X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 เรื่องเกี่ยวกับ การใช้ยาในเด็ก ที่แม่มักทำพลาด

16 Aug, 2016

คุณหมอเตือน 8 ข้อผิดพลาดในการป้อนยาลูกที่พบบ่อย เช็คด่วน! คุณเคยพลาดในเรื่องเหล่านี้หรือเปล่า คลิก start gallery เพื่ออ่านเนื้อหาหน้าถัดไปค่ะ

8 เรื่องเกี่ยวกับการใช้ยาในเด็กเล็ก ที่แม่มักทำพลาด

8 เรื่องเกี่ยวกับการใช้ยาในเด็กเล็ก ที่แม่มักทำพลาด

เวลาที่เจ้าตัวน้อยเจ็บไข้ ไม่สบาย คนเป็นแม่ย่อมอยากจะให้ลูกหายป่วยโดยเร็ว แต่คุณแม่รู้ไหมการใช้ยาในเด็กนั้นมีรายละเอียดที่คุณแม่อาจนึกไม่ถึงและมักทำพลาด ซึ่งอาจกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

คุณหมอ Pradeep Raut จาก Kinder Clinic ประเทศสิงคโปร์ ได้ให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาในเด็กเล็ก ที่คุณแม่มักทำพลาดไว้ดังนี้

1. ให้ยาซ้ำซ้อนเมื่อลูกเป็นหวัด

1. ให้ยาซ้ำซ้อนเมื่อลูกเป็นหวัด

เมื่อลูกเป็นหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คุณแม่อาจรีบพุ่งไปร้านขายยาเพื่อซื้อยาแก้ไข้ และยาแก้หวัด มาป้อนให้กับเจ้าตัวน้อย แต่คุณหมอ Raut บอกว่า ยาบางชนิดใช้กับอาการที่ต่างกัน แต่อาจมีตัวยาชนิดเดียวกัน เดียวกัน เช่น ในยาแก้ไข้มีตัวยาพาราเซตามอล และในยาแก้หวัดก็อาจมีตัวยาพาราเซตามอลเช่นเดียวกัน ทำอาจให้ได้รับยาเกินขนาดที่แนะนำ เช่น ยาทิฟฟี่ ประกอบด้วย พาราเซตามอล สำหรับบรรเทาอาการปวด ลดไข้, คลอร์เฟนิรามีน สำหรับบรรเทาอาการแพ้ ลดน้ำมูก, และเฟนิลเอฟริน สำหรับบรรเทาอาการคัดจมูก

ดังนั้น คุณแม่จึงควรดูตัวยาที่ฉลากก่อนซื้อยา และปรึกษาเภสัชกรเพื่อความมั่นใจ หากไม่ได้พาเจ้าตัวน้อยไปพบคุณหมอ

2. หยุดยาปฏิชีวนะเร็วเกินไป

2. หยุดยาปฏิชีวนะเร็วเกินไป

คุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ทำพลาดในเรื่องนี้ อาจเพราะเห็นว่าเจ้าตัวน้อยอาการดีขึ้นแล้วจึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะแล้ว เช่น คุณหมอสั่งให้ทาน 10 วัน ก็ทานเพียง 5 วันแล้วหยุดเอง

การที่คุณหมอจ่ายยาปฏิชีวนะก็เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ หากหยุดยาเร็วเกินไปจะทำให้เชื้อโรคยังไม่ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น จึงมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

คุณหมอ Raut อธิบายเพิ่มเติมว่า เชื้อโรคต่างๆ มีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่างกัน และระยะเวลาในการใช้ยาปฏิชีวนะขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อแต่ละชนิด เชื้อที่เจริญเติบโตช้าก็จะใช้เวลานานกว่ายาปฏิชีวนะจะฆ่ามันได้อย่างสมบูรณ์ และโรคติดเชื้อแต่ละโรคก็จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษาในเวลานานแตกต่างกัน ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณแม่ได้ยาปฏิชีวนะมา ควรให้ลูกกินจนหมด แม้ว่าเจ้าตัวน้อยจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตามค่ะ

