เทคนิคการปั๊มนม ปั๊มอย่างไรให้เกลี้ยงเต้า เคล็ดลับที่แม่มือใหม่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะคุณแม่ทุกคนต่างทราบดีว่า การที่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่ช่วงแรกเกิน จนถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะนมแม่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยในการพัฒนาร่างกายและสมองของทารก ดังนั้นการศึกษา เทคนิคการปั๊มนม ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญต่อคุณแม่

 

เพราะการปั๊มนมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเก็บสำรองไว้อย่างเพียงพอ ประหยัดเวลา และไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะให้นมลูกไม่ได้ หากต้องอยู่ในเวลาที่เร่งรีบ โดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องอยู่ป้อนนมลูกน้อยด้วยตนเองตลอดเวลา สามารถให้คนอื่นช่วยป้อนได้ แต่การปั๊มนมและเทคนิคที่ดีคืออะไร วันนี้ theAsianparent มีคำตอบมาฝากคุณแม่ทุกคนค่ะ

 

 

การปั๊มนม คืออะไร?

ปั๊มนมหรือปั๊มนมแม่ (Pumping Breast Milk) คือ วิธีการเก็บสำรองน้ำนมแม่สำหรับใช้ป้อนนมลูก โดยจะปั๊มเอาน้ำนมออกจากเต้า มาเก็บใส่ไว้ในขวดหรือถุงสำหรับจัดเก็บน้ำนมแม่ แล้วนำไปแช่ไว้ในตู้เย็น การปั๊มนมจะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอที่จะป้อนทารกในแต่ละวัน ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการให้นมลูก ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะต้องเสียเวลาให้นมลูกและไม่ทันไปทำงาน เพราะเมื่อปั๊มนมไว้แล้ว ก็สามารถให้คนอื่นมาป้อนนมให้กับทารกได้ ซึ่งการปั๊มนมก็สามารถที่จะปั๊มได้เองโดยการใช้มือบีบเอง ใช้เครื่องปั๊มนมทั่วไป หรือจะใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า ก็สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมและความสะดวกของคุณแม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปั๊มนม ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า เอาใจคุณแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมต้องปั๊มนม ?

การปั๊มนมเป็นสิ่งสำคัญต่อแม่และทารก โดยได้ประโยชน์ร่วมกัน สำหรับทารกนั้น การปั๊มนมจะช่วยให้กินนมได้อย่างเพียงพอ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากการกินนมแม่ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับนมอย่างเพียงพอเพื่อการเติบโตอย่างสมวัย และระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ส่วนคุณแม่ก็ได้ประโยชน์จากการประหยัดเวลาในการให้นมลูก โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเวลาให้นม ไม่กระทบกับการทำงาน ไม่กระทบต่อสุขภาพของลูกน้อย และไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะหิวนมหรือกินนมได้ไม่เพียงพอ

 

วิธีเก็บรักษานมแม่

หลังจากปั๊มนมแล้ว คุณแม่ควรเก็บรักษานมในขวดแก้ว ขวดพลาสติก หรือถุงชนิดปลอดสารบีพีเอ (BPA) ที่ปิดสนิทโดยทันที จากนั้นควรนำไปแช่เย็นที่ปริมาณ 60-120 มิลลิลิตรต่อ 1 บรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเก็บนมแม่ไว้ในบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับแช่แข็งหรือใส่น้ำนมแม่ เพราะอาจทำให้คุณภาพของนมลดลงหรือเสียได้

 

ที่สำคัญการที่ทิ้งนมแม่ไว้ในระยะหนึ่ง ไขมันที่อยู่ในนมจะแยกตัวจากน้ำนม และลอยตัวขึ้นมาอยู่ด้านบน ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เช่นเดียวกับสีของน้ำนมที่อาจจะแตกต่างจากสีนมปกติที่มีสีเหลืองนวล โดยเป็นผลจากการรับประทานอาหาร หรือใช้ยารักษาโรคบางชนิด อย่างไรก็ตามควรสังเกตลักษณะของนมแม่ ก่อนนำมาใช้เสมอ ไม่ควรให้เด็กดื่ม หากนมมีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นเปรี้ยวผิดปกติ  โดยระยะเวลาการเก็บรักษานมแม่จะขึ้นอยู่กับลักษณะการเก็บรักษา ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส เก็บรักษาได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
  • ในกระเป๋าเก็บความเย็นที่มีถุงน้ำแข็ง เก็บรักษาได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ในตู้เย็นช่องปกติ เก็บรักษาได้ประมาณ 3-8 วัน
  • ในช่องแช่แข็ง เก็บรักษาได้ไม่เกิน 6 เดือน

 

วิธีเลือกเครื่องปั๊มนมให้เหมาะสม

เครื่องปั๊มนม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการเลือกชนิดของเครื่องปั๊มนมที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งาน ระยะเวลาที่คุณแม่สะดวกปั๊มนม และรวมทั้งปริมาณน้ำนมที่ต้องการ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเครื่องปั๊มนมที่ได้รับความนิยม มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

 

