X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 วิธีให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบ

บทความ 5 นาที
8 วิธีให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบ8 วิธีให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบ

แม้ว่าแม่ทุกคนจะมีความตั้งใจให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกคลอด และหวังไว้ว่าอย่างน้อยจะให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนกระทั่งอายุครบ 1 ขวบหรือมากกว่านั้น แต่เอาเข้าจริงด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้มีคุณแม่หลายคนที่ล้มเลิกความตั้งใจนี้ไว้กลางครัน หนึ่งในสาเหตุนั้นอาจะเป็นเพราะสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ที่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมการให้ลูกกินนมจากอกแม่มากพอ

กินนมแม่จนครบขวบ สมาคมกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาและองค์กรทางการแพทย์อื่น ๆ ได้แนะนำอย่างชัดเจนว่า ทารกควรจะได้กินนมแม่จนกระทั่งอายุครบ 1 ขวบ แต่ถึงอย่างนั้นก็พบว่ามีแม่ลูกอ่อนในสหรัฐอเมริกาเพียง 16% เท่านั้นที่ยังคงให้ลูกกินนมแม่จนลูกอายุ 1 ขวบ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่อาจทำให้คุณแม่มีทางเลือกที่ง่ายกกว่าเมื่อเกิดปัญหาหรือความลำบากในการให้นม การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของทารกที่กินนมจากอกแม่ ซึ่งแตกต่างจากการกินนมอื่นอย่างมหาศาล

ถึงแม้จะมีเหตุผลมากมายที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกจนถึง 1 ขวบ แต่สำหรับคุณแม่ที่มีความตั้งใจจริงและตั้งเป้าในการให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบหรือนานกว่านั้น ลองดูวิธีนี้กันค่ะ

กินนมแม่จนครบขวบ

กินนมแม่จนครบขวบ

8 วิธีให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบ

#1 ส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ

เข้าใจว่าคุณแม่มือใหม่ไม่มีประสบการณ์ให้นมลูกคนแรกมาก่อน และหลักในแนวทางทฤษฎีการให้นมแม่ก็คงไม่เหมือนกับการปฏิบัติ ดังนั้นการขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มี่ความรู้หรือจากเพื่อนคุณแม่ที่ประสบการณ์เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่มาก่อน จะช่วยทำให้คุณแม่เข้าใจและมั่นใจในการให้ลูกดูดนมได้มากขึ้น

#2 กล้าที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ในที่สาธารณะ

ในช่วงแรก ๆ คุณแม่มือใหม่อาจจะรู้สึกเคอะเขิน และไม่มั่นใจเมื่อต้องให้นมลูกในที่สาธารณะ และหากจะใช้วิธีลดการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือต้องคอยปั๊มนมเก็บเพื่อให้ลูกดูดจากขวด ก็จะเป็นการจำกัดสายสัมพันธ์ของการให้ลูกได้กินนมจากอกแม่ จึงเป็นเหตุให้คุณแม่หยุดให้นมลูกก่อนหนึ่งปี ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมจากเต้าในที่สาธารณะได้ง่ายที่สุด คือ การใช้เสื้อให้นม เพื่อสร้างความมั่นใจในช่วงแรก ๆ ให้ลองฝึกหัดการเปิดเสื้อขึ้นจากด้านล่างหน้ากระจกดูว่า สิ่งที่คนอื่นเห็นเป็นอย่างไร และนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่เลยหากคุณแม่จะมีช่วงเวลาที่ให้ลูกได้กินนมแม่ในที่สาธารณะยามเมื่อต้องมีกิจกรรมออกนอกบ้าน

#3 หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมหรือจุกนมเทียม

ถึงแม้การให้ทารกได้กินนมแม่จากขวดนมลูกจะได้รับสารอาหารจากนมแม่เช่นกัน แต่ผลจากการดูดขวดนมของทารกหรือสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเต้านมแม่อย่างจุกนมเทียม จะมีโอกาสทำให้เกิดการหย่านมเร็วกว่าที่ควร อาจจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงเนื่องจากเต้านมได้รับการกระตุ้นน้อยลง และอาจจะส่งผลต่อระยะเวลาของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ลดลง

#4 ให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วม

คงไม่ลืมไปนะว่าคุณพ่อเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในขณะให้นม แต่การมีส่วนร่วมในการให้นมลูกโดยใช้ขวดที่แม่ปั๊มน้ำนมไว้บ่อย ๆ ก็อาจนำไปสู่การหย่านมได้เร็วกว่าที่ควร การหาวิธีที่ทำให้คุณพ่อสามารถมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์พ่อลูกได้นั้นยังมีอีกหลากหลาย เช่น การน้ำให้ลูก หรือการนวดตัว เล่นกับลูกแบบสบตากัน ฯลฯ เหล่านี้ก็จะช่วยสร้างความผูกพันที่ดีระหว่างกันได้ แถมยังเป็นการช่วยให้คุณแม่ได้มีเวลาพักผ่อนได้มากขึ้น

เคล็ดลับให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบหรือนานกว่านั้น หน้าถัดไป >>

กินนมแม่จนครบขวบ

ทารกควรจะได้ กินนมแม่จน กระทั้งอายุ 1 ขวบ แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ที่อาจทำให้ คุณแม่ มีทางเลือกที่ง่ายกกว่า

