1. อาการแพ้ : ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย
การที่ทารกผิวแห้ง ลอกเป็นขุย ส่วนใหญ่เกิดจากการอาบน้ำอุ่น ที่มีอุณหภูมิสูงจนเกินไป หรือการเลี้ยงลูกอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา ก็จะทำให้ผิวแห้งได้ง่าย และบางคนอาจมีลักษณะทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ผิวแห้ง ลูกจึงมีผิวที่แห้งแบบเดียวกัน
การดูแลผิวที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้ผิวแห้ง คือ ควรอาบน้ำอุณหภูมิปกติ แต่ในฤดูหนาวหรือฤดูฝนที่มีอากาศเย็นให้ผสมน้ำอุ่นได้เล็กน้อย และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ผ่านการทดสอบการระคายเคืองว่าอ่อนละมุนต่อผิวเด็ก ไม่ทำร้ายผิวและรักษาความชุ่มชื่นพร้อมเสริมเกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติ มีค่า pH ที่เหมาะกับผิว รวมถึงไร้สารสบู่ (Soap-Free) อีกทั้งการเลือกสูตรโนมอร์เทียร์ (No more tears) จะอ่อนโยนต่อดวงตา และเพิ่มความสะดวกมากขึ้นเวลาอาบน้ำให้ลูกน้อย หลังอาบน้ำแล้วควรทาโลชั่นเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื่นให้กับผิว ซึ่งโลชั่นที่ใช้ก็ควรจะมีความอ่อนละมุนไม่ระคายเคืองผิวทารก
2. อาการแพ้ : มีผื่นแดง ตุ่มตามร่างกาย ใบหน้า และหนังศีรษะ มีอาการคัน รวมทั้งหายใจครืดคราด
การเกิดผื่นแดง หรือตุ่มตามร่างกาย ใบหน้า คิ้ว ใบหู และหนังศีรษะ ซึ่งอาจเป็นสะเก็ดสีเหลืองหรือสีน้ำตาล มีอาการคันร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากอาการแพ้อาหารบางอย่างที่ผ่านทางน้ำนมคุณแม่ หรือ แพ้นมที่กินอยู่ เช่น แพ้โปรตีนนมวัว หรือแพ้จากอาหารที่เด็กกินเข้าไป เช่น นม ถั่ว แป้งสาลี ไข่ ซีฟู้ด
วิธีป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุ ซึ่งอาการอาจจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการคันมาก ควรพาไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะรักษาโดยการให้ทายาสเตียรอยด์อ่อนๆ หรือทานยาแก้แพ้ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้น
3. อาการแพ้ : ผื่นผ้าอ้อม
ผื่นผ้าอ้อมคือผื่นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม ไม่ว่าผ้าอ้อมนั้นจะเป็นผ้าอ้อมแบบผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปก็ตาม โดยผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อมจะเกิดเป็นผื่นแดง ซึ่งต่อมาอาจจะมีอาการแดง ลามเป็นมากขึ้นจนผิวหนังอักเสบ เปื่อยเป็นแผลและติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผิวบริเวณนั้นสัมผัสกับอุจจาระ หรือปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือ อาจแพ้สารเคมีดูดความชื้นจากผ้าอ้อมสำเร็จรูป
การป้องกัน คือ การล้างทำความสะอาดทันทีที่มีการถ่ายอุจจาระ หากไม่สะดวกในการชำระล้างก็ใช้เบบี้ไวพ์ หรือทิชชูเปียกเช็ดทำความสะอาด และควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ หากแพ้สารดูดความชื้นจากผ้าอ้อมสำเร็จรูป ก็ให้เปลี่ยนยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ หรือ เปลี่ยนมาใช้เป็นผ้าอ้อมผ้าหรือกางเกงผ้าอ้อม ไม่ใส่ผ้าอ้อมบ้างในบางช่วงเวลาระหว่างวัน หรือทาแป้งเพื่อลดการเสียดสีระหว่างผิวกับผ้าอ้อม หากเกิดผื่นผ้าอ้อมควรรักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นผื่นให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ แต่หากยังคงเป็นผื่นนานเกิน 3 วัน อาจจะมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วย ควรพาไปพบแพทย์
ไม่ว่าจะเป็นการแพ้แบบไหน คุณแม่ก็รับมือได้ด้วยการดูแลเบื้องต้นให้อาการแพ้ของลูกน้อยดีขึ้น รู้สึกสบายตัวมากขึ้น คุณแม่เองก็ยิ้มได้นะคะ
ตรวจทานโดย พญ.ปิ่นประภา ธรรมวิภัชน์
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม รพ. รามคำแหง
มาร่วมค้นพบข้อมูลดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : JohnsonsBabyClub
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!