แม่เข้าใจผิดคิดว่า เบบี้คริสตัลเป็นลูกอม ก็จะรู้ตัวอีกที ต้องรีบหามลูกส่งโรงพยาบาล
แม่เข้าใจผิดคิดว่า เบบี้คริสตัลเป็นลูกอม ต้องพาลูกสาวส่งโรงพยาบาลด่วน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 มีรายงานข่าวว่า คุณแม่ชาวจีนรายหนึ่ง ได้ซื้อ เบบี้คริสตัล หรือสารเคมีประเภทโพลิเมอร์ ที่มีสีสันสดใส เวลานำไปแช่น้ำแล้วจะพองเป็นเม็ดกลมใส มาจากซูเปอร์มาร์เกต ให้ลูกสาววัย 3 ขวบทาน เพราะแม่เข้าใจผิดคิดว่า เบบี้คริสตัลเป็นลูกอม ที่ลูกสาวชอบทาน เมื่อเธอกลับมาถึงบ้านก็ให้ขนมลูกและให้สามีเป็นคนคอยดูแลลูก
คิดว่าเบบี้คริสตัลคือลูกอม แม่ชะล่าใจ ต้องหามลูกส่งโรงพยาบาลด่วน
ซึ่งกว่าที่เธอจะทราบว่ามันคือเบบี้คริสตัล หนูน้อยก็ทานเข้าไปแล้วกว่า 280 เม็ด จึงต้องเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาลด่วน โดยผลจากการเอกซเรย์เผยให้เห็นว่าในช่องท้องของหนูน้อยเต็มไปด้วยเบบี้คริสตัลมากมาย
แต่เคราะห์ดีที่มันยังไม่ทันได้ดูดน้ำและขยายตัวในท้อง หนูน้อยจึงปลอดภัย ทั้งนี้ทางแพทย์ได้ให้ยาช่วยขับออกจากร่างกาย และจะขับออกจนหมดภายใน 24 ชั่วโมง เรื่องนี้คงเป็นอุทาหรณ์สำหรับแม่ๆ เลยทีเดียวค่ะ พยายามเช็กอาหาร เช็กสิ่งของให้ดี อย่าเข้าใจผิดคิดว่า เบบี้คริสตัลเป็นลูกอม เด็ดขาดเลยนะคะ อันตรายจะมาถึงลูกของเราแน่นอน
หากเจอลูกอมนิ้วหมายความว่าอย่างไร
หากเจอลูกอมนิ้ว ในความเป็นจริงแล้วเรื่องเกี่ยวกับการอมนิ้วของลูกที่พ่อแม่ควรรู้และเข้าใจ อาจไม่ได้เป็นปัญหาอย่างที่คิด คุณแม่ควรรู้ หากเจอลูกอมนิ้วหมายความว่าอย่างไร
1. อย่าโทษตัวเองเพียงเพราะว่าคุณหย่านมช้าหรือเร็วเกินไป
มันไม่ใช่เพราะลูกๆ ของคุณกินนมจากขวดแทนที่จะกินจากนมจากเต้า หรือกินจากเต้าแทนกินนมจากขวด มันไม่ใช่เพราะคุณปล่อยให้ลูกทำสิ่งนี้นานเกินไป หยุดคิดและอย่าโทษตัวเอง
2. มันคือความต้องการของลูก
การที่ลูกอมนิ้วมันอาจจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกหรือลักษณะนิสัยของลูกก็ได้ ซึ่งสิ่งนี้คนเป็นพ่อแม่จะต้องพยายามสังเกตและคอยตั้งคำถาม เพราะหากลูกอมนิ้วนั่นหมายถึงเขาอาจจะเกิดความวิตกกังวลเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้
3. เป็นเรื่องที่ซับซ้อน
อย่าไปคาดหวังว่าคุณจะแก้ปัญหาเรื่องการอมนิ้วหัวแม่มือของลูกได้ในวันเดียว ได้ด้วยวิธีการเดียว หรือได้ด้วยขนมชิ้นเดียว มันต้องทำเป็นขั้นตอน และเมื่อคุณเตรียมพร้อมแล้ว ปัญหาการอมนิ้วของลูกก็จะค่อยๆ คลี่คลาย
4. การทำโทษก็ช่วยอะไรไม่ได้
ไม่สำคัญเลยว่าคุณเอานิ้วออกมาจากปากของลูกกี่ครั้ง หรือตีที่มือเล็กๆ ของเขาเพื่อทำโทษ มันก็ไม่ได้ทำให้ลูกหยุดอมนิ้วมือได้เลย ตรงกันข้ามลูกจะพยายามไม่อมนิ้วเวลาที่อยู่ต่อหน้าพ่อแม่เท่านั้นเอง แต่ถึงยังไงลูกก็จะทำมันอยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
5. มันเป็นสัญญาณในการควบคุมตัวเองของลูก
ซึ่งลูกอาจจะใช้วิธีการอมนิ้วเพื่อการควบคุมตัวเอง หรือปลอบใจตัวเอง ในจุดนี้หากคุณมองเห็นก็สามารถที่จะเข้าไปซักถามสิ่งที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ของลูกได้
6. เพราะมันเป็นพัฒนาการ
