เมื่อหนูอยากออกมาจากท้องแม่แล้ว พัฒนาการของลูกในครรภ์
ตลอดเก้าเดือนที่ลูก ๆ ต้องอยู่ในท้อง ในช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ เวลาที่ลูกดิ้น ยืดเส้นยืดสาย คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกมากนัก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกตัวใหญ่ขึ้น ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ท้องแม่นั้นคับแคบเกินไปแล้ว ลูก ๆ ก็คงจะอยากออกมาเจอโลกกว้างกันแล้วล่ะค่ะ แต่ก่อนหน้านั้นเจ้าตัวเล็กจะอยู่ยังไงในท้องแม่กันนะ พัฒนาการของลูกในครรภ์ จะเป็นยังไงบ้าง ?
เมื่อหนูอยากออกมาจากท้องแม่แล้ว พัฒนาการของลูกในครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 1-4 (1 เดือน)
พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนแรกนี้ คือการที่อสุจิได้เข้าปฏิสนธิกับไข่ และเคลื่อนตัวเข้าไปฝังอยู่ในโพรงมดลูก แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนวณวันที่จะคลอดจากวันสุดท้ายที่คุณผู้หญิงมีประจำเดือน หากคู่รักจำไม่ได้ว่าช่วงเวลาวันใดที่มีการผสมปฏิสนธิ
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 5-8 (2 เดือน)
เดือนที่สองของการตั้งครรภ์เป็นระยะหนึ่งที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการทารกในครรภ์และจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวอ่อนหลายอย่าง
-
- หัวใจเต้น
- จังหวะหัวใจเต้นสามารถมองเห็นได้ทางอัลตราซาวน์
- อวัยวะหลัก (สมอง ปอด ท้อง ตับ) เริ่มก่อตัวในช่วงเดือนนี้
- ตุ่มแขนขาปรากฏให้เห็น
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 9-12 (3 เดือน)
ในช่วงเดือนที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์ของคุณคือจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นทารก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นในครรภ์อีกนะ
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16 (4 เดือน)
พัฒนาการทารกในครรภ์ คือ ลูกน้อยของคุณสร้างอินซูลินและน้ำย่อยของตนเองได้บ้างแล้วและปัสสาวะใส่น้ำคร่ำในปริมาณเล็กน้อยทุก ๆ 45 นาที ฟันทุกซี่ก่อตัวครบ และมีกระทั่งแนวเส้นผมบนหนังศีรษะด้วย
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20 (5 เดือน)
พัฒนาการทารกในครรภ์ คือ เวลานี้ตัวอ่อนจะยาว 8 นิ้ว เรียกได้ว่าขนาดเท่ากระต่ายตัวเล็กๆ ผิวลูกจะมีไขเคลือบปกป้องเรียกว่าไขหุ้มทารกและมีขนอ่อนชุดแรกขึ้นคลุมตามตัว ไตของลูกผลิตปัสสาวะแล้วและจะขับถ่ายออกสู่น้ำคร่ำรอบ ๆ ตัว
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24 (6 เดือน)
ลูกน้อยของคุณตัวโตแล้วและน้ำหนักจะอยู่ที่ราว 0.5 กิโลกรัมเมื่อครรภ์อายุได้ 24 สัปดาห์ ยังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนะ นอกเหนือจากผิวเหี่ยวย่นสีออกแดง ความยาวตัวอยู่ที่ 28-35 เซนติเมตรและหนัก 0.5 กิโลกรัมแล้ว ลูกน้อยของคุณดูเหมือนเด็กทั่วไปทุกประการ แม้รูปร่างจะยังผอมบางอยู่แต่ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เปลือกตาทั้งสองข้างกำลังปริแยกเตรียมพร้อมสำหรับวันที่จะลืมตามาดูโลก
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28 (7 เดือน)
