แม่โอด ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน ไร้วิธีแก้ไขจากครู!

เมื่อแม่เห็นลูกสาววัยประถม ต้องแบกหนังสือไปเรียนเยอะๆ ทุกวัน จึงลองเอากระเป๋านักเรียนไปชั่งน้ำหนักถึงกับอึ้ง เพราะมันหนักถึง 6 กก. 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พากันแชร์สนั่นโซเชียล เมื่อเพจ คุณแม่ยังสวย ได้โพสต์ภาพกระเป๋านักเรียนที่ ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียนทุกวันบนเครื่องชั่งน้ำหนัก

ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียนทุกวัน แม่ช่วยอะไรไม่ได้ ได้แต่สงสาร

คุณแม่คนดังกล่าว ได้โพสภาพ พร้อมข้อความว่า…

“วันนี้เอากระเป๋านักเรียน  ลูกสาว ขึ้นชั่งกิโล ตกใจมาก ลูกแค่ ป.1 ป.2 ตัวเล็กนิดเดียว แบกกระเป๋า หนัก 6 กิโล แบกแบบนี้ทุกวันค่ะ เราเป็นผู้ใหญ่ แบกยังหลังแอ่นเลย สงสารลูกมาก จัดตามตารางสอนทุกวัน ครูให้เอาหนังสือไปให้ครบ ต้องแบกไปแบกกลับ และห้ามไว้หนังสือที่ รร. อีก เห้อออ…ได้แต่สงสารทำอะไรไม่ได้การศึกษาไทย โรงเรียนอื่นเป็นมั้ยคะ ?
#แบกหนังสือไปเยอะ ๆ”

แม่โอด ลูกแบกหนังสือ 6 กก.ไปเรียนทุกวัน

แม่โอด ลูกแบกหนังสือ ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่โอด ลูกแบกหนังสือ ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน

งานนี้เล่นเอาแฟนเพจหัวอกเดียวกัน กระโจนกันเข้ามาคอมเมนท์อย่างดุเดือด ถึงระบบการศึกษาไทยที่ยังให้เด็กต้องแบกหนังสือไปเรียนตามตารางสอนทุกวัน

สาเหตุลูกปวดหลัง เกิดจากอะไรได้บ้าง

5 ที่มา ปัญหา ลูกปวดหลัง ในวัยอนุบาล

1. ที่นอนลูกไม่เหมาะกับหลัง

การที่ที่นอนของลูกแข็งหรือนิ่มเกินไปก็เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังในเด็กๆได้ คุณแม่หลายคนอาจจะคิดว่าลุกนอนมาตั้งนานทำไมเพิ่งจะมาปวด ก็เพราะช่วงนี้ลูกกำลังมีพัฒนาการทางร่างกายที่เปลี่ยนแปลงเร็ว บางครั้งที่นอนที่ไม่ถูกตามหลักสรีระก็ส่งผลได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. กระเป๋าของลูกหนักไปไหม?

เด็กอนุบาลไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเรียนมากมายให้ต้องแบกจนหนัก แต่ถ้าเป้ของลูกคุณไม่ได้มาตรฐาน นั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าตัวเล็กปวดหลังได้เช่นกันค่ะ เลือกใช้เป้สะพายหลังที่มีคุณภาพ มีที่บุรับน้ำหนักทั้งสายและแผ่ยหลังจะช่วยได้ค่ะ

3. ลูกอ้วนไปหรือเปล่า?

เด็กๆที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินก็ส่งผลให้กระดูกสันหลังและก้นกบรับภาระหนักกว่าจุดอื่นๆค่ะ จึงไม่แปลกใจเลยที่เด็กอ้วนนั้นจะมีปัยหาปวดหลัง ซึ่งอาจจะตามมาด้วยโรคอื่นๆอีกมาก เพราะสังคมไทยอยู่ในค่านิยมว่าเด็กอ้วนคือเด็กน่ารัก เลยไม่ได้มองว่าน้ำหนักที่เกินนั้นเป็นปัญหา

อย่างไรก็ตาม ตามหลักการแพทย์แล้วภาวะน้ำหนักเกินส่งผลต่อดรคร้ายมากมาย คุณแม่ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อออกแบบ เรื่องการกินของน้อง ไม่อย่างนั้นคงไม่จบที่อาการปวดหลังแน่นอนค่ะ

4. ลูกปวดเรื้อรังระวังเป็นสัญญาณร้าย

อาการปวดหลังเรื้อรังนั้นพบน้อยมากในเด็กเล็ก แต่ก็มีหลายโรคที่เกี่ยวกับข้อและกระดูกที่อาจเกิดจากพันธุกรรม โรคที่พบเจอบ่อยคือ โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งเป็นโรคที่เป็นตั้งแต่กำเนิด สามารถสังเกตได้ง่ายจากมี หลังเอียง หลังคด กระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น อายุของผู้ป่วย โดยมีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อพยายาม ทำให้กระดูกสันหลังตรงหรือไม่คดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ ใส่เฝือกหลัง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การเลือกวิธีรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน

ดังนั้นหากเจ้าตัวเล็กปวดหลังนานมากกว่า 6 สัปดาห์และการรักษาโดยแพทย์พื้นฐานไม่สามารถทุเลาอาการได้อาจจะต้องลองปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อดูค่ะ