#5 กำหนดตารางเวลาประจำวัน

การให้ลูกได้กินนมของคุณแม่แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของทารกแต่ละคน และลักษณะการกินนมจากอกแม่ของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเมื่อเขาโตขึ้น คุณแม่หลายคนอาจพบว่าลูกน้อยไม่ได้กินนมแม่ระหว่าง 10-15 นาทีทุกครั้ง หรือควรให้ลูกได้กินนมแม่ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง กำหนดการเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่ต้องคอยกำลังวลเรื่องการให้นมจนอาจทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้ แต่สำหรับคุณแม่มือใหม่ในช่วงแรก การกำหนดตารางเวลาขึ้นมาสำหรับการเลี้ยงลูกในแต่ละวัน เช่น การให้นม การอาบน้ำ พาไปเดินเล่น เล่นกับลูก อ่านหนังสือ จะช่วยให้คุณแม่หาจังหวะที่เหมาะสมกับตัวเอง และเว้นช่วงให้ทารกมีความต้องการนมแม่มากขึ้นเมื่อถึงเวลากินของลูก

#6 รับรู้สัญญาณของการอดนมประท้วง (Nursing Strike)

มีบางช่วงเวลาที่ทารกจะรู้สึกอยากกินนมจากอกแม่มากขึ้นหรือน้อยลง แต่ก็ไม่ได้ความว่านั่นเป็นสัญญาณที่ลูกอยากจะหย่านมก่อนอายุ 1 ขวบ แต่อาจเป็นเพราะทารกกำลังมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ จนทำให้พวกเขาสนใจที่จะกินนมจากเต้าน้อยลง หรือที่เรียกว่า “อดนมประท้วง” (Nursing Strike) เช่น ตอนที่ทารกเริ่มจะเคลื่อนไหวเองได้และมีสิ่งเร้ารอบๆ ตัวมากขึ้น บางสิ่งอาจจะดึงดูดความสนใจของพวกเขาไปจากการกินนมจากอกแม่ ซึ่งจะพบได้บ่อยในทารกช่วงอายุ 3-8 เดือน หรือการพบว่าลูกปฏิเสธที่จะกินนมจากอกแม่เพราะมีอาการป่วย ฟันขึ้น มีสิ่งที่ทำให้เขาไม่สบายใจ

วิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ทารกสนใจกินนมจากอกแม่ในช่วงนี้ เช่น การให้ลูกได้กินนมแม่ถี่ขึ้น พาลูกไปกินนมในห้องที่แสงสว่างน้อย ประโยชน์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่จนถึง 1 ขวบยังคงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีความสำคัญต่อทารกมาก หากมันจะทำให้คุณแม่เหนื่อยเพิ่มอีกนิดแต่ก็คุ้มค่าที่จะพยายามทำให้ลูกหยุดกินนมแม่จากอกไปในช่วงนี้

กินนมแม่จนครบขวบ

ทารก ควรจะได้ กินนมแม่จนกระทั้งอายุ 1 ขวบ แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ที่อาจทำให้ คุณแม่ มีทางเลือกที่ง่าย กว่า

#7 ตั้งเป้าไว้ทีละวัน

คุณแม่ที่ตั้งใจวางแผนให้ลูกได้กินนมจากอกแม่ยาวนานถึง 1 ปีหรือมากกว่านั้น แต่อาจจะยังรับมือกับสถานการณ์ในช่วงแรกที่คุณแม่มือใหม่พยายามให้นมไม่ได้ จึงท้อและกลัวว่าจะทำตามเป้าที่วางไว้ไม่ได้ และเริ่มที่จะมองแผนการหย่านมในอนาคตข้างหน้า อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจไปล่วงหน้าอย่างนั้น แต่ลองจัดการไปทีละวัน ให้นมลูกในแต่ละวันด้วยความรักและความต้องการที่จะให้ลูกได้เติบโตอย่างแข็งแรงจากการได้กินนมแม่จากอก เพียงเท่านี้ลูกก็จะมีโอกาสได้กินนมแม่นานถึง 1 ขวบอย่างแน่นอน

#8 การให้นมจากอกคือ ความสุข

เพราะลูกจะเป็นทารกได้เพียงครั้งเดียว ช่วงเวลาที่ให้นมจากอกลูกจะยาวนานเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น หมายความว่าในช่วงเวลานี้ที่ลูกได้กินนมจากอกแม่ คุณจะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับลูกน้อยได้เต็มที่ที่สุด ได้หอมกลิ่นทารกจากตัวลูก และการได้โอบกอด ปลอบโยน จะ ส่งผลสู่พัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดีของลูกได้ การได้เห็น “น้ำนม” สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของแม่แต่ละหยดที่ลูกดูดออกจากเต้า เท่านี้คุณแม่ก็หาความสุขอื่นใดมาเปรียบไม่ได้แล้ว

ดังนั้นในช่วงเวลาที่คุณแม่พยายามให้ลูกได้กินนมจากอกให้ยาวจนถึง 1 ปีหรือมากกว่านั้น ควรพยายามที่จะไม่คิดว่าการให้ลูกกินนมจากอกแม่มีความเจ็บปวด หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของที่จะขวางกั้นระหว่างอกแม่กับลูก นี่คือเคล็ดลับของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ และที่สำคัญคุณแม่ควรให้นมลูกด้วยความสบายใจและมีความสุข โดยไม่ต้องมีความกังวลว่าจะให้นมลูกในที่ใดได้บ้าง และเชื่อว่าหากคุณแม่ร้องขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้นมลูกนั้นยากที่จะมีใครปฏิเสธได้.

ขอบคุณที่มา : www.breastfeedingthai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เจาะลึกคุณค่าในนมแม่ อาหารสุดวิเศษสำหรับทารก
ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 8 วิธีให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบ
แชร์ :
  • เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

    เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

  • กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

    กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

    เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

  • กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

    กำไรเห็น ๆ ที่ทั้ง “แม่ลูก” จะได้รับจากการให้ “นมแม่”

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