พื้นที่เริ่มกลายเป็นปัญหาต่อลูกน้อย ลูกอาจจะกลับเอาศีรษะลงด้านล่างขณะพยายามหาท่าที่ถนัดสบายตัว ลูกมองเห็นแล้ว แต่ภาพที่เห็นจะยังเป็นเพียงแสงมัว ๆ ลูกยังได้ยินเสียงด้วยแม้ว่าเสียงที่ได้ยินจะออกอู้อี้ก็ตาม ยามที่คุณกับสามีพูดคุยกัน ลูกจะค่อย ๆ คุ้นเคยกับเสียงของคุณทั้งคู่
นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณยังรับรสได้ แต่รสของน้ำคร่ำจะเจือจางมาก อาหารที่คุณทานอาจเปลี่ยนรสชาติน้ำคร่ำ ซึ่งก็จะทำให้ลูกคุ้นกับประเภทของอาหารที่คุณทาน ปอดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจและการเคลื่อนไหวของลูกทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลังกาย ในช่วงเดือนนี้สมองและระบบประสาทจะมีการเจริญเติบโตขนานใหญ่และลูกเริ่มควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้บ้างแล้วด้วย
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32 (8 เดือน)
- ม่านตาของลูกหดและขยายตามแสง
- ลูกสามารถลืมตาและหลับตาได้ตามต้องการ
- เล็บยาวจนถึงปลายนิ้ว
- พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33 เป็นต้นไป (9 เดือนขึ้นไป)
ช่วงนี้คือช่วงที่คุณจะรู้สึกตัวเองใหญ่เป็นพิเศษ อะไร ๆ ก็บวมไปหม เพราะเป็นช่วงเวลาของการเตรียมพร้อมที่จะคลอด
เมื่อหนูอยากออกมาจากท้องแม่แล้ว พัฒนาการของลูกในครรภ์
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ความรู้เรื่องการดิ้นของทารกในครรภ์ไว้ว่า การดิ้นของทารกน้อย โดยทั่วไปแล้วทารกน้อยจะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง จะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทารกที่ต่อเนื่องมากกว่า 20 วินาที จากการศึกษาพบว่า
1. อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 200 ครั้งใน 12 ชั่วโมง
2. ทารกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทารกจะดิ้นประมาณ 575 ครั้งใน 12 ชั่วโมง
3. หลังจากนั้นทารกจะดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 282 ครั้งใน 12 ชั่วโมง
การหลับ การตื่น ของทารกในครรภ์
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ความรู้เรื่อง การหลับ การตื่นของทารกในครรภ์ ดังนี้ ทารกในครรภ์จะมีช่วงหลับและช่วงตื่นไม่ตรงกับคุณแม่ ช่วงระยะเวลาการนอนหลับของทารกต่อ 1 รอบนาน 20 นาทีถึง 75 นาที นอกจากนี้ทารกในครรภ์ยังมีการดิ้นในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน พบว่า ทารกจะดิ้นมากระหว่างเวลา 21.00 – 01.00 น. เวลาที่ทารกดิ้น คือเวลาที่ทารกตื่น
เมื่อหนูอยากออกมาจากท้องแม่แล้ว พัฒนาการของลูกในครรภ์
เห็นพัฒนาการของลูก ๆ ว่าพวกเขาอยู่ในท้องคุณแม่กันอย่างไร เติบโตขึ้นแค่ไหน ในเวลาตลอด 9 เดือนแล้วในครรภ์ เห็นอย่างนี้แล้ว แม่ ๆ คงตื่นเต้นกันมากทีเดียว แต่เชื่อเถอะค่ะว่า เจ้าตัวน้อยก็คงจะตื่นเต้นไม่แพ้กัน
_________________________________________________________________________________________
ที่มา : Pregnancy VDO
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ ตลอด 9 เดือน ต้องทำอะไรบ้าง
วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน ลูกพัฒนาการช้ามีลักษณะอย่างไร เช็คเลย!
พัฒนาการทารก 9 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!