โดยธรรมชาติแล้วการดูดนิ้วไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี เพราะจริงๆ แล้วลูกน้อยของเราอมนิ้วตั้งแต่อยู่ในท้องมาแล้ว แต่เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะมีพฤติกรรมอื่นที่มาทดแทนการดูดนิ้ว อย่างไรก็ตามพัฒนาการเหล่านี้จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
ลูกชอบดูดนิ้ว ปล่อยให้ลูกดูดนิ้วดีไหม
ลูกชอบดูดนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า อาการนี้บ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ต่อเนื่องมาจากในครรภ์ของคุณแม่ พอทารกอายุได้ไม่กี่สัปดาห์เด็กหลายคนก็เริ่มที่จะอมนิ้วมือหลังจากที่เริ่มควบคุมแขนและมือได้ แต่ก็ยังมีเด็กอีกหลายคนที่จะเริ่มอมนิ้วมือเมื่อมีอายุได้ประมาณ 2-3 เดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของทารกแต่ละคนค่ะ
พ่อแม่คงจะเป็นกังวลใช่ไหมค่ะ กลัวว่าถ้าลูกติดอมมือนานๆ จนกลายเป็นนิสัย อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีฟันเหยินบ้าง เสียบุคลิกบ้าง หรือแม้แต่ติดเชื้อโรคผ่านทางนิ้วมือ แบบนี้ควรจะปล่อยให้ลูกอมนิ้วมือหรือไม่ หรือควรจะไม่ให้อมนิ้วมือดี
ทำไมทารกชอบดูดนิ้วมือ
สาเหตุที่ทารกมักจะชอบดูดนิ้วมือส่วนใหญ่เป็นเพราะว่า เด็กๆ รู้สึกเบื่อหรือต้องการความสะดวกสบายอะไรบางอย่าง จึงเอานิ้วมือของตัวเองมาดูด เนื่องจากสิ่งนี้จะทำให้เด็กๆ รู้สึกสนุกสนานในแบบของทารกเองค่ะ
พฤติกรรมการดูดนิ้วของทารกถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ เด็กจะดูดนิ้วมือของตัวเองไปจนถึงอายุประมาณ 1 ปี เพื่อเป็นการปลอบใจตัวเอง บางคนอาจจะดูดนิ้วตัวเองถึงแค่ 6 เดือนเท่านั้นค่ะ แต่สำหรับบ้านไหนที่ลูกดูดนิ้วจนถึงอายุ 5 ขวบ แสดงว่าเด็กเริ่มมีความวิตกกังลในชีวิต การตอบสนองทางด้านอารมณ์หยุดชะงัก เด็กจึงต้องดูดนิ้วมื้อตัวเองเพื่อปลอบใจตัวเองอยู่ค่ะ
ระหว่างให้ลูกดูดนิ้วตัวเอง Vs จุกนมหลอก แบบไหนดีกว่ากัน
สำหรับจุกนมหลอก ข้อดี คือ ช่วยให้พ่อแม่สามารถควบคุมเวลาในการให้ลูกดูดนิ้วได้ ซึ่งงานวิจัยจำนวนมากได้กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้จุกนมหลอกในทิศทางเดียวกันว่า การใช้จุกนมหลอกกับทารกแรกเกิดจะช่วยให้เด็กสามารถสงบลงได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลับไม่ตื่นในทารก (SIDS)
ส่วนการดูดนิ้วมือนั้น ข้อดีคือ ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอุ่นใจ สงบลงได้เมื่อรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้สึกไม่ดี กระสับกระส่าย ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีได้และสามารถนำมาใช้ไดทันทีก็คือนิ้วมือของตัวเองค่ะ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ทารกดูดนิ้วมื้อจะช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายกว่าและ นอนหลับได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ
สรุปแล้วทั้งสองดีกันคนละแบบค่ะ แต่ถ้าถึงระยะเวลาหนึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ลูกเลิกดูดนิ้วมือตะดีกว่า ก่อนที่ลูกจะติดเป็นนิสัยนะคะ
ลูกชอบดูดนิ้ว
ลูกชอบทำปากเหมือนดูดนมปกติไหม?
