6 อาการผิดปกติของคนท้อง แค่เจออาการเดียวก็ต้องไป รพ. พบหมอทันที!

ช่วงตั้งท้องของผู้หญิงทุกคนถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดของร่างกายที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้ว คุณแม่ทุกคนยังต้องเตรียมร่างกายให้แข็งแรงและพร้อมต่อการดูแลสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในท้องตลอดเวลานับจากนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ควรสังเกตพัฒนาการของการตั้งครรภ์แต่ละเดือนของตัวเองอยู่เสมอนะคะ อย่าชะล่าใจไปหากพบว่ามี อาการผิดปกติของคนท้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ควรไปโรงพยาบาลทันทีแม้จะยังไม่ถึงกำหนดนัดหมอหรือกำหนดคลอดก็ตาม

6 อาการผิดปกติของคนท้อง หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องไปโรงพยาบาลพบหมอด่วน!

#1 มีเลือดออกทางช่องคลอดและปวดท้องอย่างรุนแรง

หากคุณแม่มีอาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ มีเลือดออกทางช่องคลอดมากไปจนผิดสังเกต พร้อมกับอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายของรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือภาวะเสี่ยงแท้งที่อาจเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 1-2 เดือนแรก และอายุครรภ์ 7-9 เดือนใกล้คลอด ซึ่งจะทำให้เจ็บปวดรุนแรงและมีเลือดออกมาก ส่วนในกรณีที่คุณมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยและไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทารกฝังตัวในมดลูกทำให้มีเลือดออกมาเล็กน้อย อาจลองโทรปรึกษาคุณหมอเพื่อดูว่าจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่

#2 มีน้ำเดิน

หากคุณแม่ที่ยังไม่ใกล้กำหนดคลอด แต่มีของเหลวไหลออกมามากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะนั้นอาจหมายถึงภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดได้

#3 เจ็บท้องก่อนกำหนดคลอด

คุณแม่ท้องแรกอาจจะสับสนระหว่างอาการเจ็บท้องหลอกกับเจ็บท้องจริง โดยอาการเจ็บท้องหลอกอาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 หรือใกล้คลอดในเดือนสุดท้าย จะมีอาการปวดจะเป็นแบบไม่สม่ำเสมอเรียกว่า เป็น ๆ หาย ๆ ความถี่หรือความเจ็บปวดจะไม่รุนแรงมากขึ้น รู้สึกปวดแต่ละครั้งน้อยกว่า 50 – 80 วินาที แต่ถ้าคุณแม่มีอาการเจ็บท้องก่อน 37 สัปดาห์ เจ็บเป็นประจำและมีอาการทุก ๆ 2-3 นาที และเจ็บมากขึ้นเวลายืนหรือเดิน ปวดท้องต่อเนื่อง อาจเป็นการคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ควรไปหาหมอโดยไม่ต้องรอวันนัดหรือถึงกำหนดคลอดนะคะ

อ่านอาการผิดที่แม่ท้องควรรู้ หน้าถัดไปนะคะ >>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#4 ลูกดิ้นน้อยลง

โดยทั่วไปแล้วลูกในท้องจะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์ ดิ้นประมาณ 200 ครั้งใน 12 ชั่วโมง และทารกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ จะดิ้นประมาณ 575 ครั้งใน 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นลูกจะดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 282 ครั้งใน 12 ชั่วโมง ดังนั้นพอเริ่มลูกเริ่มดิ้นแล้ว คุณแม่ควรเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ ทารกบางรายอาจจะชอบดิ้นมากในตอนกลางคืน บางคนก็ชอบดิ้นขยับตัวในช่วงเช้า ซึ่งคุณแม่ควรรู้วิธีการนับลูกดิ้นพร้อมการจดบันทึกการนับดิ้น เพื่อสังเกตความแข็งแรงและประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ถ้าพบว่าลูกดิ้นไม่มาก ผิดปกติ หรือหยุดดิ้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอทันทีนะคะ การที่ลูกดิ้นน้อยลงงอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง แต่มีบางกรณีที่ทารกเสียชีวิตก่อนคลอดเพียงไม่กี่สัปดาห์ วิธีที่คุณแม่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์แข็งแรงดีก็คือการสังเกตลูกดิ้นนะคะ

#5 รู้สึกการตั้งครรภ์ผิดปกติ แพ้ท้องมากกว่าปกติ เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย

แม้ว่าการตั้งครรภ์จะสร้างความตื่นเต้นดีใจให้กับคุณแม่และครอบครัวได้ไม่น้อย แต่หากพบว่าตนเองรู้สึกมีการตั้งครรภ์ผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน และคัดตึงเต้านม ฯลฯ และเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินไปแต่เริ่มมีเลือดสีน้ำตาลออกทางช่องคลอด หรือบางครั้งออกมาเป็นเลือดสีแดงสดเป็นระยะ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ ลักษณะอาการเริ่มต้นจะเหมือนกับการตั้งครรภ์ปกติทุกอย่าง แต่เมื่อตรวจอัลตราซาวนด์ กลับไม่พบตัวทารก พบแต่เพียงรกที่เสื่อมสภาพ มีลักษณะบวมน้ำเห็นเป็นถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนไข่ปลากระจายอยู่ทั่วโพรงมดลูก

โดยมากตั้งการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกอาจเป็นสาเหตุทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดต่อเนื่อง ซึ่งหากเลือดออกครั้งเดียวแต่ออกมากอาจทำให้คุณแม่ท้องช็อกหมดสติได้ แต่หากเลือดออกทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ ก็จะส่งผลทำให้โลหิตจางได้  การตั้งครรภ์ลักษณะนี้จะสามารถลุกลามแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้มีเลือดออกจากโพรงมดลูกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแพทย์มักจะให้การรักษาด้วยวิธีการดูดโพรงมดลูกร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลักเพื่อเก็บมดลูกไว้ตั้งครรภ์ ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกออกได้ ที่สำคัญการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกยังอาจกลายไปเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งของเนื้อรกได้ แม้ว่าการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกจะเกิดขึ้นในบ่อยสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แต่เมื่อตั้งครรภ์ไปแล้วหากพบว่าตัวเองมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพเกิดขึ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้วินิจฉัยและให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#6 มีเลือดออกกะปริบกะปรอยตลอดการตั้งครรภ์

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หากสังเกตว่ามีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ลักษณะเป็นเลือดสด มักไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย ในครั้งแรกจะออกมาไม่มาก และจะหยุดได้เอง อาการแบบนี้เป็นปัจจัยสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ หากมีเลือดไหลออกมาอีกครั้ง และเลือดออกมากไม่หยุดไหล อาการแบบนี้ถือว่ารุนแรงส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ หากพบว่าตัวเองมีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์ทันทีเพื่อประเมินความเสี่ยงและหาแนวทางการป้องกันต่อไป

ในขณะตั้งครรภ์นั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจตัวเองเป็นพิเศษ หากพบว่ามีอาการผิดปกติบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นก่อนคลอด ก่อนถึงวันนัดตรวจ หรือใกล้คลอด หากพบว่าได้เจอกับภาวะอาการดังกล่าวหรือนอกเหนือจากที่กล่าวมา อย่านิ่งนอนใจเด็ดขาดนะคะ


อ้างอิงข้อมูลจาก : www.mahosot.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

อย่านิ่งนอนใจ 7 อาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์ที่ควรรู้ ก่อนที่จะเป็นอันตราย!!

7 อาการผิดปกติของตาลูกปัญหาไม่เล็กที่พ่อแม่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R