เมื่อลูกน้อยเริ่มเข้าสู่วัย 15-16 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเป็นคนไข้ เป็นลูกค้า เป็นนางฟ้า เป็นยักษ ฯลฯ ของลูกน้อยเข้าให้แล้ว เด็ก ๆ ในวัยเตาะแตะจะเกิดจินตนาการจากความคิดและสร้างบทบาทสมมติให้กับตัวเอง เมื่อคุณพ่อคุณเข้าใจถึงพัฒนาการในช่วงนี้ของลูก อย่ารีรอที่จะสวมบทเหล่านั้นไปกับลูก ๆ ด้วยนะคะ
คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็น การเล่นบทบาทสมมติ ของลูกน้อยได้ในช่วงวัยเตาะแตะหรืออายุตั้งแต่ 15-16 เดือน และจะเริ่มเล่นบทบาทสมมติซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการตามวัย เช่น เริ่มนำตุ๊กตามาสมมติเป็นน้อง โดยเลียนแบบจากคุณแม่ที่ดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น มีการป้อนนม ใส่ผ้าอ้อม ก่อนนอน หรือสมมติว่าตัวเองเป็นคุณหมอ เป็นพ่อแม่ลูก เป็นแม่ค้าขายของ เป็นคุณครูนักเรียน หรือสมมติว่าเป็นเจ้าหญิง ซูเปอร์ฮีโร่ในการ์ตูน หรือนำของเด็กเล่นมาสมมติเป็นสิ่งของอีกอย่างหนึ่ง เช่น สมมติว่ารีโมททีวีเป็นโทรศัพท์ หรือนำของเล่นมาต่อกันยาว ๆ แล้วสมมติว่าเป็นรถไฟ เป็นต้น โดยชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทยได้ให้ข้อมูลว่า การเล่นบทบาทสมมติ (Pretend play / Dramatic play) คือ การเล่นที่เด็ก ๆ สมมติและแสดงบทบาทที่ตนเองไม่ได้เป็นอยู่จริงนั่นเอง
บทความที่น่าสนใจ : แชร์ให้แม่รู้ 5 กิจกรรม เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับลูกรัก
ประโยชน์ 4 ด้านจากการเล่นบทบาทสมมติของลูก
- พัฒนาการด้านภาษาเด็ก ๆ จะได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในการบอกเล่าเรื่องให้พ่อแม่ฟัง และพยายามที่จะแสดงบทบาทของตนเองออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจ
- พัฒนาการด้านสังคมลูกจะเรียนรู้การเล่นร่วมกับผู้อื่น เคารพบทบาทของผู้อื่น รู้จักกติกา และเรียนรู้ว่าเมื่อตนเองอยู่ในบทบาทนั้น ๆ จะรู้สึกอย่างไร
- พัฒนาการด้านความคิดเด็ก ๆ จะได้ใช้จินตนาการและเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น หรือใช้ความคิดในการแก้ปัญหา โดยในส่วนนี้พ่อแม่อาจจะร่วมเล่น ด้วยการตั้งคำถาม หรือว่าสร้างอุปสรรค ให้ลูก ๆ ลองใช้ความคิด ยิ่งมีจินตนาการกว้างไกล เรื่องราวการเล่นของเด็กก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น
- ส่งเสริมทางด้านศีลธรรม จริยธรรม การเล่นบทบาทสมมติกับลูกถือเป็นช่วงเวลาคุณภาพของการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีงาม และเป็นโอกาสที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถสอนสิ่งต่าง ๆ สอดแทรกไปกับการเล่นของลูกได้ง่ายขึ้น เช่น การแบ่งปัน การมีน้ำใจ การไม่ขี้แกล้ง ไม่โกหก เป็นต้น
นอกจากการเล่นบทบาทสมมติของลูกจะเกิดประโยชน์สำหรับลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถทดสอบความผิดปกติของพัฒนาการลูกได้จากการเล่น ซึ่งคุณหมอพัฒนาการเด็กจะใช้เรื่องการเล่นบทบาทสมมติ เป็นหนึ่งในวิธีประเมินพัฒนาการเด็กว่ามีอาการของออทิสติก หรือไม่ด้วย เพราะการเล่นบทบาทสมมตินั้น ต้องมีพัฒนาการหลายด้านประกอบกัน ดังนั้นหากสังเกตว่าลูกไม่มีการสร้างบทบาทสมมติตามช่วงวัย เล่นบทบาทสมมติไม่เป็น หรือเล่นแบบไม่เหมาะสมกับวัย ก็อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กซึ่งควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รีวิวความสนุกของเจ้าตัวเล็กเมื่อไป “คิดส์ซาเนีย”
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกอย่างสมวัย
ลูกชอบเล่นนอกบ้านทั้งวัน ดีหรือไม่ดี การเล่นนอกบ้านมีประโยชน์อย่างไร ?
ที่มา : brainfit, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!