5. ลูกปวดหลังแถมยังเหนื่อยง่าย

หากลูกมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เหนื่อยง่าย  ไม่เจริญอาหาร ปวมตามตัว อาจเป้นได้ว่าลุกมีปัญหาเกี่ยวกับไตและระบบขับถ่าย โดยตำแหน่งของไตนั้นจะค่อนไปทางด้านหลัง และเด็กเล็กจะยังไม่สามารถบ่งบอกตำแหน่งที่แน่ชัดได้ คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการน้องและรีบไปหาหมอโดยเร็วค่ะ

อาการปวดหลังของเด็กๆดุเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ด้วย ดังนั้นคุณแม่เองต้องคอยสังเกตและหาสาเหตุให้ได้ เพื่อไม่ให้เรื่องเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่นะคะ

สาเหตุแม่ปวดหลัง อุ้มลูกทีไรปวดหลังทุกที

ปวดหลังหลังคลอด เป็นอาการที่คุณแม่หลายท่านมักจะเป็น โดยเฉพาะยิ่งอุ้มลูกนานๆก็ยิ่งปวดหลังมากขึ้น ซึ่งอาการ ปวดหลังหลังคลอด นี้ จริงๆแล้วมักจะเป็นผลพวงมาตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ เมื่อลูกในท้องโตขึ้น ขนาดครรภ์ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น รวมทั้งน้ำหนักก็จะเริ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ข้อต่อต่างๆหลวมและหย่อนตัวลง กระดูกเชิงกรานที่ยึดติดกันก็จะคลายออก ทำให้เชิงกรานของคุณแม่หลวม ยิ่งขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และเพื่อเป็นการปรับสมดุลของร่างกายให้สามารถรับกับขนาดครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องยืนหรือเดิมในลักษณะที่ต้องแอ่นหลัง และเมื่อคุณแม่ต้องแอ่นหลังนานๆ จึงส่งผลให้มีอาการปวดหลังตามมาได้นั่นเองครับ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอาการส่วนใหญ่จะค่อยๆดีขึ้นหลังคลอดลูกครับ

คลอดแล้วยังปวดหลังอยู่

สำหรับคุณแม่บางท่านเมื่อคลอดแล้ว แต่ยังคงมีน้ำหนักหรือส่วนเกินหน้าท้องอยู่ ซึ่งช่วงนี้คุณแม่อาจจะยังมีอาการปวดหลังอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรงเท่ากับตอนตั้งครรภ์ครับ นอกจากนั้นแล้วท่าจากการนั่งหรือนอนโดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอดที่ต้องให้นมลูก หากอยู่ในลักษณะหรือท่าที่ไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกิดอาการปวดได้

อีกปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มีอาการ ปวดหลังหลังคลอด นั่นก็คือการอุ้มลูกนั่นเองครับ หากเป็นเด็นแรกคลอดที่น้ำหนักตัวเบาๆ การอุ้มปกติทั่วไปหรือแม้แต่การอุ้มเพื่อให้นมก็อาจจะไม่ได้ทำให้ปวดหลังมากนัก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยเริ่มโตขึ้น และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลายเท่า แต่ก็ยังร้องให้อุ้มอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังมากขึ้นได้ ไม่ต่างจากพฤติกรรมการยกของหนักอย่างอื่นเลยครับ นอกจากนั้นแล้ว การเคลื่อนไหวผิดจังหวะจากการอุ้มลูก ก็เป็นเหตุผลทำให้คุณแม่ ปวดหลังหลังคลอดได้เช่นกัน

ปวดหลังหลังคลอด อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที

อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที แบบนี้แก้อย่างไร

ในช่วง 2 – 3 เดือนแรก คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลร่างกายหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฟื้นฟูโครงสร้างของร่างกายหลังคลอด โดยวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอดมีดังนี้

  • ออกกำลังกายตามคำแนะนำของคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัด เพื่อสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เช่น เวลานั่งควรนั่งหลังตรง หากนั่งเก้าอี้พยายามนั่งให้สะโพก ไหล่ชิดพนักพิง และหาหมอนใบเล็กมารองที่บั้นเอวและต้นคอ
  • เวลานอน แนะนำให้นอนตะแคง และเอาหมอนมารองสอดไว้ระหว่างขา
  • ไม่เอี้ยวตัว หรือก้มยกของหนัก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง และอาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
  • เวลาอุ้มลูก ให้อุ้มด้านตรง เวลาจะยกลูกขึ้น ให้ย่อเข่าลงแล้วยก ไม่ใช่ก้มตัวโน้มลงมายก ใช้กำลังจากกล้ามเนื้อต้นขาตอนลุก

หากคุณแม่ดูแลร่างกายตามที่แนะนำแล้ว อาการปวดหลังหลังคลอดยังไม่ทุเลาลง มีอาการชาบริเวณขา หรือขาอ่อนแรงร่วมด้วย หรือมีอาการปวดติดต่อกันนานเกินสองเดือน ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันทีนะครับ

ที่มา : www.khaosod.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 ที่มา ปัญหา “ปวดหลัง” ในวัยอนุบาล

จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!

ท่าออกกําลังกายคนท้องแก้ปวดหลัง มาออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดหลังกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri