TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกไม่ยอมนอน ตื่นกลางดึกบ่อย พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?

บทความ 5 นาที
ทารกไม่ยอมนอน ตื่นกลางดึกบ่อย พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?

ทารกไม่ยอมนอน ตื่นบ่อยตอนกลางคืน เป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องเจอกันแทบทุกคน ซึ่งบางครั้งอาจสร้างความกังวลใจให้แก่เราที่กลัวว่าลูกจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรืออาจเกิดสิ่งที่ผิดปกติขึ้น ทราบหรือไม่ว่า อาการไม่ยอมของทารก สามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ทั้งความหิว สภาพแวดล้อม อาการป่วย สิ่งรบกวน หรือแม้กระทั่งการติดคุณพ่อคุณแม่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับของลูกน้อยได้ด้วย วันนี้ theAsianparent จึงได้รวบรวมสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหาที่ลูกไม่ยอมนอนมาฝากค่ะ

 

ทำไมจึงควรให้ลูกนอนหลับยาวในตอนกลางคืน

การนอนหลับยาวตอนกลางคืนนั้นดีสำหรับลูกน้อย เพราะเป็นช่วงเวลาที่ Growth Hormone หรือ ฮอร์โมนการเจริญเติบโตเริ่มทำงาน โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ หากขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้เด็กร่างกายของเด็กจะยังไม่เติบโตเต็มที่ ซึ่งบางครั้งอาจมีสภาพเหมือนเด็กอายุ 2 ขวบได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนชอบปลุกลูกตอนกลางคืนเพื่อให้ลูกมาดื่มนม เพราะกลัวลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แต่แท้จริงแล้ว การกระทำเช่นนี้เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะทำให้ Growth Hormone ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกนอนบิดตัว เกิดจากอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยหรือไม่?

 

ทารกไม่ยอมนอน

 

สาเหตุของปัญหา ทารกไม่ยอมนอน

เมื่อลูกไม่ยอมนอน หรือตื่นกลางดึกบ่อย ๆ อาจเกิดได้หลากหลายสาเหตุดังนี้

 

  • เป็นธรรมชาติของทารก

ทารกเวลาหลับจะมีอาการนิ่งเป็นปกติ แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการดิ้นไปดิ้นมา ซึ่งถือเป็นอาการธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเกิดความสงสัยได้

 

  • มีอาการป่วยหรือไม่สบาย

เด็กที่มาอาการป่วย และไม่สบาย แน่นอนว่าจะเกิดอาการไม่ยอมหลับ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ว่าลูกมีอาการตื่นนอนกลางดึก หรือร้องไห้บ่อ และนานกว่าปกติ รวมทั้งมีอาการตัวร้อน เป็นไข้ ไม่ยอมกินนม อาจเกิดอาการป่วยขึ้นได้

 

  • หิว

หากเด็กเกิดร้องไห้ในช่วงกลางดึก อาจเกิดการอาหารหิวได้ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตเสียงร้องของเด็ก หากลูกร้องเป็นจังหวะด้วยเสียงต่ำ ๆ สั้น ๆ และพยายามเอาลิ้นดุนปาก อาจเกิดจากการหิวนมได้ โดยเฉพาะยิ่งพ่อแม่ไม่สนใจ อาจทำให้พวกเขาเริ่มโกรธ และร้องหนักมากกว่าเดิมได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้นมลูกทันที เมื่อพวกเขาเกิดอาการเหล่านี้

 

  • ผ้าอ้อมเปียกแฉะ

ทารกที่มีอุจจาระหรือปัสสาวะจนส่งผลให้เกิดผ้าอ้อมเปียกแฉะ อาจทำให้เด็กส่งเสียงร้องจนไม่ยอมนอนออกมาได้ รวมทั้งอาจส่งผลให้เด็กเกิดอาการหงุดหงิด ทำท่าขยับเนื้อขยับตัว ให้คุณพ่อคุณแม่ลองเช็กผ้าอ้อมลูกดูว่ามีความเปียกแฉะหรือไม่ และถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือยัง

 

  • สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตสภาพแวดล้อมการนอนของลูก ๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากปล่อยให้ลูกนอนในบรรยากาศที่มีเสียงรบกวน และมีคนเดินผ่านไปผ่านมาทั้งวัน จะทำให้ลุกตื่นนอนบ่อยมาก ๆ แม้ว่าจะใช้เปลไกวก็ตาม พยายามเลือกห้องนอนที่เหมาะสม ไม่มีคนเดินผ่านไปผ่านมาก็จะช่วยให้พวกเขาสามารถหลับได้นาน และนอนได้สบายตัวมากยิ่งขึ้น

 

  • แพ้อาหารที่คุณแม่กิน

ทารกบางคนที่กินนมแม่อาจเกิดอาการแพ้ หายใจครืดคราด และมีอาการคันตามผิวหนัง เนื่องจากอาหารที่คุณแม่รับประทาน ไม่ว่าจะเป็นนมวัว ชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้ ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน อาจออกทางน้ำนมแม่จนทำให้เด็กแพ้ และส่งผลให้นอนหลับได้ยาก ทั้งนี้หากคุณแม่รับประทานอาหารเหล่านี้เพียงเล็กน้อย ก็อาจไม่ส่งผลในน้ำนมได้

 

