โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก
3 โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก โรคพฤติกรรมเด็ก ตัวอย่างพฤติกรรมผิดปกติของเด็กที่พบบ่อย พร้อมวิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่ แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น มาดูตัวอย่าง!
ตัวอย่างโรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก
พฤติกรรมผิดปกติของเด็กที่พบบ่อย
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยสงสัยว่าพฤติกรรมและพัฒนาการบางอย่างของลูกที่แสดงออกมานั้นผิดปกติหรือไม่เช่น พูดช้า ซน หรือดื้อ ก้าวร้าว ไม่อยู่นิ่ง เป็นความผิดปกติหรือไม่ วันนี้หมอจะมาเล่าเกี่ยวกับโรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก ที่พบบ่อย 3 โรค รวมทั้งตัวอย่างผู้ป่วย ดังนี้ค่ะ
-
โรคสมาธิสั้น พฤติกรรมผิดปกติในเด็ก
เป็นโรคความผิดปกติทางพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน โดยมีอาการหนัก 3 อย่าง คือ
วิธีสังเกตโรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก สมาธิสั้น
- ซนมาก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้บ่อย
- หุนหันพลันแล่น รอคอยไม่ได้
- ไม่มีสมาธิจดจ่อ ทำงานไม่เสร็จ
สาเหตุ : เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่ทำให้สมองส่วนควบคุมเรื่องการยับยั้งชั่งใจและสมาธิทำงานผิดปกติโดยมีสาเหตุจากทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างผู้ป่วย : น้องเอ (นามสมมติ) อายุ 6 ปี มีอุบัติเหตุจากความซนมากจนต้องไปเย็บแผลและกระดูกหักหลายครั้งตั้งแต่อายุ 3 ปี คุณครูบอกว่าไปโรงเรียนไม่ชอบนั่งเรียนอยู่กับที่ ชอบชวนเพื่อนคุยเสียงดังทั้งวัน ทำงานในชั้นเรียนมักไม่เสร็จ พูดมากผิดปกติชอบพูดแทรกผู้อื่นตลอดเวลา
-
โรคออทิสติก พฤติกรรมผิดปกติในเด็ก
เป็นโรคที่มีลักษณะเฉพาะ 3 อย่างคือ
วิธีสังเกตโรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก ออทิสติก
- ความบกพร่องของทักษะด้านภาษา จึงพูดช้า โดยมักเริ่มสังเกตได้ที่อายุ 2 ปี
- ความบกพร่องของทักษะทางสังคม ไม่สบตา ไม่มองหน้าผู้อื่น ชอบเล่นคนเดียว
- ความผิดปกติของพฤติกรรม มีความสนใจจํากัด เป็นแบบแผนซ้ำ ๆ
สาเหตุ : เกิดจากหลายปัจจัยโดยเฉพาะความผิดปกติของสมอง และสารเคมีในสมอง รวมถึงปัจจัยด้านพันธุกรรม
ตัวอย่างผู้ป่วย : น้องบี (นามสมมติ) อายุ 3 ปี ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น สวัสดีได้ คุณพ่อคุณแม่เรียกก็ไม่ค่อยหัน ชอบแยกตัวไม่เล่นกับเด็กคนอื่น ชอบเล่นรถแต่จะเล่นเฉพาะล้อรถโดยเอามาหมุนซ้ำๆ
ปัจจุบันพบลักษณะผู้ป่วยที่เป็น “ออทิสติกเทียม” คือมีลักษณะอาการคล้ายกับออทิสติก ได้แก่
- พูดช้า
- มีความบกพร่องทางด้านภาษา
- ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมไม่ดี
- มีพฤติกรรมผิดปกติ
เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมเกิดจากการขาดการกระตุ้นที่เป็นการสื่อสารสองทางจากผู้เลี้ยงดูขาดปฏิสัมพันธ์การพูดคุยหรือการทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก สาเหตุที่พบบ่อยในปัจจุบันคือ การให้เด็กอยู่กับแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือโทรทัศน์ตามลำพัง ทำให้เด็กมีการสื่อสารเพียงทางเดียว ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ จึงขาดการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและสังคม
ออทิสติกเทียมสามารถป้องกันและรักษาได้โดยผู้เลี้ยงดูให้เวลาพูดคุยและเล่นกับเด็ก ไม่ให้เด็กเล่นอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดโดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี เมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการและมีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมก็จะทำให้พฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกหายไปได้จึงแตกต่างจากเด็กที่เป็นโรคออทิสติกที่แท้จริง
-
โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน พฤติกรรมผิดปกติในเด็ก
เป็นลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกมาโดยมีความก้าวร้าว
วิธีสังเกตโรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก พฤติกรรมดื้อต่อต้าน
- ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของผู้ใหญ่
- มีอารมณ์โกรธง่าย
- มีความดื้อมากกว่าเด็กปกติทั่วไป
สาเหตุ : มักเกิดจากหลายปัจจัยทางด้านความผิดปกติของสารเคมีในระบบสมอง อีกครั้งสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูภายในครอบครัว เช่น มีการใช้ความรุนแรงกับเด็กหรือแสดงให้เด็กเห็นความรุนแรงในครอบครัวหรือครอบครัวมีปัญหา หรือผู้ใหญ่แสดงอารมณ์โกรธให้เด็กเห็นเป็นประจำ เป็นต้น
ตัวอย่างผู้ป่วย : น้องซี (นามสมมติ) อายุ 5 ปี มีอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว ตลอดเวลา ไม่ยอมทำตามกติกาต่าง ๆ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ชอบเถียงคุณพ่อคุณแม่และคุณครู โดยตะโกนใส่ผู้ใหญ่เสียงดัง เป็นประจำ
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูกมีพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก ก็ไม่ควรที่จะรีบตัดสินด้วยตนเองว่าลูกจะมีความผิดปกตินะคะ แต่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินอาการ ความรุนแรง และหาสาเหตุที่ถูกต้อง ก่อนจะวินิจฉัยว่ามีพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือไม่ โดยบางครั้งอาจต้องดูจากลักษณะพฤติกรรมของเด็ก ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และที่ห้องตรวจของคุณหมอ เพื่อที่จะได้รีบหาสาเหตุ เเก้ไข และรักษา โดยการปรับพฤติกรรม ได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
รู้กันไปแล้ว 3 โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็กที่พบบ่อย มาโหวตกันหน่อยว่า ผ้าอ้อมแบบไหนที่คุณใช้อยู่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี
สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF
4 วิธีเพิ่ม EQ ให้ลูก เพราะสมัยนี้ แค่ฉลาดอย่างเดียวไม่พอ
ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ร้องกรี๊ด อาละวาด มาครบจนแม่ปวดหัว! วิธีรับมือลูกเจ้าอารมณ์