สิ่งที่ควรรู้! โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

เมื่อลูกน้อยถึงวัยเข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว ลูกจะได้เจอะเจอสังคมข้างนอกทำให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆมากขึ้นนอกจากคนในครอบครัว เพราะเขาจะได้มีเพื่อน มีครู ได้อยู่ในสถานที่ใหม่ ๆ ก็คือโรงเรียน ทุกอย่างแปลกใหม่สำหรับเจ้าหนู แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อดห่วงไม่ได้ การอยู่ร่วมกันของเด็ก ๆจำนวนมาก เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคมาดูกันว่าโรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาลมีโรคอะไรบ้างและมีวิธีการรับมืออย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล

1. โรคไข้หวัดธรรมดา (Common cold)

เป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 - 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล ในห้องเรียนมีเด็กอยู่กัน 20 – 30 คน แต่ละคนอาจมีเชื้อไวรัสไข้หวัดคนละชนิด รวม ๆ กันแล้วในห้องนั้นอาจมีเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันถึง 10 – 20 ชนิด เด็กในห้องนั้นก็จะหมุนเวียนกันติดเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันจนครบ ซึ่งอาจใช้เวลา 3 – 4 เดือน เรียกว่าตลอดทั้งเทอม จึงผลัดกันเป็นไข้หวัดอยู่บ่อย ๆ เมื่อรับเชื้อจนครบ ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทุกตัวที่มีอยู่ในห้องนั้น เด็กก็จะห่างหายจากไข้หวัดไปในที่สุด

โรคหวัดจะพบได้บ่อยในช่วง 2 - 3 ปีแรกที่เข้าโรงเรียนใหม่ๆ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยอนุบาล เมื่ออายุเกิน 6 ปี ก็จะเป็นหวัดน้อยลงเหลือเพียงปีละ 2 -3 ครั้ง เชื้อที่เป็นสาเหตุของหวัดส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส

อาการ

มีน้ำมูกใส ๆ ไหล จาม คัดจมูก บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว อาจมีอาการไอตามมาทีหลังได้ อาการไข้มักจะไม่สูงมากและเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน อาการหวัดมักจะหายไปเองใน 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน

การรักษา

ให้ยาแก้ไข้แก้หวัด ชนิดน้ำเชื่อม ในขวดเดียวมีตัวยาผสมกันทั้ง 2 อย่าง เช่น ยาแก้หวัดแก้ไอคลอริเอต ยาแก้หวัดแก้ไอไพร์ตอน เป็นต้น ให้กินครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร เมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดได้ แต่ถ้าอาการไม่ดี หรือมีไข้สูงมากควรพบคุณหมอค่ะ

บทความนแนะนำ เนอสเซอรี่อันตราย แอบป้อนยาให้เด็กหลับ

2. คออักเสบ/ทอนซิล อักเสบ (Pharygitis/Tonsilitis)

ทอนซิลอักเสบจากไวรัส อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ผนังคอหอยอาจมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อย ทอนซิลแดง โตเล็กน้อย อาจพบมีน้ำมูกใส ตาแดง คออักเสบ/ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ

อาจมีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน 1-3 วัน มักจะมีไข้ ผนังคอ หรือเพดานอ่อนมีลักษณะแดงจัดและบวม ทอนซิลบวมโต มีสีแดงจัด มักมีแผ่นหรือจุดหนองขาว ๆ เหลือง ๆ อยู่บนทอนซิล อาจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้า หรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษา

ถ้ามีอาการเจ็บคอหรือระคายคอ ให้ลูกรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว ควรพยายามทำความสะอาดคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ด้วยการแปรงฟันหรือกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก,น้ำเกลืออุ่น ๆ หรือน้ำเปล่าหลังอาหารทุกมื้อ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบคุณหมอเพราะอาจต้องรักษาด้วยการทานยาแก้อักเสบหรือตามที่คุณหมอวินิจฉัย

บทความแนะนำ ลูกเกือบไม่รอดเพราะโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

3. โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (viral gastroenteritis)

พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ อธิบายเกี่ยวกับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (viral gastroenteritis) ว่า เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรค ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมาก คือ เชื้อโรต้าไวรัส การติดต่อของเชื้อไวรัส เกิดจากการสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ จากการคลุกคลีกับเด็กที่มีเชื้อโดยตรงหรือการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้ออยู่แล้วเอามือเข้าปาก