3. ให้ลูกกินยาโดยไม่จำเป็น

3. ให้ลูกกินยาโดยไม่จำเป็น

คุณแม่ส่วนหนึ่งให้ลูกกินยาโดยไม่จำเป็นและผิดวัตถุประสงค์ เช่น ป้อนยาแก้ไอน้ำเชื่อม ที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนแก่ลูกเพราะอยากให้ลูกนอนหลับง่าย หากคุณเคยทำแบบนี้ ขอให้คุณแม่อ่านทางนี้ค่ะ นักวิจัยจากวิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์พบว่า ยายอดนิยมบางชนิดที่คุณแม่มักป้อน เพื่อให้ลูกนอนหลับง่ายนั้นอาจทำให้ลูกซนกว่าปกติ (ไฮเปอร์แอกทีฟ) ได้

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ เพื่อให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับง่ายคือ ของเล่น หนังสือ นมอุ่นๆ และความอดทนระดับ 10 ต่างหากค่ะ

4. คำนวณปริมาณยาจากอายุของลูก

4. คำนวณปริมาณยาจากอายุของลูก

คุณหมอ Raut แนะนำว่า การคำนวณปริมาณยาจากอายุของลูกอาจทำให้ลูกได้รับยาน้อยหรือมากเกินขนาด ซึ่งทั้งสองแบบล้วนเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

ร่างกายของเด็กมีความสามารถในการเผาผลาญยาที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำหนักของลูก ไม่ใช่อายุ คุณหมออธิบายว่าความแตกต่างนี้จะส่งผลอย่างชัดเจนในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ การศึกษาพบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติสามารถเผาผลาญคาเฟอีนและยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน ได้เร็วกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยตามเกณฑ์ ซึ่งหมายความว่า เด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าต้องการยาในปริมาณที่มากกว่าที่ระบุไว้ในฉลาก แต่ก็อาจไม่ใช้หลักการนี้ได้กับยาทุกชนิด

หากลูกของคุณมีน้ำหนักมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในช่วงอายุนั้นๆ ควรปรึกษากุมารแพทย์ถึงวิธีการคำนวณปริมาณยาตามน้ำหนักของลูกที่ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่ลูกจะได้รับขนาดยาที่ถูกต้อง ไม่มากเกินขนาดจนเป็นอันตรายและไม่น้อยเกินไปจนไม่หายจากโรคค่ะ

5. ใช้ช้อนอื่นตวงยา

5. ใช้ช้อนอื่นตวงยา

ความจริงก็คือ ยา 1 ช้อนของแต่ละบ้านไม่เท่ากัน จากการศึกษาของ the International Journal of Clinical Practice พบว่า ปริมาณยาเมื่อตวงด้วยช้อนที่ใช้ในครัวเรือนอาจมากกว่า 2-3 เท่าของช้อนยา ซึ่งอาจทำให้ลูกได้รับยาเกินขนาด

คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการตวงยาด้วยช้อนชาและช้อนโต๊ะในครัวเรือน แล้วหันมาตวงยาด้วยไซริงค์หรือช้อนยามาตรฐานจากโรงพยาบาลแทน จะสามารถลดความผิดพลาดในการตวงยาได้ถึงครึ่งหนึ่ง

6. ป้อนยาถี่เกินไป

6. ป้อนยาถี่เกินไป

ความผิดพลาดที่มักพบบ่อยเกิดจากการใช้ยาลดไข้ เมื่อคุณแม่ป้อนยาลดไข้ลูกแล้ว แต่อีกหนึ่งชั่วโมงต่อว่าพบว่าไข้ยังไม่ลด จึงให้ยาซ้ำอีกครั้ง ผลก็คือ ลูกน้อยได้รับยาเกินขนาด ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

