X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

บทความ 5 นาที
ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

ปวดประจำเดือนมาก เป็นสิ่งที่กวนใจสาว ๆ อย่างมาก บางคน ปวดประจำเดือนน้อย บางคน ปวดประจำเดือนมาก และ บางคนก็ปวดจนตัวงอ จนไม่สามารถ ลุกขึ้นมาทำกิจวัตรประจำวัน หรือการทำงานได้ แล้วการปวดแบบไหน ถึงจะบอกว่า เป็นอาการปวดประจำเดือนที่ผิดปกติ

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

อาการ “ปวดประจำเดือน” มาจากไหน

สาว ๆ หลายคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า " ประจำเดือน " ก็คือ การลอกตัว ของเยื่อบุโพรงมดลูก แต่สิ่งที่เราไม่เคยรู้ นั่นก็คือ ระหว่างการลอกตัวนี้ จะมีสารอยู่ตัวหนึ่ง ที่ชื่อว่า Prostaglandins ที่ทำให้ มดลูกทำการบีบตัว ซึ่งปกติ มดลูกก็จะบีบตัวเป็นจังหวะ และจะมีอาการปวดบีบ แต่จะปวดมาก - ปวดน้อย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

ปวดเล็กน้อย ไม่ซีเรียส

การปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนรอบเดือนมา ประมาณ 1 - 2 วัน โดยจะปวดบริเวณกลางท้องน้อย ที่มาจาก การปวดตามธรรมชาติ ของมดลูก ที่บีบตัวไล่ประจำเดือนออกมา ลักษณะอาการปวด จะปวดท้องส่วนล่าง ปวดร้าวไปถึงหลัง หรือต้นขาได้ ซึ่งอาการนี้ พออายุมากขึ้น อาการก็จะลดลง

หากคุณ มีอาการปวดลักษณะนี้ นับว่า เป็นอาการปวดประจำเดือน แบบธรรมชาติ ซึ่งพบได้ทั่วไป และไม่เป็นอันตราย แต่อย่างใด

ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม

ปวดมาก ปวดจนตัวงอ อย่านิ่งนอนใจ

อาการปวดแบบนี้ จะเกิดจากมดลูกหดเกร็ง ระดับความปวด เพิ่มขึ้นในทุก ๆ เดือน ที่ประจำเดือนมา ปวดจนตัวงอ จนไม่สามารถไปทำงานได้ บางครั้งมีอาการร่วม เช่น เจ็บเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ หรือเวลาถ่ายอุจจาระ จะมีอาการปวดร้าว ไปถึงรูทวารหนัก หากคุณมีอาการ ปวดลักษณะนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจภายใน ซึ่งอาจจะมี การตรวจพิเศษ หรือมีการอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง

ปัจจัยเพิ่มความเสื่ยงต่อโอกาสเกิดการปวดประจำเดือน มักจะพบได้มากขึ้นในกลุ่มสตรีเหล่านี้

  • อายุน้อยกว่า 20 ปี
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย ( ต่ำกว่าอายุ 11 ปี )
  • มีเลือดประจำเดือนออกมาก ( MENORRHAGA )
  • มีความเครียด หรือมีอาการซึมเศร้า ( ANXIETY , DEPRESSION )
  • อยู่ในระยะเวลาที่พยายามจะลดน้ำหนัก ( โดยเฉพาะ อายุ 14 – 20 ปี )
  • ยังไม่เคยมีบุตร
  • สูบบุหรี่จัด

เสี่ยงเป็นโรคแบบไหน

อาการปวดประจำเดือน มากจนผิดปกติ โดยมาก มักจะมีผลมาจาก เยื่อบุโพรงมดลูก เจริญผิดที่ ซึ่งเกิดจาก การที่เยื่อบุมดลูก หรือเลือดประจำเดือด ไหลออกมาไม่หมด และเกิดการ ไหลย้อนกลับเขาไปในช่องท้อง ทำให้เกิดพังผืดในช่องท้อง ท่อลำไข่ และปีกมดลูก