พ่อแม่คงเคยสังเกตเห็นว่าบางครั้งเวลาที่ลูกนอน หรืออยู่เฉยๆ ก็มักจะทำปากเหมือนดูดนมอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำตามธรรมชาติของเด็กๆ ค่ะ เนื่องจากทารกจะรู้สึกอบอุ่นและสบายถ้าได้ดูดอะไรสักอย่าง ทำให้เด็กมักจะทำปากเหมือนดูดอะไรตลอดเวลานันเองค่ะ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะเพิ่งให้นมลูกไปแล้วก็ตาม
การทำท่าดูดของทารกยังทำให้หนูน้อยรู้สึกสงบลงด้วยเช่นกัน เหมือนกับการดูดนิ้วมือ การที่ลูกทำปากเหมือนดูดนมไม่ได้หมายความเด็กต้องการจะดูดนมแม่เพิ่มเสมอไปนะคะ แต่เด็กแค่รู้สึกสนุกกับการดูดปากเล่นมากกว่าค่ะ
วิธีให้ลูกเลิกดูดนิ้วมือ
พอลูกน้อยอายุ 1 ขวบ ขึ้นไป พ่อแม่ต้องพยายามให้ลูกเลิกดูดนิ้วมืออย่างเด็ดขาด เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก แต่ถ้าลูกออายุ 3 ขวบแล้ว ลูกยังคงดูดนิ้วอยู่แนะนำให้พ่อแม่ขอคำปรึกษาจากคุณหมอจะดีกว่า
สำหรับวิธีการให้ลูกดูดนิ้วมือ เริ่มจากการเอาผ้าหรือถุงมือมาพันรอบนิ้วหัวแม่มือ เอาพันแบบหลวม เพื่อไม่ให้ลูกอมนิ้วมือได้สะดวกค่ะ โดยอาจทำเป็นกิจกรรมร่วมกับลูก เช่น บอกลูกว่าถ้าวันนี้ลูกไม่อมนิ้วมือ แม่จะให้สติ๊กเกอร์นะ ถ้าสะสมครบ 10 อัน แม่จะซื้อของให้ จากนั้นคุณแม่ก็ติดสติ๊กเกอร์ลงปฎิทินให้ลูกเห็นค่ะ เมื่อครั้งแรกสำเร็จ ครั้งต่อไปคุณแม่ก็ต้องขยายระยะเวลาให้นานขึ้น อาจเป็น 20 วัน 30 วัน ก็แล้วแต่ค่ะ
สิ่งสำคัญคือ ถ้าเห็นว่าลูกดูดนิ้ว พ่อแม่อย่าลงโทษลูก เพราะจะทำให้เด็กผิดหวังมากขึ้น ทางที่ดีแนะนำให้พ่อแม่ใช้วิธีการสนับสนุนให้ลูกเลิกนิสัยดูดนิ้วมือจะดีกว่าค่ะ
ที่มา: hilight.kapook.com และ BECTERO
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
แม่เล่า ลูกเกือบตายเพราะเหรียญติดคอ
องุ่นติดคอ มหันตภัยตัวฉกาจของลูกวัยเตาะแตะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!