  • กินเยอะมากเกินไป

เด็กบางคนที่ดื่มนมมากเกินไป อาจเกิดอาการ Overfeeding หรืออาการอึดอัด แน่นท้องจนไม่สบายตัว ซึ่งหากลูกมีอาการร้องเป็นเสียงแพะ เสียงแกะ บิดตัวไปมา ร้องเสียงเอี๊ยดอาด หรือมีเสียงครืดคราดในลำคอ อาจเกิดจากการกินเยอะมากเกินไปได้ หากลูกมีการอาเจียน แหวะนม จนพุงกางออกเป็นรูปทรงน้ำเต้า นั่นแปลว่าลูกกินเยอะมากเกินไปจนไม่สบายตัวนั่นเอง

 

  • ฟันขึ้นหรือเจ็บเหงือก

เมื่อทารกเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุ 5 เดือน อาจเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น จนทำให้รู้สึกปวดตรงเหงือก ลูกจะเกิดอาการร้องไห้พร้อมน้ำลายไหล ซึ่งอาจทำให้มีน้ำลายไหลออกมามาก นอกจากนี้เด็กจะมีเหงือกบวมแดง และกัดทุกอย่างใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นมือเท้าของตัวเอง หัวนมแม่ จนกระทั่งของเล่นต่าง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีน้ำลายไหลกว่าปกติหรือไม่ หรือมีอาการบวมแดงตรงเหงือก ก็อาจเป็นสาเหตุจากการฟันขึ้นได้

 

  • อาการโคลิค

อาการโคลิคเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกไม่ยอมนอน โดยมักจะเกิดกับเด็กที่มีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไปจนถึง 3 เดือน เมื่อทารกรู้สึกหิว เบื่อ หรือเหนื่อย ก็มักจะร้องออกมาโดยไม่ทราบสาเหตุ หากลูกเกิดร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ ตั้งแต่เย็นหรือหัวค่ำ มีเสียงร้องที่ดังแหลม และนานกว่าปกติ ให้คุณพ่อคุณแม่พิจารณาว่าลูกอาจเกิดอาการโคลิคหรือไม่ ทั้งนี้อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อลูกอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป

 

  • เรียกร้องความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจไม่ทราบว่า เมื่อลูกไม่มีคนเล่นด้วย อาจทำให้พวกเขารู้สึกเหงา เบื่อ จนร้องไห้ออกมา เนื่องจากเด็ก ๆ มักมีความสุขเมื่อมีคนคอยเล่นด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยเอาใจใส่พวกเขาเป็นพิเศษ หากลูกมีอาการไม่ยอมนอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

 

ทารกไม่ยอมนอน

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

วิธีการรับมือเมื่อ ทารกไม่ยอมนอน

  • ให้ลูกกินนมก่อนนอน จะช่วยให้เด็กหลับได้ยาวนาน ไม่หิว และตื่นกลางดึกได้
  • ใช้วิธีการห่อตัวทารก เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย อบอุ่น และรู้สึกปลอดภัย
  • อาบน้ำก่อนนอน และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ให้ลูก จะช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายตัวมากยิ่งขึ้น
  • นวดตัวเด็กเบา ๆ หรือตบก้นกล่อมนอน จะช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัว และผ่อนคลายง่ายต่อการนอนหลับได้ดี
  • อ่านหนังสือนิทานกล่อมนอน หรือร้องเพลงกล่อมนอนให้ลูกฟัง สามารถช่วยเด็กรู้สึกเพลิดเพลิน จนเคลิ้มหลับเองได้
  • ใช้จุกนมหลอก เพื่อช่วยลดอาการร้องไห้งอแงอยากกินนมในเวลากลางคืน โดยเฉพาะทารกบางคนอาจร้องไห้ขอนมทั้งที่กินไป คุณพ่อคุณแม่จึงอาจใช้จุกหลอกให้พวกเขาได้ดูดแทนการดื่มนมได้
  • จูบหน้าผากลูกก่อนนอน อาจทำให้เด็กรู้สึกถึงความรัก และความอบอุ่นจากพ่อแม่
  • หรี่ไฟในมืดสนิท และจัดห้องลูกให้ไม่มีเสียงรบกวน จะช่วยให้พวกหลับได้ยาวนานขึ้น ไม่สะดุ้งตื่นตกใจกลางดึก

 

ควรให้ลูกเข้านอนกี่โมงดี

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเข้าใจว่าการให้ลูกนอนเร็ว และนอนเป็นเวลา จะยิ่งส่งผลดี และทำให้ลูกหลับยาว แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้องซะทีเดียว การให้ลูกนอนเร็วตั้งแต่ 1-2 ทุ่ม ไม่ได้หมายความว่าลูกจะหลับยาว การนอนของลูกนั้นควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการบังคับลูกให้นอนถ้าลูกยังไม่ง่วง หรือกรณีที่ ทารกไม่ยอมนอน แต่แค่ให้นอนหลับอย่างเพียงพอ และอย่าปล่อยให้นอนดึกจนเกินไปก็พอ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การถดถอยของการนอนหลับ อาการของทารก ที่คุณแม่แทบอยากร้องกรี๊ด

ลูกนอนกระตุก ทารกนอนหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร พ่อแม่ต้องกังวลไหม?

ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย ท่านอนทารก ที่นอนทารกแรกเกิด ต้องเป็นแบบไหน

ที่มา : nappibaby, aboutmom, hellokhunmor

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

เชิญตะวัน สุวรรณพานิช

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกไม่ยอมนอน ตื่นกลางดึกบ่อย พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว