อาการเจ็บท้องเตือน นั้นเกิดจากการที่มดลูกบีบตัว เป็นสัญญาณที่คุณแม่ต้องพร้อมเตรียมตัวสำหรับการคลอดได้ แต่คุณแม่ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงการเจ็บเตือนเมื่อเข้าสู่ใกล้คลอด อาจนำไปสู่ภาวะคลอดเกินกำหนด หรือเมื่อครบกำหนดคลอดอาจจะใช้เวลาคลอดที่นานกว่าคุณแม่ที่ อาการเจ็บเตือน อาการเจ็บท้องเตือน แล้วคุณแม่จะ ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน ไปดูกันเลย
อาการเจ็บเตือน เจ็บเตือนก่อนคลอด ต้องเป็นแบบนี้ เจ็บท้องเตือนนานไหมกว่าจะคลอด
-
อาการเจ็บท้องเตือนไตรมาสสุดท้าย
จะมีความรู้สึกว่าท้องแข็งเกร็งเป็นระยะ เมื่อคลำบริเวณมดลูกจะรู้สึกว่าแข็งตัว มดลูกจะมีการบีบตัวเป็นระยะ ในขณะที่มดลูกเริ่มบีบตัวใหม่ ๆ คุณแม่อาจจะไม่รู้สึกอะไร หรือรู้สึกปวดบีบ ๆ เล็กน้อย ไม่ถึงกับเจ็บปวดรุนแรง เพียงแต่จะรู้สึกแน่นๆ และอึดอัดอัด อาการเจ็บจะไม่สม่ำเสมอจะรู้สึกครั้งละประมาณ 25 วินาที
-
เจ็บเตือนก่อนคลอด
จะเกิดขึ้นก่อนประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด ถือเป็นการอุ่นเครื่องก่อนจะเจ็บจริง อาการนี้มักจะเจ็บถี่ขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณในการเตรียมพร้อมของร่างกาย คุณแม่ต้องเริ่มคอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้นในระยะนี้
สังเกตอย่างไรว่าอย่างไหนคือเจ็บเตือนอย่างไหนเจ็บจริง เจ็บท้องเตือนนานไหมกว่าจะคลอด
- อาการเจ็บท้องเตือนจะเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ อาจจะเกิดตึง ๆ แล้วหายไป โดยปกติอาการเจ็บท้องเตือนจะเจ็บนานประมาณ1-2 นาที หรือบางทีก็อาจจะเจ็บนาน 5 นาที หากรู้สึกปวดรุนแรงมากในระยะใกล้คลอดแสดงว่าเจ็บท้องจริง
- เจ็บท้องเตือนจะปวดไม่ถี่เท่ากับอาการเจ็บท้องจริง
เมื่อคุณแม่เริ่มรู้สึกตึง ๆ หน่วง สัมผัสได้ว่านี่คืออาการเจ็บท้องเตือนแล้วนะ ควรลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงลง ให้พลิกนอนตะแคงซ้าย ดื่มน้ำ เพราะการขาดน้ำจะทำให้มีอาการเจ็บเตือนถี่ขึ้น หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เพื่อไม่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บเตือนถี่ และหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ ช้า ๆ เมื่อรู้สึกเจ็บท้องจะช่วยลดอาการเจ็บเตือนได้
ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน
- รู้สึกว่าอาการเจ็บท้องเริ่มเปลี่ยนไป รู้สึกปวดรุนแรง ปวดหลัง ปวดหน่วง ๆ บริเวณหัวเหน่าและท้องน้อย เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น แม้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนอนพักอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น ขา และอาจมีอาการปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระ
- เจ็บท้องมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
- เจ็บท้องร่วมกับมีมูกเลือดสีแดงสดไหลปนออกมาจากช่องคลอด
- มีน้ำคร่ำเดิน
หากพบว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น แสดงว่าเจ้าตัวน้อยส่งสัญญาณใกล้คลอดแล้ว คุณแม่ควรหยิบกระเป๋าที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า และเตรียมตัวเดินทางไปโรงพยาบาลได้เลยครับ
อาการใกล้คลอด เตรียมสตาร์ทรถไปโรงพยาบาลด่วน
เมื่อเข้าสู่ช่วงระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจจะเกิดความรู้สึกกังวล ปนกับความรู้สึกตื่นเต้น ที่ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว เรามาดูกันว่า 6 อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง
-
เจ็บท้อง
ในช่วงหลังจากเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องหลายคนมักจะรู้สึกว่ามดลูกบีบตัว หรือหดตัวเป็นระยะๆ ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่ การหดตัวของมดลูกก็จะถี่และรุนแรงขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาการแบบนี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่หลายท่านสับสน และอาจจะนึกว่าเป็นการเจ็บท้องคลอดจริงๆ
แต่การเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องหลอกนั้นเป็นสัญญาณว่า ขณะนี้มดลูกเตรียมพร้อมต่อการคลอดที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะคลอดวันนี้พรุ่งนี้นะครับ แม่ท้องบางท่านอาจจะต้องรออีกนานเป็นเดือนกว่าจะคลอดเลยก็มี
เรามาดูกันว่าอาการแบบไหนคืออาการเจ็บท้องจริง หรืออาการเจ็บท้องหลอกกันแน่เพื่อจะได้เตรียมตัวไปโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
อาการเจ็บท้องหลอก หรือเจ็บท้องเตือน
- ปวดท้องมากบ้างน้อยบ้าง เดี๋ยวถี่เดี๋ยวห่าง ไม่สม่ำเสมอ แม่ท้องบางท่านก็ปวดติดๆ กันหลายครั้งแล้วก็หายปวด
- เมื่อได้นอนพัก หรือเปลี่ยนท่าทาง อาการก็จะดีขึ้น
- ความเจ็บปวดจะคล้ายๆ กับการปวดประจำเดือน
- ไม่มีเลือดหรือมูกเลือดปนออกมาจากช่องคลอด
- มักมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย
อาการเจ็บท้องจริง
- มีอาการปวดอย่างสม่ำเสมอ และปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ
- ท้องแข็งตึง
- แม่ท้องจะรู้สึกเริ่มเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนแล้วจึงเจ็บร้าวไปที่หลัง
- หากเดินหรือเคลื่อนไหวจะมีอาการเจ็บมากขึ้น
- อาจมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดร่วมด้วย
หากคุณแม่ท้องมีอาการเจ็บทุกๆ 10 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้าพบคุณหมอทันที
-
ลูกดิ้นน้อยลง
สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง นั่นก็เป็นเพราะในช่วงนี้ ทารกในครรภ์นั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับขนาดของโพรงมดลูก และน้ำคร่ำที่สร้างขึ้นก็มีปริมาณที่จำกัด จึงทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวลำบาก
หากแม่ท้องรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงอย่างผิดปกติ หรือลูกไม่ดิ้นนานเกินไป แม่ท้องควรรีบไปพบคุณหมอทันทีนะครับ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้
-
ท้องลด
หากแม่ท้องสังเกตพบว่า ภายหลังจากการตั้งครรภ์ไปได้ 36 สัปดาห์ แล้วท้องอาจมีขนาดลดลง นั่นก็เป็นเพราะทารกใรครรภ์ที่เคยอยู่ในมดลูกระดับเหนือช่องเชิงกราน เริ่มเคลื่อนต่ำลง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการคลออดที่กำลังจะตามมาในไม่ช้านี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว อาจจะสังเกตเห็นว่า ท้องลดช้ากว่าในท้องแรก ๆ ในขณะที่คุณแม่จำนวนไม่น้อย จวบจนใกล้คลอดแล้ว ท้องยังไม่ลด หรือไม่รู้สึกว่าท้องลดเลย จนกระทั่งถึงระยะเจ็บคลอดก็มี
-
มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด
ในช่วงการตั้งครรภ์นั้น บริเวณปากมดลูกจะมีเมือกที่เรียกว่า mucus plug เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ ในช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกเริ่มเปิดและบางลง เมือกนี้ก็จะหลุดออกมา และบางครั้งอาจมีเลือดผสมออกมาด้วย อาการแบบนี้ควรรีบพบแพทย์ได้แล้วครับ เพราะแสดงว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดเต็มทีแล้ว
-
น้ำเดิน
ถ้าคุณแม่มีอาการน้ำเดินไม่ว่าจะมีอาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันทีครับ เพราะสายสะดือของทารกในครรภ์อาจถูกกดทับจากภาวะที่น้ำคร่ำน้อยลงหรือเกิดภาวะสายสะดือโผล่แลบ (Umbilical Cord Prolapes) ในกรณีที่ทารกในครรภ์ไม่ได้อยู่ในท่าที่เอาศีรษะลง หรือถ้าทิ้งให้น้ำเดินเป็นเวลานานหลายชั่วโมง (มากกว่า 18 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ เนื่องจากเชื้อโรคเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และโดยทั่วไปแม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง
-
ปากมดลูกเปิด
ปกติแล้ว ปากมดลูกของคนท้องจะหนาเล็กน้อย และปิดค่อนข้างแน่นสนิท เพื่อช่วยปกป้องทารกในครรภ์จากอันตรายภายนอก แต่ร่างกายของคนท้อง จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมคลอด โดยปากมดลูกจะเริ่มอ่อนนุ่ม บางลง และสั้นลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเปิดขยายกว้างขึ้นเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้ทารกคลอดออกมาได้สำเร็จ
เมื่อใกล้ถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและขยาย ทำให้มูกและเลือดบริเวณปากมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก ซึ่งนั่นก็เป็น อาการใกล้คลอด ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลยครับ
อาการอื่น ๆ ที่ควรรีบไปโรงพยาบาล
นอกจาก อาการเจ็บท้องเตือน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากแม่ท้องมีอาการอื่นๆดังต่อไปนี้ ก้ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอได้เลยครับ
- มีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บท้องคลอดก็ตาม
- มีเลือดสด ๆ ออกมาทางช่องคลอด กรณีแบบนี้อันตรายมาก เพราะอาจจะไม่ใช่การเจ็บท้องคลอดธรรมดา แต่อาจจะมีรกเกาะต่ำ หรือรกขวางทางคลอดได้
- อาเจียนไม่หยุด
- น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่นๆนอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู
คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น รับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยก็จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาลให้พร้อม เพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกเมื่อถึงเวลาจริง
ที่มา : siamhealth.net
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?
เช็กด่วน! 9 สัญญาณอาการก่อนคลอด ก่อนรู้สึกเจ็บท้องจริง
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด วิธีสังเกต และแยกระหว่างปัสสาวะรั่วกับถุงน้ำคร่ำแตก