โรคที่คนท้องต้องระวัง
คนท้องอาการแบบไหนผิดปกติ โรคที่คนท้องต้องระวัง อาการผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์ อาการแบบไหน โรคอะไร ที่แม่ท้องต้องระวัง
คนท้องต้องระวังโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคที่คนท้องต้องใส่ใจ อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน จะรู้ก็ต่อเมื่อแม่ท้องตรวจคัดกรอง ซึ่งสูตินรีแพทย์จะประเมินความเสี่ยงและกำหนดเวลาที่ควรตรวจคัดกรองเบาหวาน
สาเหตุของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเข้าไปในร่างกายแม่ท้อง ทำให้แม่ท้องบางรายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นเบาหวานได้
วิธีป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
แม่ท้องทุกคนควรฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้หมอตรวจอย่างละเอียด ยิ่งแม่ท้องที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ก็ยิ่งต้องตรวจอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน ควรไปรับการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เพื่อดูว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม เบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตราย แค่ไหน จากดราม่า! หมอให้กินน้ำตาลก่อนตรวจเบาหวาน แม่ท้องควรน้ำหนักขึ้นกี่กิโลกรัม
คนท้องต้องระวังโรคโลหิตจาง
คนท้องที่เป็นโรคโลหิตจางมักจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มึนงง หน้ามืด เวียนศรีษะและมักมีอาการเบื่ออาหาร
สาเหตุของโรคโลหิตจาง
- โรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก แม่ตั้งครรภ์มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นกว่าคนปกติ เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- เลือดจางโรคเลือดธารัสซีเมีย
วิธีป้องกันโรคโลหิตจาง
- ก่อนตั้งครรภ์ควรตรวจร่างกายว่ามีภาวะโลหิตจางหรือไม่ ถ้าเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรกินอาหารเสริมให้ร่างกายเป็นปกติก่อนจึงตั้งครรภ์ สำหรับอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก เช่น ตับ เลือดหมู นม ไข่
- ส่วนโรคโลหิตจางจากโรคเลือดธารัสซีเมียสามารถตรวจคัดกรองได้ว่าลูกจะเสี่ยงไหม โดยการตรวจเลือดของพ่อแม่ว่าเป็นพาหะหรือไม่
อ่านเพิ่มเติม ธาลัสซีเมีย พ่อแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ผลกระทบของธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์เสี่ยงแค่ไหน
คนท้องต้องระวังโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
อาการเบื้องต้นของโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มักจะมีอาการมึนท้ายทอย เวียนหัว มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัวหรือมีเลือดกำเดาไหล แต่ที่อันตรายยิ่งกว่านั้นคือ ครรภ์เป็นพิษ โรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ที่ส่งผลกระทบถึงระบบอวัยวะอื่นทั่วร่างกาย จนอาจทำให้ทั้งมารดาและทารกในครรภ์เสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบบ่อยในแม่ตั้งครรภ์อายุน้อย และแม่ตั้งครรภ์อายุมาก รวมถึงแม่ตั้งครรภ์แรก และพบได้ในการตั้งครรภ์แฝด หรือมีประวัติว่าสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์
วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
แม่ท้องควรรีบฝากครรภ์ เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด แพทย์จะได้สอบถามประวัติ ตรวจดูความเสี่ยง และป้องกันก่อนที่อาการจะรุนแรง
อ่านเพิ่มเติม โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง
คนท้องต้องระวังการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
หากแม่ท้องปัสสาวะกะปริดกะปรอย รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ส่วนสีปัสสาวะก็ทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้น เพราะบางรายมีปัสสาวะสีขุ่น หรือปัสสาวะมีเลือดปน และอาจมีกลิ่นเหม็น
สาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ระบบทางเดินปัสสาวะจะทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ท่อไตจะเกิดการยืดขยาย เคลื่อนไหวได้ช้าลงกว่าเดิม กระเพาะปัสสาวะจะมีความจุน้อยลงจากการกดเบียดของมดลูกไปดันกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงานได้ไม่ดี มีคั่งค้างนาน แต่สาเหตุอีกอย่างที่แม่ท้องควบคุมได้ คือ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
วิธีป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- คนท้องควรดื่มน้ำมาก ๆ
- อย่าอั้นปัสสาวะ การอั้นปัสสาวะนาน ๆ ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะเจริญเติบโตได้
- หลังถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
- ดูแลความสะอาดของกางเกงใน เลือกใช้ที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดเกินไป
อ่านเพิ่มเติม แม่แชร์ สูญเสียลูกเพราะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและน้ำคร่ำแห้ง
ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/ และ https://www.si.mahidol.ac.th/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แม่จ๋ารู้มั้ย..อยู่ในท้องหนูรู้สึกอะไรบ้าง 5 เรื่องจริงที่น่าอัศจรรย์ของ ทารกในครรภ์
ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงตั้งครรภ์ คนท้องต้องระวัง ครรภ์เสี่ยง
วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด
วิตามินบำรุงก่อนคลอด วิตามินเสริมคนท้องมีอะไรบ้าง วิตามินเสริมจำเป็นไหม