บทความแนะนำ หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก

อาการ

ระยะฟักตัวหลังการสัมผัสโรคจนแสดงอาการอาจใช้เวลาสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 2 วัน เริ่มจากอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นนานประมาณ 1-5 วัน ต่อมาอาจมีถ่ายเหลว ซึ่งอาจเป็นอยู่ 2-3 วันหรือนานเป็นสัปดาห์ มักถ่ายเป็นน้ำหรืออาจมีมูกเลือด มีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษา

1. หมอจะฉีดยาแก้อาเจียนเข้ากล้ามเนื้อต้นขาหรือสะโพก แล้วสังเกตอาการประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วให้ลองจิบน้ำ ถ้าไม่มีอาเจียนอีก ให้กลับไปดูอาการต่อที่บ้านได้

2. ยาฉีดจะออกฤทธิ์นาน 6 ชั่วโมง เมื่อใกล้หมดฤทธิ์ยาฉีด ให้ยาแก้อาเจียนทานต่อเนื่องอีกประมาณ 1-2 วัน

3. ถ้าฉีดยาแล้วยังมีอาเจียนอีกหรือไม่อาเจียนแล้วแต่ไม่ยอมทานอะไรเลย หมอจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและพลังงาน

4. โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot an Mouth disease)

แรกเริ่มลูกจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่อยากกินอาหาร ในช่องปากจะพบมีจุดนูนแดง ๆ หรือมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้น ๆ เจ็บมาก ขณะเดียวกันก็มีผื่นขึ้นที่มือและเท้า ตรงฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซอกนิ้วมือ ตอนแรกจะเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำตามมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการ

มักมีอาการไข้ประมาณ 3-4 วัน แผลในปากหายภายใน 7 วัน ตุ่มที่มือและเท้าหายภายใน 10 วัน ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียน ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบ

การรักษา

1. การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ เด็กจะดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน

2. หากลูกเพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก และเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น

คำแนะนำของคุณหมอ

ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น

1. การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ

2. การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน

3. การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ

บทความแนะนำ โรคมือเท้าปากจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71-EV 71)

5. โรคตาแดง

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กระดับอนุบาล และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา ตั้งแต่เริ่มเป็น ก็อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้ตาพิการได้

อาการ

หากลูกเป็นโรคตาแดง ดวงตาของลูกจะมีขี้ตามาก โดยเฉพาะ ในช่วงเช้าๆ น้ำตาไหล เจ็บตา เคืองหรือแสบตา เกิดตุ่มเล็กๆ ขึ้นบริเวณดวงตา และอาจมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา ทำให้ตาดูแดงจัด นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคตาแดงมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อน เช่น เจ็บคอ มีไข้ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน

การรักษา

1. เมื่อคุณแม่รู้ว่าลูกน้อยเป็นตาแดง ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ไม่ควรซื้อยาทาหรือยาหยอดตาเอง

2. ส่วนเด็กที่ยังเล็กมาก การหยอดยาอาจทำได้ลำบาก คุณหมออาจให้ยาป้ายตาเพียงอย่างเดียว

3. วิธีการหยอดตาหรือป้ายตานั้น ให้คุณแม่ดึงเปลือกตาล่างลงมาพร้อมกับให้ลูกเหลือบตา มองขึ้นด้านบน ก็จะมีช่องพอที่จะให้คุณแม่หยอดยาหรือป้ายยาลูกได้ถนัดขึ้น ในเด็กเล็กอาจต้องมีคนช่วยจับศีรษะ หรือหาของเล่นมาล่อ ให้ลูกเหลือกตาขึ้นด้านบนกันลูกดิ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ถ้ามีอาการไม่สบายตาหรือตาบวมมาก คุณแม่ก็สามารถใช้น้ำแข็งประคบบริเวณรอบดวงตาให้ลูกได้ และถ้ามีขี้ตามาก ควรทำความสะอาดเปลือกตาหรือขอบตาด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด

ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับโรคติดต่อที่ลูกน้อยอาจจะต้องพบเจอเมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาล คุณแม่ควรสอนให้ลูกใช้ของใช้ส่วนตัวของตนเอง บอกลูกไม่ควรใช้แก้วน้ำ ผ้ากันเปื้อน ผ้าเช็ดหน้า หมอน ผ้าห่มของเพื่อน แม้จะห้ามยากแต่ก็ควรสอนไว้ก่อนคะ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยากก็รักษาตามอาการก่อน หากมีอาการไม่น่าไว้วางใจต้องไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูล

https://www.childrenhospital.go.th

https://www.facebook.com

https://www.bloggang.com

https://www.bumrungrad.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5 โรคติดต่อควรเฝ้าระวังในปี 2559

ทำไมเด็กๆ จึงควรได้รับวัคซีน