ถ้าเยื่อบุมดลูกนี้ เข้าไปอยู่ที่ผิวรังไข่นาน ๆ จากเยื่อบุมดลูกธรรมดา ก็จะเริ่มฝังตัว และกลายเป็นถุงน้ำ โดยภายในถุงน้ำ ก็จะมีเลือดเก่า ค้างสะสมอยู่  เลือดเก่านี้ก็จะมี ลักษณะขุ่นเข้ม คล้ายกับช็อคโกแลต เป็นที่มาของ ช็อคโกแลตซีส

ดังนั้น หากคุณมีอาการปวด ที่เข้าข่ายการเสี่ยงโรคนั้น อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี  หลายครั้งที่ไปพบแพทย์ แล้วบอกว่า " ไม่พบความผิดปกติ " ซึ่งอาการ ของโรคดังกล่าว จากการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์ อาจไม่พบ  การตรวจค้นหาสาเหตุต่อไป คือการส่องกล้อง เข้าไปในช่องท้อง เพื่อตรวจว่า ภายในอุ้งเชิงกราน มีพังผืด มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือไม่ ซึ่งสามารถผ่าตัด ผ่านกล้องรักษาได้ ในเวลาเดียวกัน  อะไรที่แอบแฝงอยู่  ตรวจหลาย ๆ ครั้ง ก็ยังมีอาการปวดอยู่  ปวดมากบางครั้งจนเป็นลม จนคนข้าง ๆ   คิดว่ามารยา หรือคิดมาก  คิดไปเอง หรือเป็นโรคประสาท  หลายคนอาจจะหลง ไปอยู่ที่คลินิกจิตเวช ก็เป็นได้

การบำบัดรักษา

  • ในกลุ่มปฐมภูมิ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพทางกาย นั้นการให้ยาแก้ปวด และการพักผ่อน ก็สามารถทำให้อาการปวดลดลงได้มาก หรือหายปวดได้ ยาที่ใช้จะอยู่ในกลุ่ม ยาแก้ปวดทั่วไป หรือ NSAID หรือ AUH PROSTAGLANDIN และในระยาว แทพย์อาจใช้ยาคุมกำเนิด รับประทานต่อเนื่องระยะหนึ่ง ยาคุมกำเนิดจะลดการสร้าง PROSLNCLANAM ของร่างกาย ก็จะมีผลให้อาการปวดประจำเดือนน้อยลง
  • ในกลุ่มทุติยภูมิ นั้นมีพยาธิสภาพทางกายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น
  • ENDOMETRIOSIS คือการที่มีเซลล์ของเยื่อบุมดลูก หลุดไปอยู่ภายนอกมดลูก เช่น ที่รังไข่ ท่อรังไข่ หรือในบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ADENOMYOSIS คือมีเซลล์เยื่อบุมดลูก เจริญเข้าไปในส่วนของผนังมดลูก ซึ่งเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ
  • PID คือ มีการติดเชื้อภายในอุ้งเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่ติดต่อโดยเพศสัมพันธ์ (STD)
  • การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) พบได้ในบางรายที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด และมักจะมีอาการปวดในช่วงเดือนแรก ๆ หลังใส่ห่วงคุมกำเนิด
  • เนื้องอกของมดลูกที่ดัน หรือยื่นล้ำเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาไปตามพยาธิสภาพที่มี เช่นให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อ เอาห่วงคุมกำเนิดออก หรือ อาจผ่าตัดรักษาในบางราย เพื่อกำจัดพยาธิสภาพเหล่านั้น ในกลุ่มที่มีพยาธิสภาพเหล่านี้ อาจมีผลต่อ การเจริญพันธุ์ โอกาสมีบุตรยาก และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

ที่มา :

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

https://www.nonthavej.co.th/Menstrual-Cramps.php

https://www.paolohospital.com/th-

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ปวดประจำเดือนมาก ผิดปกติไหม
แชร์ :
  • แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

    แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

  • คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

    คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

    แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

  • คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

    คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