม่

บทความ 3 นาที
งานวิจัยเผย อยากมีลูก ควรเปลี่ยนนิสัยการกินเสียใหม่

รู้สึกหิว? ถ้าคุณ อยากมีลูก และกำลังพยายามที่จะมีบุตรควรหลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะอาจปนเปื้อนสารเคมีอันตรายที่นำไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก

งานวิจัยเผย อยากมีลูก ควรเปลี่ยนนิสัยการกินเสียใหม่

ถ้าคุณกำลังพยายามที่จะมีบุตรบางทีคุณอาจต้องคิดหลายๆ รอบก่อนที่จะซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ดรับประทาน การศึกษาชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health Perspectives ได้พบความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดและ สารพาทาเลต (Phthalate) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เชื่อมโยงไปสู่โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และภาวะการมีบุตรยาก

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจโภชนาการสุขภาพแห่งชาติ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตันได้สอบถามผู้เข้าร่วมวิจัย 8,877 คน เกี่ยวกับการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีสารพาทาเลตชนิด DEHPในปัสสาวะสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด 23.8% ของและมีระดับของสารพาทาเลตชนิด DiNP สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดถึง 39%

พาทาเลตชนิด DEHP ใช้ผสมในพลาสติกพีวีซี เพื่อทำให้เนื้อพลาสติกอ่อนตัวหรือนุ่มขึ้น ได้แก่ ถุงหรือห่อพลาสติก และฟิล์มยืดสำหรับห่ออาหาร ของเล่น เครื่องมือแพทย์ รวมถึงวัสดุในงานก่อสร้าง

ส่วนพาทาเลตชนิด DINP มีอยู่ในเสื้อชุดทำสวน รองเท้า ของเล่น วัสดุก่อสร้าง

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อาหาร แต่อยู่ที่สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหารฟาสต์ฟู้ด

อยากมีลูก ควรงดอาหารฟาสต์ฟู้ด

พาทาเลตเป็นสารเคมีอุตสาหกรรมที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร หลอดสำหรับผลิตภัณฑ์นม ถุงหรือห่อพลาสติก ฟิล์มยืดสำหรับห่ออาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตอาหารฟาสต์ฟู้ด

งานวิจัยอื่น ๆ ก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าสารเคมีเหล่านี้สามารถหลุดออกจากบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากพลาสติกและสามารถปนเปื้อนลงในอาหารแปรรูปได้ เช่น เมื่อห่อแฮมเบอร์เกอร์ด้วยฟิล์มยืดห่ออาหารจาก 7 ยี่ห้อใน 7 ประเทศ พบว่ามีการปนเปื้อนของพาทาเลตที่ผิวของแฮมเบอร์เกอร์ จากฟิล์มยืด 2 ใน 7 ยี่ห้อนั้น โดยพาทาเลตจะออกมามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอาหารนั้นมีไขมันมากน้อยแค่ไหนและขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติกที่ใช้ห่ออาหารนั้นด้วย ถ้าอาหารมีไขมันมากแล้วห่อด้วยพลาสติกยี่ห้อดังแค่ไหนก็ไม่พ้นที่พาทาเลตจะออกมาปนได้ แต่ถ้าอาหารมีไขมันน้อยหากใช้ภาชนะพลาสติกที่มีคุณภาพดี โอกาสที่พาทาเลตจะหลุดออกมาปนกับอาหารก็จะน้อยเช่นกัน

แต่ไม่ว่าอาหารนั้นมีไขมันด้วยหรือไม่ก็ตาม พาทาเลตก็มีโอกาสหลุดจาก พลาสติกออกมาปนกับอาหารได้เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีในการผลิตพลาสติกยังไม่ดีพอ

ผู้เชี่ยวชาญจาก Health Care With-out Harm: HCWH ประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า จากการทดสอบผลของพาทาเลต DEHP ในสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการหลาย ๆ แห่งได้ผลตรงกันว่า สารนี้จะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย คือ จะไปรบกวนอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ตับ ไต ปอด ระบบสืบพันธุ์ ฯลฯ และในกรณีที่รุนแรงสามารถทำให้เซลล์ในร่างกายก็กลายพันธุ์ ไปเป็นมะเร็งในที่สุด

ได้ทราบแล้วนะคะว่า สารเคมีที่ชื่อว่าเจ้า พาทาเลต เป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ และมีความสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยาก ดังนั้น หากคุณกำลังพยายามมีบุตร ควรเปลี่ยนนิสัยการกิน หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารพาทาเลตในบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านั้นค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com, tpa.or.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ปฏิบัติการหาช่วงเวลาตกไข่ สำหรับคนอยากมีลูก

11 อาหารเพิ่มพลังเซ็กส์สำหรับคนอยากมีลูก

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • งานวิจัยเผย อยากมีลูก ควรเปลี่ยนนิสัยการกินเสียใหม่
แชร์ :
  • ประจำเดือนผิดปกติ แบบไหนส่อมีบุตรยาก

    ประจำเดือนผิดปกติ แบบไหนส่อมีบุตรยาก

  • เปลี่ยนนิสัยการกินเพิ่มพลังสมอง

    เปลี่ยนนิสัยการกินเพิ่มพลังสมอง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ประจำเดือนผิดปกติ แบบไหนส่อมีบุตรยาก

    ประจำเดือนผิดปกติ แบบไหนส่อมีบุตรยาก

  • เปลี่ยนนิสัยการกินเพิ่มพลังสมอง

    เปลี่ยนนิสัยการกินเพิ่มพลังสมอง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