เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่ เด็กและวัยรุ่นก็เป็นได้
เนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor) คืออะไร
เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่
นพ.สุพรรณ ธรรมศรีมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เนื้องอกรังไข่อาจจะดูเหมือนเป็นโรคธรรมดาแต่สำหรับผู้หญิงแล้วไม่ควรมองข้ามโรคนี้ เนื่องจากปัจจุบันพบผู้ป่วยด้วยโรคเนื้องอกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเนื้องอกในรังไข่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ชนิดที่เป็นถุงน้ำ หรือซีสต์ (Cyst) เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในมีของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อต่างๆ
2. เนื้องอกธรรมดา หรือ Benign เป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นในรังไข่ แต่ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง
3. เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง เรียกว่า Malignant เนื้องอกชนิดนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นมะเร็งรังไข่ มีความเสี่ยงที่จะทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากเป็นในระยะที่ลุกลามแล้ว
เนื้องอกรังไข่ชนิดร้ายและไม่ร้ายจะพบในหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม สามารถพบในเด็กและหญิงวัยรุ่นสาวได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ ได้แก่ อ้วน, มีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อยกว่าปกติ (ปกติเด็กผู้หญิงไทยจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี), มีบุตรยาก, มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้, กินยาต้านฮอร์โมนเพศหญิง (Tamoxifen), และสูบบุหรี่
เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่
อาการของเนื้องอกรังไข่
พล.ร.ต.นพ. โซ่สกุล บุณยะวิโรจ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนรีเวช โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้อธิบายถึง อาการของเนื้องอกรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้ายไว้ ดังนี้
1. มีความผิดปกติของประจำเดือน หรือมีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติ
2. ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
3. ท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดลำไส้
4. ท้องโตขึ้น
5. ปวดท้องเฉียบพลัน อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเกิดการแกว่งตัวบิดขั้ว แตกออก เกิดการตกเลือด ติดเชื้อ
6. ท้องอืด เบื่ออาหาร
7. กรณีเกิดขึ้นในเด็ก ขนาดอุ้งเชิงกรานและช่องท้องเด็กมีขนาดเล็ก แม้ว่าก้อนเนื้องอกขนาดไม่โตนักก็สามารถเบียดอวัยวะใกล้เคียง ดึงรั้งเยื่อบุช่องท้อง และเอ็นยึดในอุ้งเชิงกรานตึงตัวมากขึ้น
8. เนื้องอกรังไข่ในเด็ก มักพบร่วมกับภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน โดยเฉพาะการบิดขั้วเกิดบ่อยกว่าในผู้ใหญ่ เพราะตำแหน่งของเนื้องอกอยู่ในช่องท้องมากกว่าอุ้งเชิงกราน
9. บางครั้งอาการปวดท้องมีลักษณะจำเพาะ คือ เด็กเล็กมักปวดบริเวณรอบสะดือ ส่วนเด็กโตมักอยู่บริเวณเหนือหัวเหน่าหรือท้องน้อยด้านหนึ่งด้านใดเป็นส่วนใหญ่
เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่
การรักษาเนื้องอกรังไข่
1. เมื่อคุณหมอได้ตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่า เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะรักษาด้วยยา และเฝ้าติดตามอาการว่าเนื้องอกยุบลงหรือโตขึ้น อาจจะนัดอัลตราซาวด์เป็นระยะ
2. การผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ชนิดธรรมดา คือ หากรักษาด้วยยาและติดตามการรักษาเป็นระยะแล้วก้อนไม่ยุบ โตขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนปวดเฉียบพลันจากการบิดขั้วของเนื้องอก มีการแตกของเนื้องอก มีเลือดออก คุณหมอจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด
เรื่องจริง !! เนื้องอกรังไข่
การดูแลสุขภาพร่างกายของผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หากพบความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบปรึกษาคุณหมอ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามจนเกิดอันตรายได้
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://haamor.com/th
https://www.healthcarethai.com
https://www.thairath.co.th
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หมออึ้ง! ผ่าสาวท้องโต 2 ปี พบเนื้องอกรังไข่หนัก 34 ก.ก.
ตะลึง! เข้าใจผิดคิดว่าท้อง สุดท้ายเช็กดูเป็น “เนื้องอก” หนักกว่า 16 กก.
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!