คุณแม่ควรรอให้ครบ 4-6 ชั่วโมงจึงป้อนยาลดไข้เจ้าตัวน้อยอีกครั้ง และไม่ควรป้อนยาพาราเซตามอลมากกว่า 4 ครั้งใน 24 ชั่วโมง วิธีช่วยจำง่ายๆ คุณแม่สามารถทำได้โดยการจดบันทึกชั่วโมงที่ป้อนยาแต่ละครั้งเอาไว้ค่ะ

7. ให้ยาเมื่อมีไข้ต่ำ

7. ให้ยาเมื่อมีไข้ต่ำ

เมื่อลูกมีไข้ แสดงว่าร่างกายกำลังทำงานอย่างหนักในการต่อสู้กับเชื้อโรค หากเจ้าตัวน้อยมีไข้ต่ำๆ คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการให้ยา เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสต่อสู้กับเชื้อโรคด้วยตัวเองก่อน ซึ่งจะช่วยให้ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

หากเจ้าตัวน้อยมีไข้ต่ำ ควรใช้วิธีอื่นเพื่อบรรเทาอาการก่อน เช่น การเช็ดตัวลดไข้โดยเน้นบริเวณหน้าผาก คอ และรักแร้

ข้อควรระวัง สำหรับลูกน้อยแรกเกิด หากมีไข้ควรรีบพาไปพบคุณหมอโดยเร็ว แม้จะมีเพียงไข้ต่ำๆ ก็ตาม และทารกวัยแรกเกิดถึง 1 เดือน ไม่สามารถใช้ยาลดไข้ได้นะคะ

8. ใช้ยาสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน โดยไม่ได้แจ้งให้คุณหมอทราบ

8. ใช้ยาสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน โดยไม่ได้แจ้งให้คุณหมอทราบ

เนื่องจากยาสมุนไพร และยาแผนปัจจุบันแต่ละชนิดนั้นมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน หรือแตกต่างกัน บางครั้งหากใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ร่วมกัน อาจทำให้การออกฤทธิ์ของยาลดลง หรือเพิ่มขึ้น จนเกิดอันตรายได้

หากลูกใช้ยาสมุนไพรอยู่ และคุณหมอจะจัดยาแผนปัจจุบันให้ คุณพ่อคุณแม่ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทุกครั้งนะคะ ว่าใช้ยาอะไรอยู่บ้าง เช่นเดียวกันหากลูกใช้ยาแผนปัจจุบันอยู่ ก็ควรแจ้งให้คุณหมอที่จะจัดยาสมุนไพรทราบด้วยทุกครั้งค่ะ เพื่อที่จะได้ไม่ได้รับยาที่อาจซ้ำซ้อนกัน หรือต้านฤทธิ์กันได้ค่ะ

อ่านจบแล้ว คุณแม่ท่านไหนไม่เคยทำพลาดเลยบ้างคะ ดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ขอปรบมือให้ดังๆ เลยค่ะ

ถัดไป
img

บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 8 เรื่องเกี่ยวกับ การใช้ยาในเด็ก ที่แม่มักทำพลาด
แชร์ :
  • สไตล์เลี้ยงลูกของพ่อแม่ 12 ราศี ใช่แบบนี้หรือเปล่า

    สไตล์เลี้ยงลูกของพ่อแม่ 12 ราศี ใช่แบบนี้หรือเปล่า

  • 7 เรื่องสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ที่แม่มักทำพลาด

    7 เรื่องสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ที่แม่มักทำพลาด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สไตล์เลี้ยงลูกของพ่อแม่ 12 ราศี ใช่แบบนี้หรือเปล่า

    สไตล์เลี้ยงลูกของพ่อแม่ 12 ราศี ใช่แบบนี้หรือเปล่า

  • 7 เรื่องสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ที่แม่มักทำพลาด

    7 เรื่องสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ที่แม่มักทำพลาด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