  • เครื่องปั๊มนมธรรมดา เป็นที่ปั๊มนมชนิดใช้มือ ราคาถูกและมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องการปั๊มนมเป็นครั้งคราว ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานประจำ เนื่องจากต้องใช้เวลานาน
  • เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า มีราคาค่อนข้างแพง แต่ใช้งานง่ายกว่าชนิดธรรมดา ทั้งยังช่วยทุ่นเวลาในการปั๊มนม และได้ปริมาณนมมากกว่า โดยเครื่องปั๊มชนิดนี้มีให้เลือกใช้ทั้งแบบปั๊มทีละข้างหรือปั๊มพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ การเลือกเครื่องปั๊มนมยังควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญเช่นกัน เช่น เครื่องปั๊มแบบไฟฟ้าอาจส่งเสียงดังขณะเครื่องทำงาน ขนาดและน้ำหนักของเครื่องอาจไม่สะดวกต่อการพกพา อีกทั้งต้องใช้กระแสไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ในการทำงาน คุณแม่บางคนอาจเลือกใช้เครื่องปั๊มนมทั้ง 2 ชนิดสลับกัน เพื่อให้ได้น้ำนมตามปริมาณที่ต้องการ และยังปั๊มนมได้ในกรณีที่ไฟดับหรืออยู่ในบริเวณที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : การให้นมลูก ปริมาณน้ำนม และความถี่ในการให้นม ฉบับคู่มือแม่มือใหม่

 

 

เครื่องปั๊มนมในท้องตลาดก็มีมากมายหลายแบบ ทั้งแบบปั๊มมือ แบบปั๊มแบตเตอรี่แบบปั๊มไฟฟ้า  ที่นิยมมากแบบหนึ่งคือ เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า ซึ่งเรามี 8 คำแนะนำจากคุณหมอพัชรินทร์อมรวิภาศกุมารแพทย์จากโรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์มาฝากค่ะ

 

 

8 เทคนิคการปั๊มนม เพื่อคุณแม่มือใหม่

  1. ให้คุณแม่เริ่มปั๊มนมให้เร็วที่สุดหลังคลอด ในช่วงแรกให้คุณแม่ปั๊มนม 8-10 ครั้งต่อวัน เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิดจะทานนมแม่ 8-10 มื้อต่อวัน หลังจากนั้นถ้าคุณแม่เริ่มมีประสบการณ์ให้ปั๊มห่างออกเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน ถ้าปั๊มได้บ่อยแค่ไหน เต้านมจะผลิตนมได้มากขึ้น
  2. คุณแม่ควรเลือกใช้เครื่องปั๊มนมที่มีแรงดูดใกล้เคียงกับทารกจะทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาได้อย่างดีและสม่ำเสมอ  นุ่มนวล ไม่ทำให้คุณแม่เจ็บ เมื่อปั๊มเสร็จแล้ว อาจบีบต่อด้วยมือก้ได้ จะทำให้เกลี้ยงเต้ามากขึ้น
  3. หลังคลอดวันที่ 3-4 ให้ปั๊มนมแต่ละข้างเป็นเวลา 15-20 นาทีต่อข้าง หลังจากนั้นให้ปั๊มนาน 25-30 นาทีต่อข้าง การที่ปั๊มให้เกลี้ยงเต้าจะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น
  4. ช่วงที่คุณแม่สามารถผลิตนมได้มากที่สุด คือช่วงเช้ามืดของแต่ละวัน คือ ตี 5-7 โมงเช้าช่วงนี้เหมาะสำหรับให้คุณแม่ทำนมสต็อกเก็บไว้
  5. การปั๊มนมควรปั๊มอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยช่วงห่างนานเกิน 5 ชั่วโมง เนื่องจากถ้าเต้านมคัดมาก จะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้น้อยลง ถ้าไม่มีเวลาปั๊มในรอบใด ให้ปั๊มทุก 1 ชั่วโมงติดกัน 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นจึงเริ่มนับรอบใหม่
  6. คุณภาพของน้ำนมแม่ ขึ้นกับโภชนาการของคุณแม่ การพักผ่อน และอารมณ์ อาหารที่เร่งการสร้างน้ำนม มีส่วนช่วยการผลิตน้ำนมที่มากขึ้น เช่น หัวปลี แกงเลียง ใบกะเพรา กุยช่าย เมล็ดขนุน มะละกอ  คุณแม่ควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่ และน้ำ  1-2 ลิตรต่อวัน
  7. คุณแม่ควรตั้งเป้าหมายการปั๊มนมให้ได้อย่างน้อย 23-27 ออนซ์ต่อวัน
  8. ในกรณีที่ลูกเข้าเต้าด้วย ให้ลูกดูดเองจากเต้านาน 15-20 นาที หลังจากที่ลูกอิ่มหรือหลับคาเต้า ให้ปั๊มต่อข้างเดิมจนเกลี้ยงเต้า

ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ  เพียงคุณแม่ทำตาม 8 คำแนะนำของคุณหมอ  รับรองว่าการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมจะเป็นเรื่องง่าย และคุณแม่จะมีน้ำนมให้ลูกกินได้นานเกิน 6 เดือนแน่นอนค่ะ

 

สนับสนุนโดยผลิตภัณฑ์เพียวรีนขอเป็นส่วนหนึ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เทคนิคและวิธีเลือกเครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่ต้องรู้ เวลาไม่อยู่บ้าน

เครื่องปั๊มนม แนะนำเครื่องปั๊มน้ำนม มาดูกันว่ายี่ห้อไหน ประเภทไหนเหมาะกับเรา

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ วิธีบีบนม ที่ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแสนง่าย

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team