เร่งช่วย น้องทิว ป่วยเป็น โรคพิก้า หรือ โรคกินประหลาด กินทุกอย่างยกเว้น อาหาร
แพทย์ รพ.กำแพงเพชร แนะนำเด็ก เข้ารับการรักษาโดยด่วน เผยจากการประเมินเบื้องต้นคาดเป็นโรค พิก้า หรือ โรคกินประหลาด ผู้ป่วยมักกินทุกอย่างยกเว้น อาหาร
แพทย์หญิงอังคณา อุปพงษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.กำแพงเพชร กล่าวต่อกรณีพบเด็กอายุ 18 ใน จ.กำแพงเพชร มีพฤติกรรมกินดิน กินเศษขยะ
เท่าที่หมอดูอาการเด็ก 18 รายนี้ ลักษณะทางกายภาพ เล็กกว่า คนในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมไม่สบตา และใช้มือหยิบสิ่งของเข้าปาก แบบซ้ำ ๆ ซึ่งลักษณะแบบนี้ จะเข้าได้กับเด็ก ที่เป็นโรคออทิสติก ซึ่งตัองนำเด็ก เข้ามาตรวจดูอาการอย่างละเอียด อีกที โดยต้องดูว่า ครอบครัวให้ความอบอุ่น และดูแลอย่างไร โดยทางการแพทย์ ต้องมองหลาย ๆ อย่างประกอบไปด้วย ทั้งการให้ความอบอุ่นของครอบครัว การดูในระหว่างเลี้ยง หากครอบครัวพร้อมที่จะนำเข้ามาตรวจรักษา ทางโรงพยาบาลก็พร้อมจะให้การดูแล
ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 63 นายทรรศิน สินธุระเวชญ์ นายกสมาคมกู้ภัย ข่าวภาพกำแพงเพชร และเจ้าของโรงเรียนเพ็ชระศึกษา ได้ช่วยเหลือ ครอบครัวน้องทิว โดยการให้เข้าไปพักอยู่ที่หอพัก ของโรงเรียนในตัวเมือง เนื่องจากฝนตกหนักหลายวัน ทำให้บ้านที่อาศัยอยู่เกิดน้ำรั่วที่หลังคา จนทำให้พักอาศัยอยู่ไม่ได้ พร้อมอุปการะให้ ด.ญ.อรสา กลิ่นขจร อายุ 14 ปี น้องสาวของ น้องทิว ศึกษาต่อ จนจบปริญญาตรี
Pica
โรคพิก้า คืออะไร
แพทย์ได้อธิบาย พฤติกรรมนี้เรียกว่า โรคชอบกินของแปลก ซึ่งเป็นอาการผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยชอบกินสิ่งของแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น กระดาษ เส้นผม ดิน ไปจนถึง เศษแก้ว หรือ ตะปู
ความผิดปกติ ทางการรับประทานนี้ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Pica (พิก้า) เป็นโรคที่เกิดขึ้น ได้กับคนทั่วโลก และเกิดขึ้นได้กับ ทั้งเพศหญิง และเพศชายเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่พบการเกิดโรคนี้ในเด็กและพบร่วมกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญามากกว่าเด็กที่ป่วยเป็น Pica โดยไม่มีโรคหรือภาวะอื่นแทรกซ้อน โดยผู้ป่วย Pica ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่นั้นหาได้ยาก แต่ถ้าหากพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 18 เดือนถึง 2 ปี จะไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุนี้ยังไม่สามารถแยกแยะว่าสิ่งใดคือสิ่งที่รับประทานได้หรือสิ่งใดที่ไม่ใช่อาหารและเป็นอันตราย
สำหรับเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเราเป็นโรค Pica นี้มีดังนี้
- ต้องรับประทานสิ่งที่ไม่มีสารอาหารต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
- สิ่งที่รับประทานนั้นไม่เหมาะสมกับระดับของพัฒนาการของบุคคลนั้น
- สิ่งที่รับประทานไม่ใช่ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
- ถ้าพฤติกรรมเกิดขึ้นร่วมกับความผิดปกติด้านจิตใจ เช่น ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ จิตเภท มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการวินิจฉัยทางคลินิก
และถึงแม้โรค Pica จะพบได้ไม่มากและพบในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ผลจากโรคนี้อาจก่อให้เกิดความผิดปกติ ต่อพัฒนาการด้านร่างกาย ในวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคแล้ว จะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู ดังนั้น พ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคนี้ ดังนี้
- ดูแลสุขภาพมารดาขณะตั้งครรภ์
- การเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
- จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่ให้เด็กมีโอกาสรับประทานของที่เป็นพิษอันตราย
- การเลี้ยงดูเอาใจใส่ให้ความรักแก่ลูกอย่างเพียงพอ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : www.amarintv.com , www.pptvhd36.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
RSV ต่างกับหวัดอย่างไร? เนื่องจากโรคมีความคล้ายเคียงกัน มาดูความต่างกันเถอะ
เด็กเป็นโควิด-19 เด็กเล็กป่วยเยอะขึ้นทุกวัน ป่วยหนักเข้า ICU พ่อแม่อย่าประมาท!
4 วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ หายป่วยได้ไวขึ้น คุณแม่ไม่ต้องกังวล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!